backup og meta

เด็กซ์แพนทีนอล (Dexpanthenol)

ข้อบ่งใช้

ยาเด็กซ์แพนทีนอล ใช้สำหรับ

ยาเด็กซ์แพนทีนอล (Dexpanthenol) มักใช้เป็นมอยส์เจอไรเซอร์ เพื่อรักษาหรือป้องกันผิวแห้ง หยาบ สะเก็ด คัน และอาการระคายเคืองที่ผิวหนังระดับเบา (เช่น ผื่นผ้าอ้อม ผิวไหม้จากการทำฉายรังสีบำบัด)

สารอีมอลเลียนท์ (emollients) คือ สารที่ทำให้ผิวหนังนุ่มและชุ่มชื่น และลดอาการคันและตกสะเก็ด ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ซิงค์ ออกไซด์ หรือไวท์ ปิโตรลาทัม (white petrolatum) มักจะใช้เพื่อปกป้องผิวหนังจากอาการระคายเคือง (เช่น จากความชื้น)

ผิวแห้งทำให้เกิดการสูญเสียน้ำในผิวชั้นนอก สารอีมอลเลียนท์หรือมอยเจอร์ไรเซอร์ ทำงานโดยการสร้างชั้นน้ำมันบนผิวชั้นนอก เพื่อกักเก็บน้ำไส้ภายในผิว ปิโตรลาทัม (Petrolatum) ลาโนลิน (lanolin) น้ำมันมิเนอรัล (mineral oil) และไดเมทิโคน (dimethicone) คือสารอีมอลเลียนท์ที่พบได้ทั่วไป

สารฮิวเมกเตนท์ (Humectants) รวมถึงกลีเซอริน (glycerin) เลซิติน (lecithin) และโพรพิลีนไกลคอล (propylene glycol) จะดึงน้ำเข้าสู่ผิวชั้นนอก

ผลิตภัณฑ์จำนวนมากนั้นยังมีส่วนผสมที่ทำให้สารที่หยาบนุ่มขึ้น (horny substance) อย่างเคราติน (keratin) ที่จะยึดเซลล์ผิวหนังชั้นนอกให้อยู่ด้วยกัน เช่น ยูเรีย (urea) กรดอัลฟ่าไฮดรอกไฮดรอกซี (alpha hydroxy acids) อย่างกรดแลคติก (lactic acid) กรดซิตริก (citric acid) กรดไกลโคลิก (glycolic acid) และอัลลันโทอิน (allantoin) ช่วยให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดออก ช่วยให้ผิวหนังกักเก็บน้ำได้มากขึ้น และทำให้ผิวรู้สึกลื่นและนุ่มขึ้น

วิธีการใช้ยาเด็กซ์แพนทีนอล

ใช้ยานี้ตามที่แพทย์กำหนด ผลิตภัณฑ์บางอย่างจำเป็นต้องมีการเตรียมก่อนใช้ ควรทำตามแนวทางบนฉลากผลิตภัณฑ์ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

ผลิตภัณฑ์บางอย่างจำเป็นต้องเขย่าก่อนใช้ อ่านฉลากเพื่อดูว่าคุณควรเขย่าขวดก่อนใช้หรือไม่ ทายาลงบริเวณที่มีอาการเท่าที่จำเป็น หรือตามที่ฉลากกำหนด หรือตามที่แพทย์กำหนด ความถี่ในการใช้ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้และสภาพผิว สำหรับการรักษาอาการมือแห้ง คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาทุกครั้งที่ล้างมือตลอดทั้งวัน

หากคุณใช้ยานี้เพื่อรักษาผื่นผ้าอ้อม ควรทำความสะอาดบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม ปล่อยให้แล้ว แล้วจึงทายา

หากคุณใช้ยานี้เพื่อรักษาผิวไหม้จากการทำฉายรังสีบำบัด ควรสอบถามผู้ทำการฉายรังสีดูว่า ยี่ห้อของยาที่คุณใช้นั้นสามารถทาก่อนฉายรังสีบำบัดได้หรือไม่

ควรทำตามวิธีใช้บนฉลากอย่างเคร่งครัด ทายาที่ผิวหนังเท่านั้น หลีกเลี่ยงบริเวณที่อ่อนไหวอย่างดวงตา ภายในปากหรือจมูก และบริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบ ยกเว้นในกรณีที่แพทย์สั่งหรือมีระบุบนฉลากยา นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบฉลากยา เพื่อดูว่าไม่ควรทายาที่บริเวณไหน (เช่น ใบหน้า ผิวหนังที่มีรอยแตก แผลบาด ระคายเคือง หรือรอยถลอก) โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด มอยส์เจอไรเซอร์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้น้ำจึงจะทำงานได้ดี ทายาหลังจากอาบน้ำ ขณะที่ผิวยังชื้นอยู่ สำหรับผิวที่แห้งมาก แพทย์อาจจะสั่งให้คุณทำให้บริเวณที่จะทายาเปียกก่อนแล้วจึงทายา การอาบน้ำนาน อาบน้ำร้อน หรืออาบน้ำบ่อยครั้ง อาจทำให้ผิวแห้งแย่ลงได้

หากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง หรือคุณคิดว่าอาจจะมีปัญหาทางการแพทย์ที่รุนแรง ควรรับการรักษาในทันที

การเก็บรักษายาเด็กซ์แพนทีนอล

ยาเด็กซ์แพนทีนอลควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเด็กซ์แพนทีนอลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเด็กซ์แพนทีนอลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เด็กซ์แพนทีนอล

ก่อนใช้ยาเด็กซ์แพนทีนอล แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีสารไม่ออกฤทธิ์ในการรักษา ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นี้ หากคุณมีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ ได้แก่ มีรอยบาด การติดเชื้อ หรือแผลที่ผิวหนัง

ส่วนประกอบบางอย่าง (เช่น สารกันบูดหรือน้ำหอม) อาจทำให้คุณมีปฏิกิริยาไวต่อแสงแดด ควรตรวจสอบคำเตือนบนฉลากยา หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรหากคุณจำเป็นต้องใช้

ควรระวังเป็นพิเศษเมื่อต้องเผชิญกับแสงแดด แพทย์หรือเภสัชกรอาจสั่งให้คุณจำกัดเวลาที่อยู่ใต้แสงแดด ใช้ครีมกันแดด และสวมเสื้อผ้าป้องกันเมื่ออยู่ข้างนอก แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณเกิดอาการแดดเผา หรือมีแผลพุพองหรือรอยแดงที่ผิวหนัง

ผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจทำให้อาการสิวรุนแรงขึ้น หากคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นสิว ควรมองหาคำว่า “non-comedogenic’ (ไม่อุดตันรูขุมขน) บนฉลาก ผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจย้อมสีหรือเปลี่ยนสีเสื้อผ้า สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยานี้สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร โดยเฉพาะหากคุณทายานี้บริเวณเต้านม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเด็กซ์แพนทีนอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเด็กซ์แพนทีนอล

สารอีมอลเลียนท์ (emollients) สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพโดยไม่มีผลข้างเคียง แต่อาจเกิดอาการแสบร้อน ปวดเหมือนถูกแมลงต่อย รอยแดง หรือระคายเคืองได้ หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

หากแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้ โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังต่อไปนี้คือ มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่ผิดปกติ (เช่น เปลี่ยนเป็นสีขาว นุ่ม ชื้นแฉะจากการความชื้นที่มากเกินไป) มีสัญญาณของการติดเชื้อที่ผิวหนัง

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้คือ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

หากแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้ หรือผลิตภัณฑ์ทาผิวหนังใดๆ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่ง ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนัง

ยาเด็กซ์แพนทีนอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่มกินยา หยุดกินยา หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเด็กซ์แพนทีนอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเด็กซ์แพนทีนอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเด็กซ์แพนทีนอลสำหรับผู้ใหญ่

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเด็กซ์แพนทีนอลสำหรับเด็ก

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ครีมทาเฉพาะที่

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย และไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dexpanthenol Cream. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-75143/dexpanthenol-topical/details. Accessed January 19, 2018.

Dexpanthenol Cream. https://www.drugs.com/cdi/dexpanthenol-cream.html. Accessed January 19, 2018.

dexpanthenol cream. https://www.cancer.gov/publications/dictionaries/cancer-drug/def/dexpanthenol-cream. Accessed January 19, 2018.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Sopista Kongchon


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

เคล็ดลับดี ๆ ในการ เลือกมอยส์เจอไรเซอร์ ให้เหมาะสม


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา