backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา เมทิลเพรดนิโซโลน ใช้สำหรับ

ยา เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) ใช้เพื่อรักษาโรคข้ออักเสบ (arthritis) ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด อาการแพ้ที่รุนแรง โรคมะเร็งบางชนิด สภาวะเกี่ยวกับดวงตา โรคผิวหนัง โรคไต โรคลำไส้ โรคปอด และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำหน้าที่ลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้ลดอาการเช่นอาการบวม อาการปวด และอาการแพ้ ยานี้เป็นฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid hormone)

ยาเมทิลเพรดนิโซโลนยังอาจใช้ร่วมกับยาอื่น เพื่อรักษาความผิดปกติของฮอร์โมน

วิธีการใช้ยา เมทิลเพรดนิโซโลน

รับประทานยานี้ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติแล้วพร้อมกับอาหารหรือนม ทำตามคำแนะนำการใช้ยาอย่างเคร่งครัด ขนาดยา และระยะเวลาในการรักษา ขึ้นอยู่กับภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

ยานี้มีตารางการใช้ยาที่แตกต่างกัน หากคุณไม่ได้ใช้ยาในขนาดเดียวกันทุกวัน หรือหากคุณรับประทานยาวันเว้นวัน การทำเครื่องหมายไว้ที่ปฏิทิน อาจช่วยให้คุณจำได้ดีขึ้น โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ

อย่าเพิ่มขนาดยา ใช้ยาบ่อยกว่า หรือใช้ยานานกว่าที่กำหนด อาการของคุณจะไม่หายเร็วขึ้น และความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้น

อย่าหยุดใช้ยาโดยที่ไม่ปรึกษากับแพทย์ สภาวะบางอย่างอาจแย่ลงหรือคุณอาจมีอาการถอนยา เช่น อ่อนแรง น้ำหนักลด คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว เหนื่อยล้า วิงเวียน หากหยุดใช้ยากะทันหัน

เพื่อป้องกันอาการถอนยา แพทย์จะค่อยๆ ลดขนาดยาลง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และรายงานแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการถอนยา อ่านเพิ่มเติมในส่วนข้อควรระวัง

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา เมทิลเพรดนิโซโลน

ยาเมทิลเพรดนิโซโลนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเมทิลเพรดนิโซโลนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเมทิลเพรดนิโซโลนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เมทิลเพรดนิโซโลน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หากอยู่ในช่วงที่คุณกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือสารไม่ออกฤทธิ์ของยาเมทิลเพรดนิโซโลนหรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณมีการติดเชื้อรา (ที่บริเวณอื่นนอกจากผิวหนัง) อย่าใช้ยาเมทิลเพรดนิโซโลนโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคตับ โรคไต โรคลำไส้ หรือโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ ความดันโลหิตสูง มีอาการป่วยทางจิต โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกระดูกพรุน ติดเชื้อเริ่มที่ดวงตา มีอาการชัก วัณโรคปอด หรือเป็นแผลเปื่อย
  • หากคุณกำลังจะรับการผ่าตัด รวมไปถึงการผ่าตัดทำฟัน แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่า คุณกำลังใช้ยาเมทิลเพรดนิโซโลน
  • หากคุณเคยเป็นแผลเปื่อย หรือรับประทานยาแอสไพริน หรือยาสำหรับโรคข้ออักเสบอื่นๆ ในปริมาณมาก ควรจำกัดการดื่มสุราระหว่างใช้ยานี้ ยาเมทิลเพรดนิโซโลนสามารถทำให้กระเพาะและลำไส้ มีปฏิกิริยาไวต่อผลระคายเคืองของแอลกอฮอล์ ยาแอสไพริน และยาสำหรับโรคข้ออักเสบบางชนิด และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลเปื่อย

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเมทิลเพรดนิโซโลนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B จัดโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เมทิลเพรดนิโซโลน

รับการรักษาในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

ติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • มองเห็นไม่ชัด การมองเห็นแคบลง ปวดตา หรือมองเห็นรัศมีรอบแสงไฟ
  • หายใจไม่อิ่ม (แม้จะออกกำลังกายในระดับเบา) บวม น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ซึมเศร้าอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะนิสัย มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ไม่ปกติ
  • มีอาการปวดครั้งใหม่หรือผิดปกติ เกิดขึ้นที่แขน ขา หรือหลัง
  • อุจจาระเป็นเลือดหรือคล้ายยางมะตอย ไอเป็นเลือดหรืออาเจียนคล้ายกากกาแฟ
  • มีอาการชัก
  • ระดับของโพแทสเซียมต่ำ (สับสน อัตราหัวใจเต้นไม่เท่ากัน กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปัสสาวะเพิ่มขึ้น รู้สึกไม่สบายที่ขา กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือรู้สึกกระโผลกกระเผลก)

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงในระดับเบา
  • รู้สึกไม่สบายในกระเพาะอาหาร ท้องอืด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเมทิลเพรดนิโซโลนอาจเกิดอันตรกิริยา กับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง

เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่าง ๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้มีดังต่อไปนี้

  • ยาแอสไพริน (รับประทานเป็นประจำหรือรับประทานในขนาดยาที่สูง)
  • ไซโคลสปอริน (Cyclosporine)
  • อินซูลิน หรือ ยารักษาโรคเบาหวานแบบรับประทาน
  • สมุนไพรของเซนต์จอห์น (John’s wort)
  • ยาต้านเชื้อรา–ไอทราโคนาโซล (itraconazole) คีโตโคนาโซล (ketoconazole)
  • ยาสำหรับโรคเอชไอวี/เอดส์–เอฟฟาไวเร็นซ์ (efavirenz) เนวิราปีน (nevirapine) ริโทนาเวียร์ (ritonavir)
  • ยาสำหรับอาการชัก–ฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) เฟนิโทอิน (phenytoin) และอื่นๆ
  • ยาสำหรับวัณโรค–ไรฟาบิวติน (rifabutin) ไรแฟมพิน (rifampin) ไรฟาเพนทีน (rifapentine)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเมทิลเพรดนิโซโลนอาจมีปฏิกิริยากับอาหาร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเมทิลเพรดนิโซโลนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

สภาวะที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้มีดังต่อไปนี้

  • ต้อกระจก
  • โรคหัวใจวาย
  • กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s syndrome) ปัญหาเกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง
  • โรคเบาหวาน
  • การติดเชื้อที่ดวงตา
  • โรคต้อหิน
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • การติดเชื้อ (เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อรา)
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง รวมทั้งอารมณ์ซึมเศร้า
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)
  • โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • ลักษณะนิสัยเปลี่ยนแปลง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เช่นโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (diverticulitis) โรคลำไส้อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis)
  • วัณโรคปอดแฝง
  • การติดเชื้อรา

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเมทิลเพรดนิโซโลนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis)

  • แอซิเตด (acetate) 80 ถึง 120 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลที่ผิวหนัง (Dermatologic Lesion)

  • แอซิเตด: 40 ถึง 120 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกสัปดาห์ เป็นเวลา 1 ถึง 4 สัปดาห์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

  • แอซิเตด 40 ถึง 120 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกสัปดาห์
  • ข้อต่อขนาดใหญ่ 20 ถึง 80 มก. ฉีดเข้าข้อต่อ
  • ข้อต่อปานกลาง 10 ถึง 40 มก. ฉีดเข้าข้อต่อ
  • ข้อต่อขนาดเล็ก 4 ถึง 10 มก. ฉีดเข้าข้อต่อ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากลุ่มอาการอดรีโนเจนิตัล (Adrenogenital Syndrome)

  • แอซิเตด 40 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 2 สัปดาห์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อต้านการอักเสบ

  • 4 ถึง 48 มก./วัน รับประทาน
  • โซเดียมซักซิเนต (Sodium succinate) 10 ถึง 40 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดนานกว่า 1 ถึงหลายนาที ให้ยาครั้งต่อไปทางหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการช็อก

  • 30 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือด ให้ซ้ำทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
  • หรือ 100 ถึง 250 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือด ให้ซ้ำทุก ๆ 2 ถึง 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการกดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppression)

  • รับประทาน 4 ถึง 48 มก. ต่อวัน
  • 2 ถึง 2.5 มก./กก. ต่อวัน ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อ ค่อยๆ ลดขนาดยาลงภายใน 2 ถึง 3 สัปดาห์
  • หรือ 250 ถึง 1,000 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดวันละครั้ง หรือวันเว้นวันเป็นเวลา 3 ถึง 5 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหอบหืด – ฉับพลัน

อาการหอบหืดกำเริบ (ขนาดยาสำหรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินหรือสำหรับโรงพยาบาล)

  • รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือด 40 ถึง 80 มก./วัน แบ่งให้ 1 ถึง 2 ครั้ง/วัน จนกระทั่งอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดคือ 70% ของค่าที่คาดการณ์ไว้หรือค่าที่ดีที่สุดของตัวผู้ป่วย

อาการปะทุในระยะสั้น (หอบหืดเฉียบพลัน)

  • รับประทาน 40 ถึง 60 มก./วัน แบ่งให้ 1 ถึง 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 3 ถึง 10 วัน หมายเหตุ อาการปะทุควรจะยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งอาการหายไปและอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดคืออย่างน้อย 80% ของค่าที่ดีที่สุดของตัวผู้ป่วย โดยปกติแล้วต้องใช้เวลารักษา 3 ถึง 10 วัน (ค่าเฉลี่ยคือประมาณ 5 วัน) อาจต้องรักษานานกว่านี้
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (แอซิเตด) 240 มก. ครั้งเดียว
  • หมายเหตุ อาจให้ยานี้แทนยาสเตียรอยด์สำหรับอาการปะทุระยะสั้น ในผู้ป่วยที่กำลังอาเจียนหรือมีปัญหาในการทำตาม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหอบหืด – ประคับประคอง

  • รับประทาน 7.5 ถึง 60 มก. ทุกวัน รับประทานครั้งเดียวในตอนเช้าหรือวันเว้นวันเท่าที่จะเป็นในการควบคุมโรคหอบหืด

ขนาดยาเมทิลเพรดนิโซโลนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาต้านการอักเสบ

  • โซเดียมซักซิเนต ห้ามต่ำกว่า 0.5 มก./กก./24 ชั่วโมง ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยขนาดยาที่สูง 30 มก./กก ฉีดเข้าหลอดเลือดนานกว่า 10 ถึง 20 นาที อาจให้ซ้ำทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรเกิน 48 ถึง 72 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคหอบหืด – ฉับพลัน

จนถึงอายุ 11 ปี

อาการหอบหืดกำเริบ (ขนาดยาสำหรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินหรือสำหรับโรงพยาบาล)

  • รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือด 1 ถึง 2 มก./กก./วัน แบ่งให้ 2 ครั้ง (สูงสุด 60 มก./วัน) จนกระทั่งอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดคือ 70% ของค่าที่คาดการณ์ไว้หรือค่าที่ดีที่สุดของตัวผู้ป่วย
  • อาการปะทุในระยะสั้น (หอบหืดเฉียบพลัน)

    • รับประทาน 1 ถึง 2 มก./กก./วัน แบ่งให้ 1 ถึง 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 3 ถึง 10 วัน ขนาดยาสูงสุด: 60 มก./วัน หมายเหตุ อาการปะทุควรจะยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งอาการหายไปและอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดคืออย่างน้อย 80% ของค่าที่ดีที่สุดของตัวผู้ป่วย โดยปกติแล้วต้องใช้เวลารักษา 3 ถึง 10 วัน (ค่าเฉลี่ยคือประมาณ 5 วัน) อาจต้องรักษานานกว่านี้
    • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (แอซิเตด) หมายเหตุ อาจให้ยานี้แทนยาสเตียรอยด์สำหรับอาการปะทุระยะสั้น ในผู้ป่วยที่กำลังอาเจียนหรือมีปัญหาในการทำตามคำสั่ง
    • เด็กอายุถึง 4 ปี 7.5 มก./กก. ให้ครั้งเดียว ขนาดยาสูงสุด 240 มก.
    • เด็กอายุ 5 ถึง 11 ปี 240 มก. ให้ครั้งเดียว

    11 ปีขึ้นไป

    อาการหอบหืดกำเริบ (ขนาดยาสำหรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินหรือสำหรับโรงพยาบาล)

    • รับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือด: 40 ถึง 80 มก./วัน แบ่งให้ 1 ถึง 2 ครั้ง/วัน จนกระทั่งอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดคือ 70% ของค่าที่คาดการณ์ไว้หรือค่าที่ดีที่สุดของตัวผู้ป่วย

    อาการปะทุในระยะสั้น (หอบหืดเฉียบพลัน)

    • รับประทาน 40 ถึง 60 มก./วัน แบ่งให้ 1 ถึง 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 3 ถึง 10 วัน หมายเหตุ อาการปะทุควรจะยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งอาการหายไปและอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดคืออย่างน้อย 80% ของค่าที่ดีที่สุดของตัวผู้ป่วย โดยปกติแล้วต้องใช้เวลารักษา 3 ถึง 10 วัน (ค่าเฉลี่ยคือประมาณ 5 วัน) อาจต้องรักษานานกว่านี้
    • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (แอซิเตด) 240 มก. ครั้งเดียว (หมายเหตุ: อาจให้ยานี้แทนยาสเตียรอยด์สำหรับอาการปะทุระยะสั้น ในผู้ป่วยที่กำลังอาเจียนหรือมีปัญหาในการทำตามคำสั่ง)

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคหอบหืด – ประคับประคอง

    จนถึงอายุ 11 ปี

    • 0.25 ถึง 2 มก./กก./วัน ให้ครั้งเดียวในตอนเช้าหรือวันเว้นวันเท่าที่จะเป็นในการควบคุมโรคหอบหืด ขนาดยาสูงสุดคือ 60 มก./วัน

    11 ปีขึ้นไป

    • รับประทาน 7.5 ถึง 60 มก. ทุกวัน รับประทานครั้งเดียวในตอนเช้าหรือวันเว้นวันเท่าที่จะเป็นในการควบคุมโรคหอบหืด

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาน้ำแขวนตะกอน ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM) 40 มก./มล. 80 มก./มล.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา