backup og meta

เมไธโอนีน (Methionine)

เมไธโอนีน (Methionine)

เมไธโอนีน (Methionine) หรือวิตามินยู (Vitamin U) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายใช้เพื่อช่วยเสริมสร้างโปรตีนที่ทำหน้าที่ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

ข้อบ่งใช้

เมไธโอนีน ใช้สำหรับ

เมไธโอนีน (Methionine) หรือวิตามินยู (Vitamin U) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายใช้เพื่อช่วยเสริมสร้างโปรตีนที่ทำหน้าที่ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างโมเลกุลต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย

เมไธโอนีนนั้นสามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมต่าง ๆ หรืออาจจะรับประทานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย อีกทั้งยังอาจช่วยในการรักษาสภาวะความผิดปกติของตับจากการกินยาพาราเซตามอลเกินขนาด และการติดเชื้อไวรัสได้อีกด้วย

การทำงานของเมไธโอนีน

สำหรับภาวะอะเซตามีโนเฟนเป็นพิษ (Acetaminophen poisoning) เนื่องจากการกินยาพาราเซตามอลเกินขนาด เมไธโอนีนนั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้สารที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายของยาพาราเซตามอลไปทำลายตับ นอกจากนี้ เมไธโอนีนก็ยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายได้อีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ เมไธโอนีน

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากเมไธโอนีน หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

การรักษาโรคโดยใช้เมไธโอนีนควรกระทำโดยแพทย์เท่านั้น การรับประทานหรือฉีดเมไธโอนีนเข้าสู่ร่างกายเพื่อรักษาโรคอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมเมไธโอนีน ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังเป็นพิเศษ

การตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เมไธโอนีนนั้นจะปลอดภัยหากได้รับในปริมาณที่พบได้ในอาหาร แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับการบริโภคเมไธโอนีนในปริมาณสูง เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

เด็ก เมไธโอนีนนั้นจะปลอดภัยหากได้รับในปริมาณที่พบได้ในอาหาร และอาจจะปลอดภัยหากฉีดเข้าสู่ร่างกาย ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่เมไธโอนีนนั้นอาจจะไม่ปลอดภัยต่อทารกที่รับอาหารผ่านทางสายยางให้อาหาร

ผู้ที่มีภาวะเลือดเป็นกรด ควรหลีกเลี่ยงการใช้เมไธโอนีน เนื่องจากเมไธโอนีนอาจสามารถทำให้เลือดเป็นกรดได้เช่นกัน

ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้เมไธโอนีน เนื่องจากมีข้อกังวลว่าเมไธโอนีนอาจทำให้สภาวะนี้รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับโฟเลต วิตามินบี 12 หรือวิตามินบี 6 ไม่เพียงพอ

โรคตับ เมไธโอนีนอาจทำให้โรคตับมีอาการรุนแรงขึ้น

ภาวะขาดเอนไซม์เมทิลินเททระไฮโดรโฟเลตรีดักเทส (Methylenetetrahydrofolate reductase deficiency) ผู้ที่มีภาวะนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมเมไธโอนีน เนื่องจากอาจทำให้สารโฮโมซิสทีน (Homocysteine) เกิดการสะสมมากขึ้นในร่างกาย และทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

โรคจิตเภท การรับประทานเมไธโอนีนในปริมาณมาก อาจส่งผลให้อาการของโรคจิตเภทรุนแรงขึ้น

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้เมไธโอนีน

เมไธโอนีนนั้นค่อนข้างที่จะปลอดภัย หากได้รับในปริมาณเท่าที่พบได้ในอาหาร และอาจจะปลอดภัย หากรับประทานหรือฉีดเป็นยา ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

บางคนที่ได้รับเมไธโอนีน อาจจะมีผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดหัว
  • แสบร้อนกลางอก
  • ท้องเสีย
  • ง่วงซึม

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

เมไธโอนีนอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเมไธโอนีน

สำหรับภาวะอะเซตามีโนเฟนเป็นพิษ

  • รับประทานเมไธโอนีน 5 กรัม ทุก ๆ 4 ชั่วโมง เป็นจำนวน 4 ครั้ง

ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ การใช้เมไธโอนีนอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รูปแบบของเมไธโอนีน

  • สารเมไธโอนีนที่พบได้ในอาหาร
  • อาหารเสริมเมไธโอนีน
  • ยาเมไธโอนีน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vitamin U: Benefits, Side Effects, Foods, and More https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-u

Methionine: Functions, Food Sources and Side Effects https://www.healthline.com/nutrition/methionine

METHIONINE https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-42/methionine

METHIONINE https://www.rxlist.com/methionine/supplements.htm

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

กรดอะมิโนจำเป็น จำเป็นอย่างไร หาได้จากที่ไหนบ้าง

วิตามินซีใครว่ามีแค่ในผลไม้ ผักก็ให้วิตามินซีสูงเหมือนกันนะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา