backup og meta

แลคโตเฟอริน (Lactoferrin)

สรรพคุณ

แลคโตเฟอรินเป็นโปรตีนที่พบได้ในนมวัวและน้ำนมคน น้ำนมเหลืองเลอน้ำนมแรกที่ผลิตขึ้นหลังจากการให้กำเนิดโปรดจะมีและแลคโตเฟอรินปริมาณสูงและน้ำนมนี้จะผลิตขึ้นประมาณเจ็ดครั้งหลังจากนั้นนอกจากนี้แลคโตเฟอรินยังใช้เป็นยาได้

ยาแลคโตเฟอรินใช้สำหรับ:

  • รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้,อาการท้องเสียและโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซี
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • ป้องกันการทำลายของเนื้อเยื่อเนื่องจากความชรา
  • ส่งเสริมแบคทีเรียในลำไส้ชนิดดี
  • ป้องกันมะเร็ง
  • ควบคุมการสร้างธาตุเหล็ก

เป็นสารต้านอนุมูนอิสระและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

มีงานวิจัยแนะนำว่าแลคโตเฟอรินอาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วโลกเช่น ภาวะขาดธาตุเหล็กและอาการท้องเสียอย่างรุนแรง

ในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมแลคโตเฟอรินใช้ในการฆ่าแบคทีเรียในกระบวนการทำเนื้อ

กลไกการออกฤทธิ์

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับแลคโตเฟอรินไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

  • แลคโตเฟอรินช่วยควบคุมการดูดซึมธาตุเหล็กในลำไส้และส่งธาตุเหล็กไปยังเซลล์ต่างๆ
  • แลคโตเฟอรินยังดูเหมือนว่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียได้โดยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียโดยการทำลายสารอาหารที่จำเป็นต่อแบคทีเรียหรือโดยฆ่าแบคทีเรียโดยการทำลายผนังเซลล์แลคโตเฟอรินในน้ำนมแม่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เด็กทารกที่รับน้ำนมนั้นติดเชื้อแบคทีเรียได้
  • แลคโตเฟอรินดูเหมือนจะช่วยต้านการติดเชื้อไวรัสและเชื้อราได้
  • แลคโตเฟอรินยังดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำหน้าที่ของมวลกระดูกและน่าจะสามารถช่วยส่งเสริมระบบการต้านทาน(ภูมิคุ้มกัน)ของร่างกายได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในแลคโตเฟอริน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแลคโตเฟอรินนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัย

แลคโตเฟอรินปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่พบในอาหาร การบริโภคแลคโตเฟอรินจากนมวัวในปริมาณมากๆอาจปลอดภัยเป็นเวลาถึง1ปีเช่นกัน แลคโตเฟอรินของคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สร้างขึ้นจากข้าวใช้ได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลาถึง14 วัน

สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร : แลคโตเฟอรินปลอดภัยต่อหญิงมีครรภ์และให้นมบุตรในปริมาณที่ใช้เป็นอาหาร แต่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในปริมาณที่ใช้เป็นยาจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติม

ผลข้างเคียง

แลคโตเฟอรินทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ การใช้ในขนาดสูงๆจะทำให้เกิดผื่นผิวหนังเบื่ออาหารอ่อนเพลียหนาวสั่น มีรายงานว่าเกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนทุกคนและยังอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากท่ามีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงกรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

กำยานอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้อยู่หรือพยาธิสภาพต่างๆจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้ยา

ขนาดยา

คำแนะนำนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ของท่านก่อนใช้ยานี้เสมอ

ขนาดปกติสำหรับการใช้แลคโตเฟอรินอยู่ที่เท่าไร

ขนาดของการใช้แลคโตเฟอรินที่ได้จากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

การใช้ยาทั่วไป:

สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซี: รับประทานแลคโตเฟอรินจากนมวัวขนาด 1.8 ถึง 3.6 กรัมต่อวัน

ขนาดยาสำหรับแลคโตเฟอรินอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรแพทย์ของท่านเพื่อให้ได้ขนาดยาที่เหมาะสม

รูปแบบแลคโตเฟอริน

แลคโตเฟอรินมีจำหน่ายในรูปแบบดังนี้ :

  • แลคโตเฟอรินแคปซูล

***Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษา***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lactoferrin http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-49-lactoferrin.aspx?activeingredientid=49&activeingredientname=lactoferrin August 10, 2017

Lactoferrin http://www.medicinenet.com/lactoferrin/supplements-vitamins.htm August 10, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา