backup og meta

แอพราโคลนิดีน (Apraclonidine)

แอพราโคลนิดีน (Apraclonidine)

แอพราโคลนิดีน (Apraclonidine) เป็นยาหยอดตาที่ใช้เพื่อลดความดันในดวงตา สำหรับผู้ที่มีความดันตาสูง เช่น ผู้ป่วยโรคต้อหิน เพื่อป้องกันหรือชะลอการผ่าตัดดวงตา

ข้อบ่งใช้

แอพราโคลนิดีน ใช้สำหรับ

แอพราโคลนิดีน (Apraclonidine) เป็นยาหยอดตาที่ใช้เพื่อลดความดันในดวงตา สำหรับผู้ที่มีความดันตาสูง เช่น ผู้ป่วยโรคต้อหิน เพื่อป้องกันหรือชะลอการผ่าตัดดวงตา การลดความดันในดวงตายังอาจสามารถช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้อีกด้วย ยาแอพราโคลนิดีนนี้ทำงานโดยการลดปริมาณของน้ำภายในดวงตา

วิธีการใช้ยาแอพราโคลนิดีน

ใช้ยาแอพราโคลนิดีนตามที่แพทย์กำหนด ควรอ่านข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับและทำตามแนวทางการใช้ยาอย่างเคร่งครัด

  • ใช้กับดวงตาเท่านั้น
  • ถอดคอนแทคเลนส์ก่อนใช้ยานี้ สามารถสวมคอนแทคเลนส์กลับเข้าไปได้หลังจากผ่านไป 15 นาที อย่าสวมคอนแทคเลนส์ใส่กลับเข้าไป หากคุณมีอาการระคายเคือง หรือการติดเชื้อที่ดวงตา
  • อย่าให้ปลายขวดยาสัมผัสกับดวงตา เปลือกตา หรือผิวอื่น ๆ
  • เงยหน้าขึ้นและหยอดยาเข้าสู่ดวงตา
  • หลังจากหยอดยาแล้ว ให้หลับตาลง กดหัวตาค้างไว้ 1 ถึง 2 นาทีเพื่อกักเก็บยาไว้ในดวงตา
  • หากต้องใช้ยาสำหรับดวงตาข้างเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 5 นาทีของการใช้ยาแต่ละชนิด

การเก็บรักษายาแอพราโคลนิดีน

ยาแอพราโคลนิดีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาแอพราโคลนิดีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาแอพราโคลนิดีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา แอพราโคลนิดีน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณมีความตั้งใจหรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารหรือส่วนผสมออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ในการรักษาของยาแอพราโคลนิดีน หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณกำลังใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด เช่น ไอโซคาร์โบซาซิด (Isocarboxazid) ฟีเนลซีน (Phenelzine) หรือทรานิลไซโพรมีน (Tranylcypromine) หรือยารักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เช่น เซเลจิลีน (Selegiline) หรือราซาจิลีน (Rasagiline)

โปรดแจ้งให้ผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพทั้งหมดของคุณทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทันตแพทย์

หลีกเลี่ยงการขับรถและการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องการความตื่นตัวหรือการมองเห็นที่ชัดเจนจนกว่าคุณจะทราบว่ายานี้ส่งผลกระทบต่อคุณอย่างไร

อย่าใช้ยานานกว่าที่แพทย์กำหนด

ควรทำการตรวจความดันภายในดวงตา และตรวจค่าสายตาตามที่แพทย์กำหนด

โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนดื่มสุราหรือใช้ยาอื่น หรือใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณทำอะไรช้าลง

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ คุณควรจะปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยาขณะตั้งครรภ์

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณกำลังให้นมบุตร คุณจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อลูกของคุณ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาแอพราโคลนิดีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาแอพราโคลนิดีน

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ และรับการรักษาในทันที หากคุณมีสัญญาณหรืออาการ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงที่รุนแรงมาก

  • สัญญาณของอาการแพ้ เช่น ผดผื่น ลมพิษ คัน รอยแดง บวม แผลพุพอง หรือผิวลอกโดยมีหรือไม่มีไข้ หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอกหรือลำคอ หายใจติดขัด เสียงแหบผิดปกติ หรือมีอาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลำคอ
  • ค่าสายตาเปลี่ยน ปวดตา หรือระคายเคืองตาอย่างมาก
  • เปลือกตาบวม
  • มีสารคัดหลั่งจากดวงตา
  • รู้สึกเหมือนมีบางสิ่งอยู่ในดวงตา
  • มองเห็นไม่ชัด
  • ระคายเคืองที่ดวงตา
  • ตาแห้ง
  • ปากแห้ง
  • มีน้ำตามากขึ้น

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาแอพราโคลนิดีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใด ๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาแอพราโคลนิดีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาแอพราโคลนิดีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาแอพราโคลนิดีนสำหรับผู้ใหญ่

  • สำหรับโรคต้อหิน (Glaucoma) หยอดยาสารละลาย 0.5%  1-2 หยด ในตาข้างที่มีอาการ วันละ 3 ครั้ง
  • สำหรับภาวะความดันภายในดวงตาสูงหลังจากการผ่าตัด หยอดสารละลาย 1% 1 หยด ในตาข้างที่จะทำการผ่าตัด 1 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด และหยอด 2 หยด ทันทีหลังเสร็จสิ้นการผ่าตัด

ขนาดยาแอพราโคลนิดีนสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาสารละลาย ความเข้มข้น 0.5% และ 1%

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Apraclonidine. https://www.drugs.com/cdi/apraclonidine.html. Accessed November 17, 2017

Apraclonidine. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1546-8030/apraclonidine-ophthalmic-eye/apraclonidine-solution-0-5-ophthalmic/details. Accessed November 17, 2017

Apraclonidine Ophthalmic. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a608005.html. Accessed December 23, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/07/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

กระจกตาอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

คอนแทคเลนส์ และสิ่งที่ไม่ควรทำ หากไม่อยากให้ดวงตามีปัญหา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 30/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา