backup og meta

โทบรามัยซินและเดกซาเมธาโซน (Tobramycin And Dexamethasone)

ข้อบ่งใช้

ยาโทบรามัยซิน + เดกซาเมธาโซนใช้สำหรับ

ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซน (Tobramycin + Dexamethasone) เป็นยาที่ใช้รักษาหรือป้องกันดวงตาติดเชื้อ ประกอบไปด้วยตัวยา 2 ชนิด ยาโทบรามัยซินจัดอยู่ในตระกูลยาที่เรียกว่ายาปฏิชีวนะประเภทอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycoside) ซึ่งจะไปหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยาเดกซาเมทาโซน จัดอยู่ในตระกูลยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ ช่วยลดอาการบวม

ยาเหล่านี้จะช่วยรักษาและป้องกันดวงตาติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น และไม่สามารถใช้รักษาดวงตาติดเชื้อประเภทอื่น ๆ ได้ การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น หรือการใช้ยาเกินขนาด สามารถนำไปสู่การลดประสิทธิภาพของตัวยาได้

[embed-health-tool-bmi]

วิธีการใช้ยาโทบรามัยซิน + เดกซาเมธาโซน

ล้างมือก่อนใช้ยาหยอดตาเสมอ เขย่าขวดยาทุกครั้งที่ใช้ อย่าสัมผัสกับปลายหลอดหยด หรือไม่ให้ส่วนนั้นสัมผัสกับดวงตา หรือสัมผัสกับพื้น เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

อย่าใส่คอนเทคเลนส์ในขณะที่ใช้ยาหยอดตาเหล่านี้ ทำความสะอาดคอนเทคเลนส์ ตามคำแนะนำบนผลิตภัณฑ์และตรวจสอบกับหมอประจำตัว ก่อนกลับมาใช้อีกครั้ง

เงยศีรษะไปด้านหลัง มองขึ้นไปข้างบน และค่อยดึงเปลือกตาล่างให้เป็นถุง จับที่หยอดตาไว้เหนือตา ในตำแหน่งที่ตรงกับตา และหยอดยา 1 หยดลงไปในถุงตา มองลงมาและค่อยๆ หลับตาเป็นเวลา 1-2 นาที พยายามไม่กระพริบ และไม่ขยี้ตาเป็นเวลา 1-2 นาที ใช้นิ้วกดไปที่มุมของดวงตา (ใกล้กับจมูก) อย่างนุ่มนวล วิธีนี้จะช่วยยาหยอดตาไม่ไหลออกมา ทำซ้ำอีกครั้งกับดวงตาอีกข้าง ขนาดยาขึ้นอยู่กับอาการทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

อย่าล้างที่หยอดตา ปิดฝายาหยอดตาให้สนิทหลังการใช้งานแต่ละครั้ง

หากกำลังใช้ยาสำหรับตาประเภทอื่น รออย่างน้อย 5 นาทีก่อนจะใช้ยาอื่น ๆ ใช้ยาหยอดตาก่อนใช้ขี้ผึ้งทาตา เพื่อให้ยาหยอดซึมเข้าไปในตา

ใช้ยาตัวนี้เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด การใช้ยาเวลาเดิมในทุก ๆ วัน จะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น ใช้ยาตัวนี้อย่างต่อเนื่องให้ครบตามที่หมอสั่ง แม้อาการจะหายหลังผ่านไปหลายวัน การหยุดใช้ยาเหล่านี้เร็วเกินไป อาจทำให้แบคทีเรียเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจทำให้อาการติดเชื้อกลับมาอีกครั้ง

แจ้งคุณหมอ หากอาการยังคงอยู่หรือทรุดลง

การเก็บรักษายาโทบรามัยซิน + เดกซาเมธาโซน

เก็บรักษายาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซนในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากแสงแดดและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของตัวยา ไม่ควรเก็บยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซนในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซนแต่ละยี่ห้ออาจต้องการการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน จึงต้องตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ของยาเสมอ สำหรับคำแนะนำในการเก็บรักษา หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซนลงในชักโครก หรือทิ้งลงท่อระบายน้ำเว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการทิ้งยาให้เหมาะสม เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว ปรึกษากับเภสัชกรในร้านยาใกล้บ้านเกี่ยวกับรายละเอียดเพิ่มเติมในการทิ้งยาอย่างไรให้ปลอดภัย

คำเตือนและข้อควรระวัง

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโทบรามัยซิน + เดกซาเมธาโซน

ก่อนใช้ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซน ควรแจ้งให้หมอหรือเภสัชกรทราบหากแพ้ยาตัวนี้ หรือยาปฏิชีวนะอะมิโนไกลโคไซด์ตัวอื่น อย่างเช่น ยาเจนตาไมซิน (gentamicin) หรือถ้ามีอาการแพ้อื่น ๆ ยาตัวนี้อาจมีสารที่ไม่ออกฤทธิ์อย่างสารกันบูดเช่น เบนซัลโคเนียม คลอไรด์ (benzalkonium chloride) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือปัญหาอื่น ๆ พูดคุยกับเภสัชกรประจำร้านยาใกล้บ้านสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยาตัวนี้ แจ้งประวัติสุขภาพกับคุณหมอหรือเภสัชกร โดยเฉพาะปัญหาดวงตาอื่น ๆ (เช่น ต้อหิน ต้อกระจก)

การมองเห็นอาจไม่คงที่หลังจากใช้ยาตัวนี้ อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่ใช้สายตา จนกว่าจะมั่นใจว่าสามารถทำกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย

ยาตัวนี้ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น หากอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ปรึกษาถึงความเสี่ยงและประโยชน์กับคุณหมอ

ไม่ทราบแน่ชัดว่ายาตัวนี้จะเข้าสู่น้ำนมหรือไม่ ปรึกษากับคุณหมอก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยของยาต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีงานวิจัยในผู้หญิงเพียงพอที่จะระบุความเสี่ยง ในการใช้ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซน ในระหว่างตั้งครรภ์หรือป้อนนม โปรดปรึกษากับหมอทุกครั้ง เพื่อชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซน

ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซน มีดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ประเภท C (pregnancy risk category C) อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA)

ระดับความเสี่ยงของยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้แก่

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในบางงานวิจัย
  • C = อาจมีความเสี่ยงบางประการ
  • D = ความเสี่ยงชัดเจน
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยาโทบรามัยซิน + เดกซาเมธาโซน

อาจเกิดตาแดง ระคายเคืองและคันหรือบวมบริเวณเปลือกตา หากผลข้างเคียงยังเกิดขึ้นอยู่หรือทรุดลง แจ้งให้หมอหรือเภสัชกรทราบโดยทันที

เมื่อคุณหมอจ่ายยาตัวนี้ให้ แสดงว่า ประโยชน์ต่อการรักษามีมากกว่าความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง หลายคนที่ใช้ยาตัวนี้มักไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใด ๆ

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาตัวนี้เป็นเวลานานหรือใช้ซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เกิดอาการเชื้อราทางตา และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาดวงตาอื่น ๆ (อย่างเช่น ต้อหิน และ ต้อกระจก) อย่าใช้ยาตัวนี้นานกว่าที่หมอสั่ง แจ้งหมอทันที หากมีอาการรุนแรงที่พบได้ยากเหล่านี้เกิดขึ้น เช่น ปัญหาการมองเห็น เจ็บตา

ปฏิกิริยาแพ้ต่อยาชนิดนี้เป็นเรื่องที่พบได้ยาก อย่างไรก็ตาม ควรเข้ารับการดูแลทางการแพทย์ทันที หากมีอาการแพ้ขั้นรุนแรง ได้แก่ ผื่น อาการคันหรือบวม (โดยเฉพาะ หน้า ลิ้น คอ) เวียนหัวอย่างรุนแรง ปัญหาการหายใจ

ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากมีความกังวลใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรใกล้ตัว

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซน อาจทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่กำลังใช้อยู่ โดยอาจเปลี่ยนการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาของยา ควรจดรายชื่อยาทั้งหมดที่ใช้อยู่ (ได้แก่ ยาที่ต้องใช้ใบสั่งจากแพทย์ ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร) และให้หมอและเภสัชกรดู เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใด ๆ โดยไม่ได้รับใบสั่งยาจากคุณหมอ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซน อาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่น ๆ โปรดปรึกษากับคุณหมอหรือเภสัชกรประจำตัว ถึงปฎิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอออล์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยาตัวนี้

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมธาโซน อาจทำปฎิกิริยากับอาการโรคประจำตัวหรือที่เป็นอยู่ ปฏิกิริยานี้อาจทำให้อาการทรุดลง หรือเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะแจ้งให้คุณหมอและเภสัชกรทราบถึงอาการโรคที่กำลังเป็นอยู่

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใด ๆ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติมก่อนใช้ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมทาโซน

ขนาดยาโทบรามัยซิน + เดกซาเมทาโซนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นม่านตาอักเสบ

ยาน้ำแขวนตะกอน: หยอด 1 หรือ 2 หยด ลงในถุงเยื่อตาทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขี้ผึ้ง: ทาขี้ผึ้งปริมาณจำนวนหนึ่ง (ประมาณ 1/2 นิ้ว) ตรงถุงเยื่อตา 3 หรือ 4 ครั้งต่อวัน

ความเห็น

ยาน้ำแขวนตะกอน

-ในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรก, อาจเพิ่มขนาดยา 1 หรือ 2 หยด ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

-ควรลดจำนวนการใช้ยาลงอย่างช้า ๆ โดยดูจากสัญญาณสุขภาพที่ดีขึ้น

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 20 มิลลิลิตร และไม่ควรมีการเติมขนาดยาโดยไม่ทำการประเมินเพิ่มเติม

ขี้ผึ้ง

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 8 กรัม และไม่ควรมีการเติมขนาดยาโดยไม่ทำการประเมินเพิ่มเติม

การใช้: อาการอักเสบทางดวงตาที่ตอบสนองต่อสารสเตอรอยด์ ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา หรือความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาเกิดขึ้น

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นเยื่อบุตาอักเสบจากแบคทีเรีย

ยาน้ำแขวนตะกอน: หยอด 1 หรือ 2 หยด ลงในถุงเยื่อตาทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขี้ผึ้ง: ทาขี้ผึ้งปริมาณจำนวนหนึ่ง (ประมาณ 1/2 นิ้ว) ตรงถุงเยื่อตา 3 หรือ 4 ครั้งต่อวัน

ความเห็น

ยาน้ำแขวนตะกอน

-ในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรก, อาจเพิ่มขนาดยา 1 หรือ 2 หยด ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

-ควรลดจำนวนการใช้ยาลงอย่างช้า ๆ โดยดูจากสัญญาณสุขภาพที่ดีขึ้น

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 20 มิลลิลิตร และไม่ควรมีการเติมขนาดยาโดยไม่ทำการประเมินเพิ่มเติม

ขี้ผึ้ง:

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 8 กรัม และไม่ควรมีการเติมขนาดยาโดยไม่ทำการประเมินเพิ่มเติม

การใช้: ใช้ในอาการอักเสบทางดวงตาที่ตอบสนองต่อสารสเตอรอยด์ ซึ่งมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา หรือความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นกระจกตาอักเสบ

ยาน้ำแขวนตะกอน: หยอด 1 หรือ 2 หยด ลงในถุงเยื่อตาทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขี้ผึ้ง: ทาขี้ผึ้งปริมาณจำนวนหนึ่ง (ประมาณ 1/2 นิ้ว) ตรงถุงเยื่อตา 3 หรือ 4 ครั้งต่อวัน

ความเห็น

ยาน้ำแขวนตะกอน

-ในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรก อาจเพิ่มขนาดยา 1 หรือ 2 หยด ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

-ควรลดจำนวนการใช้ยาลงอย่างช้า ๆ โดยดูจากสัญญาณสุขภาพที่ดีขึ้น

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 20 มิลลิลิตร และไม่ควรมีการเติมขนาดยาหากคุณหมอไม่ได้สั่ง

ขี้ผึ้ง:

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 8 กรัม และไม่ควรมีการเติมขนาดยาหากคุณหมอไม่ได้สั่ง

การใช้: อาการอักเสบทางดวงตาที่ตอบสนองต่อสารสเตียรอยด์ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาหรือความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาเกิดขึ้น

ขนาดยาโทบรามัยซิน + เดกซาเมทาโซนสำหรับเด็ก

ขนาดยาทั่วไปสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นม่านตาอักเสบ

วัยตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

ยาน้ำแขวนตะกอน: หยอด 1 หรือ 2 หยด ลงในถุงเยื่อตาทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขี้ผึ้ง: ทาขี้ผึ้งปริมาณจำนวนหนึ่ง (ประมาณ 1/2 นิ้ว) ตรงถุงเยื่อตา 3 หรือ 4 ครั้งต่อวัน

ความเห็น

ยาน้ำแขวนตะกอน

-ในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรก, อาจเพิ่มขนาดยา 1 หรือ 2 หยด ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

-ควรลดจำนวนการใช้ยาลงอย่างช้า ๆ โดยดูจากสัญญาณสุขภาพที่ดีขึ้น

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 20 มิลลิลิตร และไม่ควรมีการเติมขนาดยาหากคุณหมอไม่ได้สั่ง

ขี้ผึ้ง:

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 8 กรัม และไม่ควรมีการเติมขนาดยาหากคุณหมอไม่ได้สั่ง

การใช้: อาการอักเสบทางดวงตาที่ตอบสนองต่อสารสเตียรอยด์ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาหรือความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาเกิดขึ้น

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้เด็กที่ป่วยเป็นเยื่อบุตาอักเสบจากแบคทีเรีย

วัยตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

ยาน้ำแขวนตะกอน: หยอด 1 หรือ 2 หยด ลงในถุงเยื่อตาทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขี้ผึ้ง: ทาขี้ผึ้งปริมาณจำนวนหนึ่ง (ประมาณ 1/2 นิ้ว) ตรงถุงเยื่อตา 3 หรือ 4 ครั้งต่อวัน

ความเห็น

ยาน้ำแขวนตะกอน

-ในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรก, อาจเพิ่มขนาดยา 1 หรือ 2 หยด ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

-ควรลดจำนวนการใช้ยาลงอย่างช้า ๆ โดยดูจากสัญญาณสุขภาพที่ดีขึ้น

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 20 มิลลิลิตร และไม่ควรมีการเติมขนาดยาหากคุณหมอไม่ได้สั่ง

ขี้ผึ้ง

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 8 กรัม และไม่ควรมีการเติมขนาดยาหากคุณหมอไม่ได้สั่ง

การใช้: อาการอักเสบทางดวงตาที่ตอบสนองต่อสารสเตียรอยด์ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาหรือความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาเกิดขึ้น

ขนาดยาทั่วไปสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นกระจกตาอักเสบ

วัยตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

-ยาน้ำแขวนตะกอน: หยอด 1 หรือ 2 หยด ลงในถุงเยื่อตาทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

-ขี้ผึ้ง: ทาขี้ผึ้งปริมาณจำนวนหนึ่ง (ประมาณ 1/2 นิ้ว) ตรงถุงเยื่อตา 3 หรือ 4 ครั้งต่อวัน

ความเห็น

ยาน้ำแขวนตะกอน

-ในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงแรก, อาจเพิ่มขนาดยา 1 หรือ 2 หยด ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

-ควรลดจำนวนการใช้ยาลงอย่างช้า ๆ โดยดูจากสัญญาณสุขภาพที่ดีขึ้น

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 20 มิลลิลิตร และไม่ควรมีการเติมขนาดยาหากคุณหมอไม่ได้สั่ง

ขี้ผึ้ง

-ขนาดยาเริ่มต้น ไม่ควรเกิน 8 กรัม และไม่ควรมีการเติมขนาดยาหากคุณหมอไม่ได้สั่ง

การใช้: อาการอักเสบทางดวงตาที่ตอบสนองต่อสารสเตียรอยด์ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาหรือความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาเกิดขึ้น

ข้อควรระวัง

ไม่มีการแสดงให้เห็นชัดถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาในผู้ป่วยวัยต่ำกว่า 2 ปี

รูปแบบยาโทบรามัยซิน + เดกซาเมทาโซน

ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมทาโซน มีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้

  • ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับหยอดตา
  • ขี้ผึ้งทาตา

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นหรือไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้ยาโทบรามัยซิน + ยาเดกซาเมทาโซน กลับมาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม หากใกล้ถึงเวลาที่จะต้องใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และใช้ขนาดยาตามกำหนดการเดิม อย่าเพิ่มขนาดยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dexamethasone / Tobramycin Ophthalmic Dosage. https://www.drugs.com/dosage/dexamethasone-tobramycin-ophthalmic.html. Accessed June 15, 2023.

TOBRADEX. https://www.rxlist.com/tobradex-drug.htm. Accessed June 15, 2023.

Tobramycin And Dexamethasone (Ophthalmic Route). https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/tobramycin-and-dexamethasone-ophthalmic-route/side-effects/drg-20062827?p=1. Accessed June 15, 2023.

Tobramycin-Dexamethasone Suspension, Drops (Final Dose Form). https://www.webmd.com/drugs/2/drug-5914-2088/tobramycin-dexamethasone-ophthalmic-eye/tobramycin-dexamethasone-suspension-ophthalmic/details. Accessed June 15, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 15/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา