ข้อบ่งใช้
ยาโทลบูตาไมด์ใช้สำหรับ
ยาโทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) ใช้ร่วมกับอาหาร และโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 และอาจถูกนำมาใช้ร่วมกับยารักษาเบาหวานประเภทอื่น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะช่วยป้องกันความเสียหายต่อไต ตาบอด ปัญหาระบบประสาท ปัญหาต่อแขนและขา และปัญหาสมรรถภาพทางเพศ การควบคุมเบาหวานอย่างเหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดในสมองแตกได้ ยาโทราซาไมด์จัดอยู่กลุ่มยาที่เรียกว่ายาซัลโฟนิลยูเรีย (sulfonylureas) ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยให้ร่างกายปล่อยสารอินซูลินออกมา และอาจช่วยฟื้นฟูการตอบสนองของร่างกายต่ออินซูลินอย่างเหมาะสม
วิธีการใช้ยาโทลบูตาไมด์
รับประทานยาตัวนี้ตามที่หมอสั่ง วันละครั้งในช่วงเช้า ขนาดยาในแต่ละวันอาจแบ่งให้น้อยลง เพื่อรับประทานในช่วงเวลาอื่นๆ ของวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากยาตัวนี้ทำให้เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด ขนาดยาขึ้นอยู่กับอาการทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ
เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงของคุณ หมออาจสั่งให้คุณเริ่มรับประทานยาตัวนี้ในระดับที่ต่ำและค่อยๆ เพิ่มขนาดยาของคุณ ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างระมัดระวัง
หากคุณรับประทานยาเบาหวานอื่นๆ อย่างเช่น ยาคลอโพรพาไมด์ (chlorpropamide) ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างระมัดระวังสำหรับการหยุดรับประทานยาตัวเก่า เพื่อเริ่มรับประทานยาโทราซาไมด์
ใช้ยาตัวนี้เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด การใช้ยาเวลาเดิมในทุกๆ วัน จะช่วยให้คุณจำได้ง่ายขึ้น
แจ้งหมอของคุณหากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือทรุดลง (ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงหรือต่ำเกินไป)
วิธีเก็บรักษายาโทลบูตาไมด์
ยาโทลบูตาไมด์ ควรเก็บรักษาในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากแสงแดดและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของตัวยา คุณไม่ควรเก็บยาโทลบูตาไมด์ ในห้องน้ำหรือตู้เย็น อาจมียาโทลบูตาไมด์หลายยี่ห้อที่ต้องการการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญเสมอในการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ของยาสำหรับคำแนะนำในการเก็บรักษาหรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
คุณไม่ควรทิ้งยาโทลบูตาไมด์ลงในชักโครก หรือทิ้งลงท่อระบายน้ำนอกจากได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการทิ้งยาให้เหมาะสม เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว ปรึกษากับเภสัชกรของคุณ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทิ้งยาของคุณอย่างไรให้ปลอดภัย
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโทลบูตาไมด์
ก่อนรับประทานยาโทลบูตาไมด์ ควรแจ้งให้หมอหรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาตัวนี้ หรือหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นๆ พูดคุยกับเภสัชกรของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม
ก่อนใช้ยาตัวนี้ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ถึงประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคไต โรคตับ ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ (hyponatremia) อาการฮอร์โมนบางประเภท เช่น ต่อมหมวกไตบกพร่อง (adrenal/pituitary insufficiency) โรคไทรอยด์ กลุ่มอาการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (SIADH)
คุณอาจมีอาการมองไม่ชัด เวียนหัว หรือง่วงซึมได้ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงมาก อย่าขับรถ อย่าใช้เครื่องจักร หรืออย่าทำอะไรที่จำเป็นต้องมีการตื่นตัวหรือการมองเห็น จนกว่าคุณจะทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย
จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะตัวยาสามารถเพิ่มความเสี่ยงของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ แอลกอฮอล์อาจทำปฏิกิริยากับยาโทลบูตาไมด์ และก่อให้เกิดการตอบสนองที่รุนแรง (disulfiram-like reaction) พร้อมๆกับอาการอย่างเช่น หน้าร้อนวูบวาบ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวหรือเจ็บท้อง ปรึกษาหมอหรือเภสัชกรของคุณ เกี่ยวกับวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย
มันอาจเป็นเรื่องยากขึ้นในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อร่างกายของคุณมีความเครียด (อย่างเช่น มีไข้ การติดเชื้อ การบาดเจ็บหรือการผ่าตัด) ปรึกษาหมอของคุณ เพราะอาจต้องมีการเปลี่ยนแผนการรักษา ยาหรือการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
ยาตัวนี้อาจทำให้คุณเกิดการตอบสนองต่อแดดมากขึ้น จำกัดการสัมผัสแสงแดดของคุณ หลีกเลี่ยงการใช้ตู้อบผิวสีแทนและหลอดไฟ ใช้ครีมกันแดด และใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกาย เมื่อต้องออกกลางแจ้ง บอกหมอทันที หากคุณผิวไหม้ หรือผิวหนังเป็นรอยแดง และมีตุ่มพุพอง
ก่อนเข้ารับการผ่าตัด บอกหมอหรือทันตแพทย์เกี่ยวกับยาทุกชนิดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร)
ผู้สูงอายุอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองไวต่อผลข้างเคียงของยาตัวนี้ โดยเฉพาะ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
ยาตัวนี้ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น หากอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ปรึกษาถึงความเสี่ยงและประโยชน์กับหมอของคุณ
การตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน หรือทำให้โรคเบาหวานทรุดลง หมออาจเปลี่ยนการรักษาโรคเบาหวานของคุณ ระหว่างที่คุณกำลังตั้งครรภ์ (อย่างเช่น อาหาร และยา รวมทั้งอินซูลิน)
ยาตัวนี้สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนม ปรึกษากับหมอของคุณก่อนให้นมบุตร
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ไม่มีงานวิจัยเพียงพอในผู้หญิง สำหรับการระบุความเสี่ยงเมื่อใช้ยาโทลบูตาไมด์ ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับหมอของคุณทุกครั้ง เพื่อชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยาโทลบูตาไมด์
ยาโทลบูตาไมด์มีดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ประเภท C (pregnancy risk category C) อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA)
ระดับความเสี่ยงของยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้แก่
- A = ไม่มีความเสี่ยง
- B = ไม่พบความเสี่ยงในบางงานวิจัย
- C = อาจมีความเสี่ยง
- D = มีความเสี่ยงชัดเจน
- X = ห้ามใช้
- N = ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของยาโทลบูตาไมด์
ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ ปวดหัว และน้ำหนักเพิ่ม อาจเกิดขึ้นได้ หากอาการใดๆ ก็ตามเหล่านี้ ยังมีอยู่หรือทรุดลง โปรดแจ้งหมอหรือเภสัชกรทันที
จำไว้ว่า หมอของคุณจ่ายยาตัวนี้ให้คุณ เพราะหมอพิจารณาแล้วว่า คุณจะได้รับประโยชน์ มากกว่าความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียง หลายคนที่ใช้ยาตัวนี้ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ
บอกหมอของคุณทันที หากคุณมีผลข้างเคียงรุนแรง ได้แก่ ปัสสาวะสีเข้ม มีรอยฟกช้ำ/เลือดออกได้ง่าย คลื่นไส้อย่างต่อเนื่อง เจ็บกระเพาะ/ช่องท้องอย่างรุนแรง สัญญาณของอาการติดเชื้อ (เช่น ไข้หวัด เจ็บคอเรื้อรัง) การตกเหลืองของผิวหนังและดวงตา
ยาตัวนี้สามารถทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ หากคุณบริโภคอาหารไม่เพียงพอ หรือหากคุณออกกำลังกายหนักผิดปกติ อาการของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ เหงื่อออกฉับพลัน อาการสั่น หัวใจเต้นเร็ว หิว มองเห็นไม่ชัด เวียนหัวหรือเจ็บจี๊ดที่มือ/เท้า การพกยาหรือเจลกลูโคส เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นเรื่องที่ดี หากคุณไม่มีสิ่งเหล่านี้ ให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ด้วยการรับประทานน้ำตาลทราย น้ำผึ้ง หรือลูกอมหรือดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม บอกหมอของคุณทันที เกี่ยวกับการตอบสนองและการใช้ยาตัวนี้ เพื่อป้องกันน้ำตาลในเลือดต่ำ รับประทานอาหารในช่วงเวลาปกติ และไม่อดอาหาร ตรวจสอบกับหมอหรือเภสัชกรของคุณเพื่อดูว่า คุณควรทำอย่างไร หากคุณลืมรับประทานอาหาร
อาการของน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) ได้แก่ กระหายน้ำ ปัสสาวะมากขึ้น อาการสับสน ง่วงซึม ตัวร้อนวูบวาบ หายใจถี่ และมีกลิ่นปากเหมือนกลิ่นผลไม้ หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น บอกหมอของคุณทันที อาจต้องเพิ่มขนาดยาที่ใช้รักษา
ปฏิกิริยาแพ้ต่อยาชนิดนี้เป็นเรื่องที่พบได้ยาก อย่างไรก็ตาม ควรเข้ารับการดูแลทางการแพทย์ทันที หากมีอาการแพ้ขั้นรุนแรง ได้แก่ ผื่น อาการคันหรือบวม (โดยเฉพาะที่หน้า ลิ้น คอ) เวียนหัวอย่างรุนแรง ปัญหาการหายใจ
ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยาต้านเบต้า ได้แก่ ยาเมโทโพรรอล (metoprolol) ยาโพรพราโนรอล (propranolol) ยาหยอดต้อหิน อย่างเช่น ยาทิโมรอล (timolol) อาจป้องกันการเต้นของหัวใจแรงและเร็ว เมื่อน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำ (hypoglycemia) อาการอื่นๆ ของน้ำตาลในเลือดต่ำ อย่างเช่น เวียนหัว หิว หรือเหงื่อออก ไม่ได้รับผลกระทบโดยยาเหล่านี้
ตรวจสอบฉลากของยาทุกชนิดอย่างถี่ถ้วน (อย่างเช่น ยาที่ใช้รักษาอาการไอและหวัด) เพราะยาเหล่านี้อาจมีส่วนผสมที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน สอบถามเภสัชกรของคุณเกี่ยวกับการใช้ยาเหล่านั้นอย่างปลอดภัย
ยาตัวนี้อาจแทรกแซงการตรวจทางแล็บบางประเภท อาจทำให้ผลตรวจออกมาผิดพลาด อย่าลืมแจ้งเจ้าหน้าที่แล็บและหมอ ให้ทราบถึงการใช้ยานี้ของคุณ
ยาโทลบูตาไมด์อาจทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาของยา คุณควรจดรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ (ทั้งยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์ และสมุนไพร) และให้หมอและเภสัชกรของคุณดู เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนปริมาณยาใดๆ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากหมอ
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาโทลบูตาไมด์อาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ ถึงปฎิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยาตัวนี้
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาโทลบูตาไมด์อาจทำปฎิกิริยากับอาการโรคของคุณ ปฏิกิริยานี้อาจทำให้อาการโรคของคุณทรุดลง หรือเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกให้หมอและเภสัชกร รู้ถึงอาการโรคที่คุณกำลังเป็น
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่ได้มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรของคุณทุกครั้ง ก่อนใช้ยาโทลบูตาไมด์
ขนาดยาโทลบูตาไมด์สำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานประเภท 2
ขนาดยาเริ่มต้น: รับประทานยา 1 ถึง 2 กรัม วันละครั้ง หรือแบ่งขนาดยาเพื่อรับประทานในระหว่างวัน
-การปรับยาขึ้นอยู่กับการตอบสนองของน้ำตาลในเลือด
ขนาดยาควบคุม: รับประทานยา 0.25 ถึง 3 กรัม วันละครั้ง หรือแบ่งขนาดยาเพื่อรับประทานในระหว่างวัน
ขนาดยาสูงสุด: 3 กรัมต่อวัน
ความเห็น: การย้ายผู้ป่วยจากการรักษาด้วยการรับประทานยาต้านปัสสาวะอื่น ๆ ควรทำอย่างระมัดระวัง:
-เมื่อเปลี่ยนการรักษาจากยาโทลบูตาไมด์ ควรมีการดูแลชนิดพิเศษในช่วง 2 สัปดาห์แรก เนื่องจากผลกระทบแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
-เมื่อเปลี่ยนจากการรักษาด้วยอินซูลิน การรักษาด้วยอินซูลินควรทำควบคู่กันด้วย ในผู้ป่วยที่ต้องการอินซูลิน 20 ยูนิตต่อวันหรือมากกว่านั้น
–สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอินซูลิน 20 ถึง 40 ยูนิตต่อวัน ควรลดปริมาณอินซูลินลง 30% ถึง 50% ในช่วง 2-3 วันแรก จากนั้น จะปรับการรักษาตามการตอบสนอง
–สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการอินซูลินมากกว่า 40 ยูนิตต่อวัน ควรลดปริมาณอินซูลินลง 20% ในวันแรก จากนั้นจะปรับการรักษาตามการตอบสนอง
การใช้: เป็นตัวช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดลง ในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว
การปรับขนาดยาในผู้ป่วยไต
ใช้ด้วยความระมัดระวัง ควรรักษาระดับขนาดยาเริ่มต้นและขนาดยาควบคุมเอาไว้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
การปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคตับ
ใช้ด้วยความระมัดระวัง ควรรักษาระดับขนาดยาเริ่มต้นและขนาดยาควบคุมเอาไว้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
การปรับขนาดยา
ผู้ป่วยสูงอายุ อ่อนแรงหรือขาดสารอาหาร ควรรักษาระดับขนาดยาเริ่มต้นและขนาดยาควบคุมเอาไว้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ความเห็นอื่นๆ
คำแนะนำในการจัดการ
รับประทานยาในช่วงเช้า วันละครั้ง
-สำหรับขนาดยาที่มากกว่า 500 มิลลิกรัม แบ่งขนาดยา รับประทานเป็น 2 ครั้งต่อวัน
ข้อสำคัญในการเก็บรักษา
-เก็บให้ห่างจากแสงแดด
คำแนะนำทั่วไป
-ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ อ่อนแรงหรือขาดสารอาหาร ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผสมผสาน และ/หรือผู้ป่วยที่ตับ ไตหรือต่อมหมวกไตบกพร่อง อาจจำเป็นต้องทำการลดขนาดยา
-ยาตัวนี้ไม่ควรนำมาใช้กับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 (type 1 diabetes mellitus) หรือภาวะคีโตซิส (diabetic ketoacidosis)
-โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia) อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยภาวะพร่องเอนไซม์ (G6PD) พิจารณายาซัลโฟนิลยูเรียทางเลือกอื่น
-เมื่อผู้ป่วยที่ปรับตัวเข้ากับยารักษาเบาหวาน มีอาการอย่างเช่น มีไข้ แผลติดเชื้อหรือการผ่าตัด อาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาตัวนี้และให้อินซูลินแทน
การสังเกตอาการ
การประเมินทางการแพทย์และทางแล็บ มีความจำเป็นเพื่อระบุขนาดยาต่ำสุดที่มีประสิทธิภาพ และตรวจหาอาการผิดปกติหลายๆ อย่าง
-ควรตรวจสุขภาพภายใน 4 ถึง 8 สัปดาห์แรก และเข้ารับการตรวจเป็นประจำหลังจากนั้น
-การสังเกตอาการด้วยวิธีทางแล็บ ได้แก่ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ การสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง และควรทำการตรวจปัสสาวะ (เช่น กลูโคสและคีโตน) บ่อยขึ้นระหว่างการเริ่มใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงขนาดยา; ค่าน้ำตาลเฉลี่ย (HbA1c) ควรทำเมื่อได้รับการอนุญาตจากหมอ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
-ผู้ป่วยควรเข้าใจถึงความสำคัญของการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร เพื่อจัดการกับโรคของพวกเขาเอง
-ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายเป็นเวลานานหรือมากเกินไป การอดอาหาร การเจ็บป่วย หรือการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ; ผู้ป่วยควรรู้วิธีจัดการกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและเตรียมตัวในการรักษาโรค
-ผู้ป่วยควรระมัดระวังเกี่ยวกับการขับรถและการใช้เครื่องจักร โดยเฉพาะเมื่อมีความเสี่ยงสำหรับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
-ผู้ป่วยควรปรึกษากับหมอ หากมีอาการที่เกิดจากความเครียด อย่างเช่น เป็นไข้ มีบาดแผลหรือโรค เนื่องจากแผนการรักษาโรคเบาหวานอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง
-แนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษากับหมอหรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ หากคุณตั้งท้อง มีแนวโน้มที่จะตั้งท้องหรือป้อนนมลูก
ขนาดยาโทลบูตาไมด์สำหรับเด็ก
ไม่เป็นที่แน่ชัดสำหรับขนาดยาในผู้ป่วยวัยเด็ก ยาตัวนี้อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูกของคุณ เป็นเรื่องสำคัญเสมอในการเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความปลอดภัยของยาก่อนใช้ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
รูปแบบยา
ยาโทลบูตาไมด์ มีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้ ได้แก่
- ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
- ผงฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นหรือไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาโทลบูตาไมด์ กลับมาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม หากใกล้ถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้ยาครั้งต่อไป ให้งดยาที่ลืมไป แล้วใช้ยาตามกำหนดการเดิม อย่าเพิ่มขนาดยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]