backup og meta

โรพินิโรล (Ropinirole)

ข้อบ่งใช้

ยา โรพินิโรล ใช้สำหรับ

ยา โรพินิโรล (Ropinirole) เป็นยาเพียงชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยาอื่น เพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน ยานี้สามารถพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวของคุณ และลดอาการสั่น อาการแข็งเกร็งของร่างกาย อาการเคลื่อนไหวช้าและไม่มั่นคง ตัวยาอาจลดจำนวนครั้งของการเกิดอาการเคลื่อนไหวไม่ได้อีกด้วย

ยา โรพินิโรล ยังเป็นยาที่ใช้รักษาอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) ยานี้อาจช่วยพัฒนาการนอนหลับของคุณ โดยการลดแรงกระตุ้นที่จะเคลื่อนไหวขาของคุณ และลดความรู้สึกไม่สบายในขาของคุณ

ยาตัวนี้ทำงานโดยช่วยฟื้นฟูสมดุลของสารโดพามีน (dopamine) ในสมอง

วิธีการใช้ยาโรพินิโรล

หากคุณรับประทานยาตัวนี้ สำหรับรักษาโรคพาร์กินสัน รับประทานยาอย่างเดียวหรือรับประทานพร้อมอาหาร 3 ครั้งต่อวันตามที่หมอสั่ง การรับประทานยาพร้อมอาหาร อาจลดอาการคลื่นไส้ เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียง (อย่างเช่น อาการง่วงนอน หรือ ความดันโลหิตต่ำ) เมื่อคุณเริ่มรับประทานยาโรพินิโรล หมอของคุณจะเพิ่มขนาดยาของคุณจนกว่าจะได้ขนาดยาที่ดีที่สุด

หากคุณรับประทานยานี้เพื่อรักษาอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS) รับประทานยาอย่างเดียว หรือรับประทานพร้อมอาหารวันละครั้ง 1-3 ชั่วโมง ก่อนนอนหรือตามที่หมอสั่ง

ใช้ยาตัวนี้เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด การใช้ยาเวลาเดิมในทุกๆ วัน จะช่วยให้คุณจำได้ง่ายขึ้น รับประทานยาตัวนี้ตามที่หมอจ่ายให้ อย่าเพิ่มขนาดยา หรือรับประทานยาบ่อยเกินกว่าที่หมอสั่ง

หากคุณหยุดรับประทานยาตัวนี้เป็นเวลาหลายวัน คุณอาจต้องค่อยเพิ่มขนาดยาให้ทันกับขนาดยารอบที่แล้ว คุยกับหมอของคุณเกี่ยวกับวิธีการกลับมารับประทานยาอีกครั้ง

อย่าหยุดรับประทานยาตัวนี้ โดยไม่ปรึกษากับหมอของคุณ หากคุณหยุดรับประทานยาตัวนี้อย่างฉับพลัน อาจเกิดอาการขาดยาขึ้น อย่างเช่น เป็นไข้ กล้ามเนื้อเกร็ง และสับสน เพื่อป้องกันอาการเหล่านี้ในขณะที่คุณหยุดรับประทานยาตัวนี้ หมอของคุณอาจค่อยๆ ลดขนาดยาของคุณลง ปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

หากคุณรับประทานยาตัวนี้เพื่อรักษาอาการขาอยู่ไม่สุข บอกหมอของคุณ หากคุณมีอาการเพิ่มขึ้น หรือทรุดหนักลงในตอนเช้า หรือเริ่มเกิดอาการตั้งแต่ช่วงหัวค่ำหรือช่วงบ่าย หมอของคุณอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนการรักษา

ขนาดยาจะขึ้นอยู่กับอาการทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์สำหรับยาตัวนี้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ แจ้งหมอของคุณ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือทรุดลง

การเก็บรักษายาโรพินิโรล

ยาโรพินิโรลจะเก็บรักษาได้ดีที่สุดในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากแสงแดดและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของตัวยา คุณไม่ควรเก็บยาโรพินิโรลในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง อาจมียาโรพินิโรลหลายยี่ห้อที่ต้องการการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญเสมอในการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ของยาสำหรับคำแนะนำในการเก็บรักษา หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยาโรพินิโรลลงในชักโครก หรือทิ้งลงท่อระบายน้ำเว้นแต่จะได้รับคำแนะนำดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการทิ้งยาให้เหมาะสม เมื่อยาหมดอายุหรือไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว ปรึกษากับเภสัชกรของคุณ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทิ้งยาของคุณอย่างไรให้ปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโรพินิโรล

ก่อนรับประทานยาโรพินิโรล แจ้งหมอหรือเภสัชกรของคุณหากคุณแพ้ยาตัวนี้ หรือหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นๆ พูดคุยกับเภสัชกรของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยาตัวนี้ บอกหมอหรือเภสัชกรเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหัวใจ (เช่น อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ) ความผิดปกติทางจิตและอารมณ์ อย่างเช่น อาการสับสน การเห็นภาพหลอน โรคจิต จิตเภท (schizophrenia) ปัญหาการเดิน ปัญหาไต ปัญหาตับ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ความผิดปกติในการนอนหลับ อย่างเช่น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea) โรคลมหลับ (narcolepsy) หรือภาวะที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา

ยาตัวนี้อาจทำให้คุณเวียนหัวหรือง่วงนอนไดั เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกัญชา สามารถทำให้คุณเวียนหัวได้หรือง่วงนอนได้มากขึ้น อย่าขับรถ อย่าใช้เครื่องจักร หรืออย่าทำอะไรที่จำเป็นต้องมีการตื่นตัว จนกว่าคุณจะทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผู้สูงอายุอาจมีการตอบสนองไวต่อผลข้างเคียงของยาตัวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ (อย่างเช่น การเห็นภาพหลอน) คลื่นไส้และอาเจียน

ยาตัวนี้ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้นหากอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ปรึกษาถึงความเสี่ยงและประโยชน์กับหมอของคุณ

ยังไม่เป็นที่ทราบว่าตัวยานี้ผ่านเข้าสู่น้ำนมด้วยหรือไม่ ปรึกษาหมอของคุณก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือการให้นมบุตร

ไม่มีงานวิจัยในผู้หญิงที่เพียงพอสำหรับการระบุความเสี่ยงเมื่อใช้ยาโรนิพิโรลในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษากับหมอของคุณทุกครั้งเพื่อชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยาโรนิพิโรล ยานี้เป็นยากลุ่มเสี่ยงที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ระดับ C (pregnancy risk category C) อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA)

ระดับความเสี่ยงของยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้แก่

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในบางงานวิจัย
  • C = อาจมีความเสี่ยงบางอย่าง
  • D = มีความเสี่ยงชัดเจน
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยาโรนิพิโรล

อาการเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ง่วงนอน อ่อนแรง อาการเหงื่อออกผิดปกติ ปวดหัว และปากแห้ง อาจเกิดขึ้นได้ หากอาการเหล่านี้ยังคงอยู่หรือทรุดลง บอกหมอหรือเภสัชกรของคุณทันที

โปรดจำไว้ว่า หมอของคุณจ่ายยาตัวนี้ให้คุณ เพราะหมอพิจารณาแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์ มากกว่าความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียง หลายคนที่ใช้ยาตัวนี้ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ

ความดันโลหิตของคุณอาจจะลดลงอย่างฉับพลัน ซึ่งทำให้เกิดอาการเวียนหัวคลื่นไส้และเป็นลมได้ อาการนี้อาจเพิ่มขึ้นเมื่อคุณเริ่มใช้ยาครั้งแรก หรือเพิ่มขนาดยา หรือเมื่อคุณลุกขึ้นกระทันหัน เพื่อลดความเสี่ยงของคุณ ลุกจากที่นั่งหรือที่นอนอย่างช้าๆ

ยาตัวนี้อาจเพิ่มความดันโลหิตของคุณ ควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำและบอกหมอของคุณหากผลตรวจความดันโลหิตมีค่าสูง

บอกหมอของคุณทันที หากคุณมีผลข้างเคียงผลข้างเคียงรุนแรง ได้แก่ การเดินหรือเคลื่อนไหวลำบาก การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ (อย่างเช่น อาการสับสน ซึมเศร้า เห็นภาพหลอน ความจำเสื่อม ปัญหาการนอนหลับ) เจ็บกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อกระตุก ประสิทธิภาพทางเพศลดลง มีแรงกระตุ้นผิดปกติ (อย่างเช่นเล่นการพนันมากขึ้น มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น) หัวเข่าและเท้าบวม เจ็บหน้าอก อัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ การมองเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลง

ในบางคนที่รับประทานยาโรพินิโรล เกิดการนอนหลับในระหว่างทำกิจวัตรในชีวิตประจำวัน (อย่างเช่น คุยโทรศัพท์ ขับรถ) ในบางกรณี การนอนหลับเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่รู้สึกง่วง ผลกระทบการนอนหลับนี้ อาจเกิดขึ้นในช่วงไหนก็ได้ของการรักษาด้วยยาโรพินิโรล แม้ว่าคุณจะใช้ยาตัวนี้มานานแล้วก็ตาม หากคุณประสบกับอาการง่วงนอนที่เพิ่มขึ้นระหว่างวัน อย่าขับรถหรือทำกิจกรรมที่อันตราย จนกว่าคุณจะคุยกับหมอถึงผลกระทบนี้ ความเสี่ยงของผลกระทบการนอนหลับของคุณ เพิ่มขึ้นได้หากคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือรับประทานยาที่ทำให้ง่วงนอน

ปฏิกิริยาแพ้ต่อยาชนิดนี้เป็นเรื่องที่พบได้ยาก อย่างไรก็ตาม ควรเข้ารับการดูแลทางการแพทย์ทันที หากมีอาการแพ้ขั้นรุนแรง ได้แก่ ผื่น อาการคันหรือบวม (โดยเฉพาะ หน้า ลิ้น คอ) เวียนหัวอย่างรุนแรง ปัญหาการหายใจ

ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยาเหล่านี้ ได้แก่ ยารักษาจิตเวช อย่างเช่น ยาคลอโพรมาซีน (chlorpromazine) ยาฮาโลเพอริดอล (haloperidol) ยาทิโอทิซีน (thiothixene) ยาเมโทโครพลาไมด์ (metoclopramide)

ยาตัวอื่นอาจสร้างผลกระทบในการขับโรพินิโรลออกจากร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของยาตัวนี้ ตัวอย่างเช่น ยาซิเมทีดีน (cimetidine) ยาฟลูโวซามีน (fluvoxamine) ยาเมกซีเลทีน (mexiletine) ยาโอมิพราโซล (omeprazole) ยาไรแฟมพิน (rifampin) และอื่นๆ

บอกหมอหรือเภสัชกรของคุณหากคุณรับประทานยาตัวอื่นที่ทำให้คุณง่วงนอน อย่างเช่น ยาแก้ปวดโอปิออย ยาแก้ไอ อย่างเช่น ยาโคเดอีน (codeine) ยาไฮโดรโคโดน (hydrocodone) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กัญชา ยานอนหลับ หรือยาแก้เครียด อย่างเช่น ยาอัลพราโซแลม (alprazolam) ยาโลราเซแพม (lorazepam) ยาโซลพิเดม (zolpidem) ยาคลายกล้ามเนื้อ อย่างเช่น ยาคาริโซโพรดอล (carisoprodol) ยาไซโครเบนซาพริน (cyclobenzaprine) หรือยาต้านฮีสตามีน อย่างเช่น ยาเซทิริซีน (cetirizine) ยาไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)

ตรวจสอบฉลากยาทุกชนิด (อย่างเช่น ยาภูมิแพ้ หรือยาแก้ไอและยาลดไข้) เพราะยาเหล่านี้อาจมีส่วนผสมที่ทำให้ง่วงนอน สอบถามเภสัชกรของคุณเกี่ยวกับการใช้ยาเหล่านี้อย่างปลอดภัย

การสูบบุหรี่จะลดระดับยาในกระแสเลือด บอกหมอของคุณหากคุณสูบบุหรี่หรือคุณเพิ่งหยุดสูบบุหรี่ไป

ยาโรพินิโรลอาจทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่คุณรับประทานอยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาของยา คุณควรจดรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ (รวมถึงยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร) ให้หมอและเภสัชกรของคุณดู เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากหมอ

ปฏิกิริยาต่ออาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโรพินิโรลอาจทำปฎิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ ถึงปฎิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอออล์ที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยาตัวนี้

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโรพินิโรลอาจทำปฎิกิริยากับอาการโรคของคุณ ปฏิกิริยานี้อาจทำให้อาการโรคของคุณทรุดลง หรือเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกให้หมอและเภสัชกร รู้ถึงอาการโรคที่คุณกำลังเป็น

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่ได้มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรของคุณทุกครั้ง ก่อนใช้ยาโรพินิโรล

ขนาดยาโรพินิโรลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาโดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคพาร์คินสัน

ยาเม็ดออกฤทธิ์ทันที

ช่วงเริ่มต้น รับประทาน 0.25 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

หลังผ่านไป 1 สัปดาห์ ขนาดยาอาจเพิ่มขึ้นหลังผ่านไปหลายสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและความทนทานต่อยาของแต่ละคน

สัปดาห์ที่ 2 รับประทาน 0.5 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

สัปดาห์ที่ 3 รับประทาน 0.75 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

สัปดาห์ที่ 4 รับประทาน 1 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

หลังสัปดาห์ที่ 4 เพิ่มขนาดยาเป็น 1.5 มิลลิกรัมต่อวัน จนถึง 9 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นประจำทุกสัปดาห์ จากนั้น เพิ่มขนาดยาเป็น 3 มิลลิกรัมต่อวัน จนถึงขนาดยาสูงสุด 24 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นประจำทุกสัปดาห์

ขนาดยาสูงสุด รับประทาน 8 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน

ช่วงเริ่มต้น รับประทาน 2 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 ถึง 2 สัปดาห์ แล้วตามด้วยการเพิ่มขนาดยาเป็น 2 มิลลิกรัมต่อวัน หลังผ่านไป 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการทนทานและการตอบสนองต่อการรักษา

ขนาดยาสูงสุด: รับประทาน 24 มิลลิกรัม วันละครั้ง

ผู้ป่วยอาจเปลี่ยนจากยาเม็ดออกฤทธิ์ทันทีเป็นออกฤทธิ์นาน ขนาดยาเริ่มต้นของยาเม็ดออกฤทธิ์นาน ควรใกล้เคียงกับขนาดยาโดยรวมต่อวันของสูตรยาออกฤทธิ์ทันที การปรับขนาดยา ขึ้นอยู่กับการตอบสนองและการทนทานต่อยา

คำแนะนำ

-หากการรักษาเกิดหยุดชะงักขึ้น, ควรวิเคราะห์ขนาดยาตัวนี้ขึ้นใหม่ ในช่วงหยุดรับประทานยา ค่อยๆ ลดขนาดยาตัวนี้ลงหลังผ่านไป 7 วัน

-ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน ผลิตเพื่อมีการออกฤทธิ์ยาเป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง หากอาหารในกระเพาะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้อย่างรวดเร็ว และพบสารตกค้างของยาในอุจจาระ อาจมีความเสี่ยงของการปล่อยฤทธิ์ยาที่ไม่สมบูรณ์

การใช้งาน ใช้สำหรับรักษาโรคพาร์กินสัน

ขนาดยาโดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคขาอยู่ไม่สุข

ยาเม็ดออกฤทธิ์ทันที

ช่วงเริ่มต้น รับประทาน 0.25 มิลลิกรัม วันละครั้งในวันที่ 1 และวันที่ 2

การปรับขนาดยา อาจปรับขนาดยาตามความทนทานและประสิทธิภาพของแต่ละคน

วันที่ 3 ถึงวันที่ 7 รับประทาน 0.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง

-สัปดาห์ที่ 2 รับประทาน 1 มิลลิกรัม วันละครั้ง

-สัปดาห์ที่ 3 รับประทาน 1.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง

-สัปดาห์ที่ 4 รับประทาน 2 มิลลิกรัม วันละครั้ง

-สัปดาห์ที่ 5 รับประทาน 2.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง

สัปดาห์ที่ 6 รับประทาน 3 มิลลิกรัม วันละครั้ง

สัปดาห์ที่ 7 รับประทาน 4 มิลลิกรัม วันละครั้ง

ขนาดยาสูงสุด 4 มิลลิกรัม วันละครั้ง

คำแนะนำ

-รับประทานยา 1 ถึง 3 ชั่วโมงก่อนนอน

-ในการทดลองทางการแพทย์ ยาตัวนี้ไม่ได้ถูกลดขนาดลงก่อนหยุดใช้ยา

การใช้งาน ใช้สำหรับการรักษาอาการขาอยู่ไม่สุขระดับทั่วไปจนถึงรุนแรง

การปรับขนาดยาสำหรับโรคไต

โรคพาร์กินสัน

ภาวะไตบกพร่องระดับปานกลาง (CrCl 30 ถึง 50 มิลลิลิตรต่อนาที): ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา

ภาวะไตบกพร่องระดับรุนแรง โดยไม่ได้ฟอกเลือด: ไม่มีข้อมูล

อาการขาอยู่ไม่สุข

ภาวะไตบกพร่องปานกลาง (CrCl 30 ถึง 50 มิลลิลิตรต่อนาที): ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา

ภาวะไตบกพร่องระดับรุนแรง โดยไม่ได้ฟอกเลือด: ไม่มีข้อมูล

การปรับขนาดยาสำหรับโรคตับ

การปรับขนาดยาอาจเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการแนะนำถึงแนวทางเฉพาะสำหรับเรื่องนี้ แนะนำให้ทำอย่างระมัดระวัง

การปรับขนาดยา

การปรับขนาดยาควรขึ้นอยู่กับความทนทานและประสิทธิภาพที่ต้องการ

โรคพาร์กินสัน

-หากยาตัวนี้ถูกนำมาใช้เป็นตัวช่วยในการรักษาร่วมกับยาเลโวโดปา (levodopa) อาจต้องค่อยๆลดขนาดยาเลโวโดปาจนอยู่ในระดับที่ทนยาได้ การลดขนาดยาเลโวโดปาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 31% และ 34% ร่วมกับยาเม็ดออกฤทธิ์นานและออกฤทธิ์ทันทีตามลำดับ

การหยุดชะงักของยา

-หากเกิดการหยุดชะงักในการรักษาเกิดขึ้น ควรวิเคราะห์ขนาดยาตัวนี้ขึ้นมาใหม่

การหยุดใช้ยา

-ยาเม็ดออกฤทธิ์ทันที ลดการรับประทานยาจาก 3 ครั้งต่อวัน เป็น 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 4 วัน จากนั้นวันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน ก่อนหยุดรับประทานยา

-ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน ค่อยๆหยุดรับประทานยาเมื่อผ่านไป 7 วัน

ข้อควรระวัง

ไม่มีการปรากฏถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพอย่างชัดเจนของยาออฤทธิ์นานในผู้ป่วยที่มีอาการขาอยู่ไม่สุข (RLS)

การฟอกไต

การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis) ไม่มีข้อมูล

การฟอกเลือดของโรคไตระยะสุดท้าย (ESRD)

โรคพาร์กินสัน ยาออกฤทธิ์ทันที

-ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 0.25 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

-การปรับขนาดยาควรขึ้นอยู่กับความทนทานและประสิทธิภาพที่ต้องการ

-ขนาดยาสูงสุด รับประทาน 6 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

โรคพาร์กินสัน ยาออกฤทธิ์นาน

-ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 2 มิลลิกรัมวันละครั้ง

-การปรับขนาดยาควรขึ้นอยู่กับความทนทานและประสิทธิภาพที่ต้องการ

-ขนาดยาสูงสุด รับประทาน 18 มิลลิกรัมวันละครั้ง

อาการขาอยู่ไม่สุข

-ขนาดยาเริ่มต้น รับประทาน 0.25 มิลลิกรัมวันละครั้ง

-การปรับขนาดยาควรขึ้นอยู่กับความทนทานและประสิทธิภาพที่ต้องการ

-ขนาดยาสูงสุด รับประทาน 3 มิลลิกรัมวันละครั้ง

คำแนะนำ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาเพิ่มหลังการฟอก

ความเห็นอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล

-รับประทานยาอย่างเดียว หรือรับประทานพร้อมกับอาหาร

-หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานยารอบต่อไปตามปกติ อย่าเพิ่มขนาดยา

-ควรรับประทานยาที่ออกฤทธิ์นานวันละครั้งในเวลาไล่เลี่ยกันในแต่ละวัน ไม่ควรเคี้ยว หัก และแบ่งตัวยา

-อาการขาอยู่ไม่สุข รับประทานวันละครั้ง 1-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

ทั่วไป

-หากเกิดการหยุดชะงักในการรักษาเกิดขึ้น ควรวิเคราะห์ขนาดยาตัวนี้ขึ้นใหม่

-โรคพาร์กินสัน ยาตัวนี้ควรลดขนาดลงก่อนที่จะหยุดใช้

-อาการขาอยู่ไม่สุข ยาตัวนี้ไม่ควรลดขนาดลงเพื่อหยุดใช้ในระหว่างการทดลองทางการแพทย์

การสังเกตอาการ

-หลอดเลือดและหัวใจ สังเกตหาสัญญาณและอาการของความดันโลหิตสูงเมื่อยืนขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการเพิ่มขนาดยา สังเกตความดันโลหิตของคุณในช่วงแรกของการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคทางหัวใจและหลอดเลือด

-ระบบประสาท สังเกตหาอาการง่วงนอนและเซื่องซึม

-ทางผิวหนัง สังเกตหาอาการเนื้องอกเมลาโนมาส; พิจารณาตรวจผิวหนังเป็นระยะโดยแพทย์ผิวหนัง

-จิตเวช สอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับการเกิดหรือการเพิ่มขึ้นแรงกระตุ้นในการพนัน แรงกระตุ้นในเรื่องทางเพศ การใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้ การรับประทานอาหารที่มากเกินไป หรือแรงกระตุ้นเรื่องอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

-ยาตัวนี้มักทำให้เกิดอาการง่วงนอน ผู้ป่วยไม่ควรขับรถ หรือทำงานกับเครื่องจักร หรือกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายอื่นๆ จนกว่าตัวยาจะระบุได้ว่าผลกระทบของยาส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวอย่างไร

-ผู้ป่วยควรเข้าพบหมอหากเริ่มมีอาการง่วงนอนแบบฉับพลันเกิดขึ้นบ่อย การเกิดหรือทรุดลงของอาการหยุกหยิก (dyskinesia) หรือพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ และหรือ อาการกระตุกผิดปกติ

-ผู้ป่วยควรเข้าพบหมอหากพบการเปลี่ยนแปลงของขนาด รูปร่างหรือสีไฝบนผิวหนัง และควรไปตรวจผิวหนังเป็นประจำเพื่อหาเนื้องอกเมลาโนมาส

-ผู้ป่วยควรตระหนักว่ายาตัวนี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตเมื่อลุกขึ้นยืน ได้แก่ อาการหน้ามืดและเวียนหัว ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการลุกจากที่นั่งหรือที่นอนอย่างรวดเร็ว

-ผู้ป่วยปรึกษาหมอหรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ หากอยู่กำลังตั้งครรภ์ หรือมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

ขนาดยาโรพินิโรลสำหรับเด็ก

ไม่เป็นที่แน่ชัดสำหรับขนาดยาในผู้ป่วยวัยเด็ก อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูกของคุณ เป็นเรื่องสำคัญเสมอในการเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความปลอดภัยของยาก่อนใช้ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบยาโรพินิโรล

ยาโรพินิโรลมีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • ยาเม็ด ออกฤทธิ์นาน
  • ยาเม็ด
  • ยาที่ใช้ทำความสะอาดช่องปาก

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นหรือไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาโรพินิโรล กลับมาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม หากใกล้ถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้ยาครั้งต่อไป ลืมขนาดยาครั้งที่แล้ว และใช้ขนาดยาตามกำหนดการเดิม อย่าเพิ่มขนาดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ropinirole Dosage. https://www.drugs.com/dosage/ropinirole.html. Accessed April 16, 2018.

Ropinirole HCL. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-4468-4041/ropinirole-oral/ropinirole-oral/details. Accessed April 16, 2018.

Ropinirole. https://www.drugbank.ca/drugs/DB00268. Accessed July 8, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการชาที่มือและแขนขณะนอนหลับ เกิดจากอะไรกันแน่

อาการปวดหลังของคุณเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือเปล่า?


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา