backup og meta

ไอวาบราดีน (Ivabradine)

ไอวาบราดีน (Ivabradine)

ข้อบ่งใช้ ไอวาบราดีน

ไอวาบราดีน ใช้สำหรับ

ยาไอวาบราดีน (Ivabradine) ใช้กับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจบางอย่าง (เช่น โรคหัวใจวายเรื้อรัง) เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น และช่วยป้องกันความจำเป็นในการต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โรคหัวใจวายเป็นสภาวะที่หัวใจของคุณปั๊มเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ยาไอวาบราดีนทำงานโดยการช่วยให้หัวใจของคุณเต้นช้าลง คุณไม่ควรใช้ยานี้หากคุณมีสภาวะหัวใจเต้นช้า (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที) ก่อนใช้ยาไอวาบราดีน หากคุณมีภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือหากอาการหัวใจวายนั้นรุนแรงขึ้นเมื่อไม่นานที่ผ่านมา

วิธีการใช้ยาไอวาบราดีน

  • รับประทานยานี้พร้อมกับมื้ออาหารตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละสองครั้ง ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา เพื่อการลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง แพทย์อาจสั่งให้คุณเริ่มใช้ยานี้ที่ขนาดต่ำแล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดยา โดยปกติมักจะใช้ยาอื่นร่วมกับยาไอวาบราดีนเพื่อรักษาโรคหัวใจวาย ควรทำตามแนวทางการใช้ยาทั้งหมดจากแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากยา เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายาไอวาบราดีน

ยาไอวาบราดีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไอวาบราดีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไอวาบราดีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไอวาบราดีน

  • ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะโรคตับ ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการซิกไซนัส (sick sinus syndrome) สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (heart block) หัวใจเต้นผิดปกติ หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน หรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกัญชาอาจทำให้อาการวิงเวียนรุนแรงขึ้นได้ อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว หรือการมองเห็นที่ชัดเจน จนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย ควรระมัดระวังในการขับรถอย่างมากในการขับรถตอนกลางคืน เนื่องจากอาจมีความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันของแสงสว่าง ซึ่งอาจรบกวนการมองเห็น ควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปรึกษาแพทย์หากคุณใช้กัญชารักษาโรค
  • ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)
  • ไม่แนะนำการใช้ยานี้ระหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ โปรดปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการคุมกำเนิดที่น่าเชื่อถือ (เช่น ถุงยางอนามัยหรือยาเม็ดคุมกำเนิด) หากคุณตั้งครรภ์ หรือคาดว่าอาจจะตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์
  • ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ ไม่แนะนำการให้นมบุตรระหว่างการใช้ยานี้ เนื่องจากความเสี่ยงในการเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาไอวาบราดีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาไอวาบราดีน

  • อาจเกิดอาการวิงเวียนหรือเหนื่อยช้า หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที
  • โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ
  • ในกรณีหายาก ยาไอวาบราดีนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น เช่น ความสว่างเพิ่มขึ้นกะทันหัน หรือมองเห็นวงรอบแสง หรือไฟมีสีสว่างจ้า การมองเห็นความสว่างของแสงเปลี่ยนแปลงฉับพลันอาจทำให้อาการเหล่านี้เด่นชัดขึ้น หากเกิดการมองเห็นเปลี่ยนแปลง โดยปกติมักจะเกิดขึ้นภายใน 2 เดือนแรก และหายไปในช่วงระหว่างการรักษา หรือหลังจากหยุดใช้ยา
  • แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้ ได้แก่ หัวใจเต้นช้า เร็ว หรือผิดปกติ หมดสติ
  • การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ได้แก่ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด
  • ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

  • ยาอื่นสามารถส่งผลกระทบต่อการกำจัดยาไอวาบราดีนออกจากร่างกายและส่งผลกระทบต่อการทำงานของยาไอวาบราดีนได้ ยาเหล่านั้นได้แก่ ยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซล (azole antifungals) เช่น ไอทราโคนาโซล (itraconazole) หรือคีโตโคนาโซล (ketoconazole) ยาปฏิชีวนะกลุ่มแมคโครไลด์ (macrolide antibiotics) เช่น คลาริโทรมัยซิน (clarithromycin) หรือเทลิโทรมัยซิน (telithromycin) ดิลไทอะเซม (diltiazem) ยาต้านไวรัสเอชไอวี (HIV protease inhibitors) เช่น เนวฟินนาเวียร์ (nelfinavir) หรือริโทนาเวียร์ (ritonavir) เนฟาโซโดน (nefazodone) ไรฟามันซิน (rifamycins) เช่น ไรฟาบูติน (rifabutin) หรือไรแฟมพิน (rifampin) สมุนไพร St. John’s wort เวราพามิล (verapamil) ยารักษาอาการชัก เช่น คาร์บามาเซพีน (carbamazepine) ฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) หรือเฟนิโทอิน (phenytoin) และอื่นๆ

ยาไอวาบราดีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหรือดื่มน้ำเกรปฟรุตขณะที่กำลังใช้ยานี้นอกเสียจากแพทย์หรือเภสัชกรจะบอกว่าคุณสามารถทำได้อย่างปลอดภัย เกรปฟรุตนั้นสามารถเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงของยานี้ได้ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยาไอวาบราดีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไอวาบราดีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไอวาบราดีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาปกติเพื่อรักษาโรคหัวใจวาย (Congestive Heart Failure)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มก. รับประทานวันละสองครั้งพร้อมกับมื้ออาหาร
  • ขนาดยาสูงสุด: 7.5 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

คำแนะนำ

  • สำหรับผู้ป่วยที่เคยมีภาวะการนำบกพร่อง (conduction defects) หรือผู้ป่วยที่มีมีอาการหัวใจเต้นช้ากว่าปกติซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะการไหลเวียนของเลือดอ่อนแรง (hemodynamic compromise) ควรเริ่มขนาดยา 2.5 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ควรมีการประเมินหลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ และปรับขนาดยาเพื่อรักษาระดับความทนทานและเพื่อให้ได้อัตราการเต้นของหัวในที่ระหว่าง 50 และ 60 ครั้งต่อนาที หากอัตราการเต้นหัวใจเมื่อหยุดพักนั้นมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ให้เพิ่มขนาดยาอีก 2.5 มก. วันละสองครั้ง ไปจนถึงสูดสุดที่ 7.5 มก. วันละสองครั้ง หากอัตราการเต้นหัวใจเมื่อหยุดพักนั้นน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที หรือมีสัญญาณหรืออาการของภาวะหัวใจเต้นช้า ให้ลดขนาดยาลงมา 2.5 มก. วันละสองครั้ง (หยุดใช้ยาหากขนาดยาปัจจุบันคือ 2.5 มก. รับประทานวันละสองครั้ง)

การใช้งาน

  • เพื่อลดความรุนแรงของโรคหัวใจวายที่เสี่ยงต่อการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวายเรื้อรังคงที่แบบมีอาการ และอัตราเลือดที่ถูกบีบออกจากหัวใจห้องด้ายนซ้ายล่าง (left ventricular ejection fraction)นั้นต่ำกว่า 35% ผู้ที่มีจังหวะไซนัส (sinus rhythm) พร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อหยุดพักอยู่ที่ 70 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่า และไม่สามารถทนทานต่อหรือไม่สามารถใช้ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ได้ (beta-blockers)

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 15 ถึง 60 มล./นาที: ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์น้อยกว่า 15 มล./นาที: ไม่มีข้อมูล

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคตับ

  • ตับบกพร่องระดับเบาถึงปานกลาง: ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ
  • ตับบกพร่องระดับรุนแรง ไชด์พิวซี (Child-Pugh C): ห้ามใช้ยา

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการให้ยา

  • รับประทานพร้อมกับมื้ออาหาร

การเฝ้าระวัง

  • เฝ้าระวังอัตราการเต้นของหัวใจเป็นประจำ
  • เฝ้าระวังอาการอัตราการเต้นของหัวใจช้าลงและภาวะหัวใจเต้นช้า

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • แจ้งให้ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ทราบ ถึงโอกาสในการเกิดความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • แนะนำผู้ป่วยที่มีโอกาสตั้งครรภ์ให้ใช้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และแจ้งให้แพทย์ทราบหากตั้งครรภ์ หรือคาดว่าอาจจะตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยควรแจ้งหากอัตราการเต้นของหัวใจลดลงอย่างมาก หรือมีอาการ เช่น วิงเวียน เหนื่อยล้า หรือความดันโลหิตต่ำ
  • ผู้ป่วยควรแจ้งหากมีอาการของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) เช่น หัวใจสั่นระรัวหรือเต้นเร็ว มีความดันในหน้าอก หรือมีอาการหายใจไม่อิ่มรุนแรงขึ้น
  • แนะนำให้ผู้ป่วยทราบถึงโอกาสในการเกิดปรากฏการณ์สะท้อนแสงหรือฟอสฟีนส์ (phosphenes) และควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง หากต้องขับรถหรือใช้เครื่องจักร ในสถานการณ์ที่หากอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของความเข้มข้นของแสง โดยเฉพาะหากขับรถในเวลากลางคืน

ขนาดยาไอวาบราดีนสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ivabradine Dosage. https://www.drugs.com/dosage/ivabradine.html. Accessed March 2, 2018.

Ivabradine Tablet. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-159226/ivabradine-oral/details. Accessed March 2, 2018.

Ivabradine. https://www.drugbank.ca/drugs/DB09083. Accessed March 2, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Khongrit Somchai


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำงานหนักต้องระวัง เครียดเรื่องงาน อาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ

หัวใจวายในผู้หญิง กับอาการและสัญญาญเตือนที่สาว ๆ ควรรู้ จะได้รับมือทัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา