backup og meta

เฮสเพอริดิน (Hesperidin)

สรรพคุณของ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) มีอะไรบ้าง

Hesperidin (เฮสเพอริดิน) เป็นเคมีพืชถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ “ไบโอฟลาโวนอยด์ (bioflavonoid) หรือ วิตามินพี พบในผลไม้ตระกูลซีทรัซ เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น ผู้คนมักนำมาใช้ทำเป็นยา ไม่ว่าจะเป็นเฮสเพอริดินอย่างเดียวหรือถูกรวมกับผลไม้ตระกูลซีทรัสอื่น ตัวอย่างเช่น ไดออสมิน (Diosmin) เป็นต้น ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อรักษาโรคหลอดเลือด เช่น ริดสีดวงทวาร, เส้นเลือดขอด และโรคลิ่มเลือด (venous stasis) ยังถูกใช้รักษาอาการภาวะบวมน้ำเหลืองและอาการบวมน้ำซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดมะเร็งปอดอีกด้วย

กลไกการทำงานของ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) เป็นอย่างไรบ้าง

เนื่องจากงานวิจัยในปัจจุบันยังไม่มีการกล่าวถึงมากนักเกี่ยวกับการทำงานของ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามที่รู้กันนั้น Hesperidin (เฮสเพอริดิน) อาจช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดนั้นดีขึ้นและยังช่วยให้ลดอาการอักเสบได้ด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือนในการใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน)

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) มีอะไรบ้าง

หากคุณมีคุณสมบัติหรืออาการตามด้านล่างนี้ควรปรึกษาเภสัชกรและผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ยาที่จะสามารถรับประทานได้ควรมีแพทย์สั่งจ่ายเท่านั้น
  • ทานยาอื่นๆอยู่ รวมไปถึงยาที่ไม่ได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารใน Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ยาและสมุนไพรต่างๆ
  • มีอาการไม่สบายหรือเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติและแพ้ยา
  • ภูมิแพ้ชนิดอื่นๆเช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อมผม แพ้วัตถุกันเสีย หรือแพ้สัตว์ต่างๆ เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสมุนไพรจะมีข้อจำกัดน้อยกว่ายารักษาโรค แต่ยังคงเน้นความปลอดภัยอ้างอิงโดยงานวิจัยต่างๆซึ่งข้อได้เปรียบของการทานสมุนไพรเสริมคือการทราบถึงความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นก่อนการใช้จริง ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

การใช้ประโยชน์จาก Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ให้ปลอดภัยควรทำอย่างไร

Hesperidin (เฮสเพอริดิน) น่าจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ที่รับประทานในระยะเวลา 6 เดือน แต่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าจะปลอดภัยหากรับประทานในระยะยาว

ข้อควรระวังพิเศษสำหรับการใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน)

ช่วงตั้งครรภ์และการให้นมบุตร : Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหากรับประทานคู่กับ ไดออสมิน (diosmin)

ภาวะเลือดออกผิดปกติ :Hesperidin (เฮสเพอริดิน) อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าและเสี่ยงเลือดออกมากขึ้น ในทางทฤษฎี Hesperidin (เฮสเพอริดิน) อาจทำให้ภาวะเลือดออกผิดปกตินั้นแย่ลง

ภาวะความดันโลหิตต่ำ : Hesperidin (เฮสเพอริดิน) อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ในทางทฤษฎีการใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) นั้นอาจทำให้คนที่มีภาวะความดันโลหิต่ำนั้นเกิดความดันโลหิตที่ต่ำมาก

การผ่าตัด : Hesperidin (เฮสเพอริดิน) อาจทำให้เลือดไหลมากขึ้นและเสี่ยงเลือดออกมากขณะอยู่ในช่วงผ่าตัดและหลังผ่าตัด ดังนั้นหยุดการใช้ยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนทำการผ่าตัด

ผลข้างเคียงของจากการใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) มีอะไรบ้าง

หากคุณใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย, ท้องร่วง และปวดศีรษะได้ ผลข้างเคียงดังกล่าวอาจไม่เกิดกับทุกๆคน อาจมีผลข้างเคียงนอกจากข้อมูลด้านบนนี้ หากสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงเพิ่มเติม ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้นเมื่อใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) มีอะไรบ้าง

การใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) อาจมีผลต่อยาที่ทานในปัจจุบัน ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ก่อนใช้

ปริมาณการใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน)

ข้อมูลนี้ไม่ใช้คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์ก่อนทาน Hesperidin

ปริมาณการใช้ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ที่เหมาะสม

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้กล่าวถึงปริมาณที่เหมาะสมดังนี้

การรับประทาน

สำหรับการรักษาริดสีดวงทวาร : Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ขนาด 150 มิลลิกรัมกับ Diosmin (ไดออสมิน) ขนาด 1350 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทานติดต่อกัน 4 วัน หรือ Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ขนาด 100 มิลลิกรัมกับ Diosmin (ไดออสมิน) ขนาด 900 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทานติดต่อกัน 3 วัน

สำหรับการป้องกันโรคริดสีดวงทวาร : Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ขนาด 50 มิลลิกรัมกับ Diosmin (ไดออสมิน) ขนาด 450 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งทานติดต่อกัน 3 เดือน

สำหรับการรักษาภาวะเลือดคั่ง (venous stasis ulcers) : รับประทาน Hesperidin (เฮสเพอริดิน) ขนาด 100 มิลลิกรัมกับ Diosmin (ไดออสมิน) 900 มิลลิกรัม รับประทานทุกวันติดต่อกัน 2 เดือน

ปริมาณที่ได้รับอาจแตกต่างในแต่ละคนซึ่งขึ้นอยู่กับ อายุ สุขภาพ เป็นต้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่ควรจะได้รับเนื่องจากสมุนไพรเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ดังนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่ควรจะได้รับเนื่องจากยาสมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป

รูปแบบของ Hesperimin (เฮสเพอริมิน) เป็นอย่างไร

Hesperimin (เฮสเพอริมิน) นี้จะได้รับการบรรจุตามรูปแบบด้านล่างนี้

  • แบบแคปซูล
  • แบบผง

***Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด***

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hesperidin http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1033-hesperidin.aspx?activeingredientid=1033 Accessed August 7, 2017

Hesperidin https://examine.com/supplements/hesperidin/ Accessed August 7, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา