backup og meta

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ

ภาวะสมองขาดเลือด (stroke) ซึ่งเป็นภาวะที่ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองแบบฉับพลัน ส่งผลต่อหลอดเลือดใหญ่ที่นำไปสู่และอยู่ภายในสมอง โรคหลอดเลือดสมองมีสองประเภทที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischemic stroke) ตามปกติเกิดจากการตีบตันของการส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ภาวะเลือดออกในสมอง (hemorrhagic strokes) เกิดขึ้นเมื่อเลือดไหลจากหลอดเลือดที่แตกเข้าสู่สมอง ในวัยผู้ใหญ่ โรคหลอดเลือดสมอง 80% จะเกิดจากการตีบตัน และ 20% เกิดจากเลือดไหลในสมอง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ (Amyloid Angiopathy) คืออะไร

Cerebral amyloid angiopathy (CAA) หมายถึงส่วนประกอบของความผิดปกติประเภทหนึ่ง ที่อะมีลอยด์ (amyloid) เกิดตกตะกอนในสมอง และมักจะพบในสมองของผู้ป่วยสูงอายุที่มีระบบประสาทและสมองแข็งแรงดี อย่างไรก็ตาม CAA อาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage, ICH)

สาเหตุของ ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ (Amyloid Angiopathy) นี้ยังไม่ถูกค้นพบ แต่มีข้อสังเกตว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมในครอบครัว

ภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage, ICH) คืออะไร

เส้นเลือดขนาดเล็กที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนลึกเข้าภายในเนื้อสมอง ความดันเลือดสูง (hypertension) อาจทำให้เส้นเลือดฝอยเล็กๆ เหล่านี้แตกและเลือดไหลเข้าเยื่อหุ้มสมองได้ เลือดจะจับตัวและเกิดลิ่มเลือดที่เรียกว่าก้อนเลือดขัง (hematoma) ขณะที่เลือดไหลในสมอง บริเวณที่หลอดเลือดสมองส่งเลือดไปเลี้ยงในตอนนี้ก็จะขาดเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน และเรียกว่าภาวะสมองขาดเลือด ICH อาจเกิดได้จากสาเหตุมากมาย และการใช้ยา

อาการของ ICH มีอะไรบ้าง

ถ้าคุณเกิดอาการ ICH ให้โทรเรียกรถพยาบาลทันที! อาการต่างๆ ปกติจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและอาจแตกต่างไปตามตำแหน่งที่เลือดไหล อาการต่างๆ ที่พบบ่อยได้แก่

  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียน
  • เซื่องซึมหรือสับสน
  • เกิดอาการอ่อนแรงหรือชาที่ใบหน้า แขนหรือขาโดยฉับพลัน ตามปกติเกิดที่ด้านเดียว
  • หมดสติ
  • สูญเสียการมองเห็นชั่วคราว
  • ชัก

CAA เป็นสาเหตุที่สำคัญของ ICH ในผู้สูงอายุ ปัจจัยเสี่ยงของ CAA ได้แก่อายุที่มากขึ้นและการปรากฎของยีนแอลลีล (alleles) และอะโปไลโปโปรตีน (apolipoprotein) บางประเภท หากมีอาการใดๆ เหล่านี้เกิดขึ้น คุณจะต้องไปพบแพทย์หรือผู้ให้บริการทางสุขภาพ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stroke http://kidshealth.org/en/parents/strokes.html Accessed October 1, 2016

 

Intracerebral Hemorrage  http://www.mayfieldclinic.com/PE-ICH.HTM Accessed October 1, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/02/2020

เขียนโดย พิมพร เส็นติระ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เวียนหัว เกิดจากสาเหตุใด และรักษาได้ยังไง

เซลล์ประสาท โครงสร้างและระบบการทำงานที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/02/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา