backup og meta

แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้จริงหรือไม่

แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้จริงหรือไม่

เมื่ออาการปวดหัวไมเกรน เข้าโจมตีคุณเมื่อไร อาการปวดนั้นก็จะทำให้คุณทุกข์ทรมาน หลายๆ คนก็อาจจะหาวิธีในการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนว่าควรทำอย่างไร และแน่นอนว่าการใช้ แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน อาจจะผ่านตาหลาย ๆ คนมาบ้างแล้ว แต่หลายคนคงมีคำถามในใจว่า แล้วแมกนีเซียมนั้นมีส่วนช่วยในการป้องกันและบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้จริงหรือไม่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่มีความน่าสนใจนี้มาให้อ่านกันแล้วค่ะ

ประเภทของแมกนีเซียม

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีบทบาทและประโยชน์อื่นๆ ต่อร่างกายอีกด้วย แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีหลายประเภท ดังนี้

แมกนีเซียมออกไซด์ (magnesium oxide) เป็นแมกนีเซียมในปริมาณสูง มักใช้ในการรักษาไมเกรน และใช้เพื่อเสริมในผู้ที่มีภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ

แมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulfate) เป็นอาหารเสริมที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้

แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate) เป็นเกลืออนินทรีย์ที่มีระดับแมกนีเซียมสูง ส่วนใหญ่แล้วต้องผ่านกระบวนการเผาเพื่อให้ได้ แมกนีเซียมออกไซด์

แมกนีเซียมคลอไรด์ (magnesium chloride) เป็นสารตั้งต้นที่มักจะนำมาผลิตสารประกอบแมกนีเซียมอื่น ๆ แมกนีเซียมซิเตรต (magnesium citrate) เป็นแร่ธาตุที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ในปริมาณมาก มักใช้เพื่อกระตุ้นในการขับถ่าย มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ

แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้อย่างไร

จากการวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีปัญหาไมเกรนนั้นมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายที่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาไมเกรน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าการบริโภคแมกนีเซียมเป็นประจำนั้นมีส่วนช่วยลดความถี่ในการเกิดไมเกรนได้ถึงร้อยละ 41.6 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการได้รับอาหารเสริมแมกนีเซียมมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดไมเกรนที่มาจากประจำเดือนได้อีกด้วย

อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม

สำหรับผู้ที่มีปริมาณแมกนีเซียมต่ำ และต้องการเสริมแมกนีเซียมให้ร่างกาย อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีแมกนีเซียมอยู่ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพบแมกนีเซียมในผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักใบเขียวหนึ่งถ้วยให้แมกนีเซียมมากถึงร้อยละ 38-40 ของปริมาณที่แนะนำต่อวันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีอาหารอื่นๆ ที่มีปริมาณแมกนีเซียมอีกมากมาย ดังนี้

หากคุณต้องการเพิ่มปริมาณแมกนีเวียม ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมตามธรรมชาติจะช่วยเพิ่มพลังที่ดีกว่า นอกจากร่างกายจะได้รับปริมาณแมกนีเซียมแล้ว ยังได้วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย

ข้อควรระวังในการรับประทานแมกนีเซียม

แม้แมกนีเซียมจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้ แต่สำหรับบางคนที่มีอาการป่วยเหล่านี้ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานแมกนีเซียม หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้แมกนีเซียม

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในการไหลของเลือด เพราะแมกนีเซียมอาจทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้า
  • มีโรคเบาหวาน
  • ภาวการณ์สูบฉีดโลหิตของหัวใจห้องล่างและบนไม่ประสานกัน (heart block)
  • ปัญหาไตหรือไตวาย
  • มีปัญหาทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อักเสบ ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

ปัญหาข้างต้นที่ได้กล่าวมานั้น อาจส่งผลต่อการดูดซึมปริมาณแมกนีเซียมเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้แมกนีเซียมยังทำปฏิกิริยากับยาบางชนิดอีกด้วย หากคุณกำลังอยู่ในระหว่างที่ใช้ยาเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้แมกนีเซียม

  • ยาปฏิชีวนะ
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • ยารักษาโรคหัวใจ
  • อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานแมกนีเซียม

การรับประทานแมกนีเซียมในปริมาณที่มีความปลอดภัยต่อร่างกายนั้น มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการรับประทานแมกนีเซียมนั้นมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ยาในการรักษาไมเกรน แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่จะรับประทานแมกนีเซียมแล้วมีอาการไมเกรนดีขึ้น อย่างไรก็ตามก่อนที่จะใช้แมกนีเซียมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้เสมอ เพื่อความปลอดภัย

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Magnesium for Migraines

https://www.healthline.com/health/magnesium-for-migraines

Does magnesium relieve migraines?

https://www.medicalnewstoday.com/articles/322596

Magnesium for Migraine

https://www.webmd.com/migraines-headaches/magnesium-migraine

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/09/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไมเกรนกำเริบ! อาจมาจากอาหารก็ได้ มาเช็ก อาหารกระตุ้นไมเกรน กัน

สุดยอด วิตามินและอาหารเสริม สำหรับไมเกรน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 15/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา