backup og meta

ชอบให้แฟนนอนหนุนแขนบ่อยๆ ระวังเสี่ยงเป็น ภาวะพาเรสทีเซีย

ชอบให้แฟนนอนหนุนแขนบ่อยๆ ระวังเสี่ยงเป็น ภาวะพาเรสทีเซีย

การนอนหนุนแขนแฟน ช่างดูเป็นท่านอนที่ให้ความรู้สึกโรแมนติกและอบอุ่นซะเหลือเกิน สัมผัสที่โอบกอดซึ่งกันและกันสามารถช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคู่รักให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น แต่ในทางทฤษฎี หากคุณให้แฟนนอนหนุนแขนบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทแบบไม่ได้ตั้งใจ และเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะพาเรสทีเซีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะดังกล่าวนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

ภาวะพาเรสทีเซีย (Paresthesia) คืออะไร

ภาวะพาเรสทีเซีย (Paresthesia) เกิดจากการกดทับที่เส้นประสาท โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนั่งทับขา การนอนทับแขน เป็นเวลานาน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชา คัน ปวดแสบปวดร้อน เหมือนโดนเข็มทิ่มโดยเฉพาะบริเวณแขนและขา

อย่างไรก็ตาม ภาวะพาเรสทีเซียไม่ใช่โรคเรื้อรังร้ายแรง เป็นอาการเพียงชั่วคราวสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากคุณมีโรคประจำตัว และยังมีอาการชาอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

สาเหตุของภาวะพาเรสทีเซีย

ภาวะพาเรสทีเซียเกิดจากการกดทับของเส้นประสาท หรือช่วงเวลาสั้น ๆ ในการขัดขวางระบบการหมุนเวียนของเลือด โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก การนอนหลับทับมือหรือแขน การนั่งไขว้ขานานเกินไป แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการชาเรื้อรัง อาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท ซึ่งมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • เส้นเลือดตีบ
  • เนื้องอกในไขสันหลังหรือสมอง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย
  • ความดันโลหิตสูง
  • การติดเชื้อต่าง ๆ
  • ความผิดปกติของเส้นประสาท

แขนขา รู้สึกชาโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณเตือนของภาวะพาเรสทีเซีย

 ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพาเรสทีเซีย จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเสียวซ่า เหมือนโดนเข็มทิ่มร่างกาย
  • ปวดเมื่อย ปวดแสบ ปวดร้อน
  • อาการชา คัน
  • ผิวหนังร้อน ๆ หนาว ๆ

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพาเรสทีเซีย

  • มีอาการทางระบบประสาท เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis; MS)
  • มีภาวะแพ้ภูมิตัวเอง
  • เคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทซ้ำ ๆ เช่น การเล่นกีฬาเทนนิส การเล่นเครื่องดนตรี
  • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี 12 และ โฟเลต
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2

การรักษาอาการของภาวะพาเรสทีเซีย

วิธีการรักษาอาการภาวะพาเรสทีเซียขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของผู้ป่วย เช่น หากผู้ที่อาการชา แพทย์จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาอาการชา และอาจมีการทำกายภาพบำบัดเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ

ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจ่ายยารับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน โซเดียม (Naproxen sodium) เป็นต้น ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีคำแนะนำและการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพาเรสทีเซีย ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หากคุณต้องใช้การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ
  • หากนั่งเป็นระยะเวลานาน ให้ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวบ่อย ๆ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Paresthesia?. https://www.healthline.com/health/paresthesia. Accessed on September 15, 2020.

What Is Paresthesia?. https://www.webmd.com/brain/paresthesia-facts. Accessed on September 15, 2020.

What to know about paresthesia. https://www.medicalnewstoday.com/articles/318845. Accessed on September 15, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/09/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc)

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 23/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา