ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)
ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure) จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในการทำงานของระบบสมอง (มีอาการสั้นกว่า 15 วินาที) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหยุดนิ่งไปชั่วขณะ ไม่มีอาการตอบสนองชั่วคราว คำจำกัดความลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure) คืออะไร ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure) จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในการทำงานของระบบสมอง (มีอาการสั้นกว่า 15 วินาที และจะกลับมาหายเอง) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหยุดนิ่งไปชั่วขณะ ไม่มีอาการตอบสนองชั่วคราว อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอาการลมชักชนิดเหม่อจะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ แต่การสูญเสียสติแม้ในระยะเวลาสั้น ๆ สามารถทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม พบได้บ่อยเพียงใด ลมชักชนิดเหม่อสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักพบบ่อยในวัยเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ถึง 9 ปี อาการอาการของลมชักชนิดเหม่อ โดยส่วนใหญ่อาการของลมชักชนิดเหม่อจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5-9 ปี ซึ่งจะมีอาการที่แสดงออกแตกต่างกันออกไป ดังนี้ มีอาการสับสน หน้ามืด หยุดการเคลื่อนไหวไปชั่วขณะ ไม่ตอบสนองต่อคำแนะนำและคำถาม มีอาการเหม่อลอย กระพริบตาถี่ขึ้น เม้มปากแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีท่าท่าเหมือนกำลังเคี้ยวอาหาร มือทั้งสองข้างขยับขึ้นเอง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของลมชักชนิดเหม่อลอย ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการลมชักชนิดเหม่อ โดยทั่วไปอาการชักเกิดจากการกระตุ้นของประจุไฟฟ้าที่ผิดปกติจากเซลล์ประสาทในสมอง รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ดังนี้ การบาดเจ็บทางศีรษะ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ โรคหลอดเลือดสมองและเนื้องอก การได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด หรือความผิดปกติทางสมองก่อนคลอด ปัจจัยเสี่ยงของลมชักชนิดเหม่อลอย อายุ พบได้บ่อยในวัยเด็ก เพศ พบได้บ่อยในเพศหญิง ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครัวเคยมีประวัติที่เกี่ยวกับอาการชัก […]