backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 22/03/2021

เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH)

เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH) คือ โรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่ง เป็นภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อสมองอย่างกะทันหัน ทำให้มีเลือดคั่งอยู่ภายในสมอง และสร้างความเสียหายให้แก่สมองโดยรวม

คำจำกัดความ

เลือดคั่งในสมอง คืออะไร

เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH) คือ โรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่ง เป็นภาวะที่มีเลือดออกอย่างกะทันหันในเนื้อสมอง ทำให้มีเลือดคั่งอยู่ภายในสมอง และสร้างความเสียหายให้แก่สมองโดยรวม เลือดที่ไหลออกมาจะสร้างความระคายเคืองต่อเนื้อสมอง ส่งผลให้เกิดการบวม ซึ่งเรียกอาการดังกล่าวว่า สมองบวม (Cerebral Edema) โดยเลือดที่ไหลออกมาจะรวมตัวจับเป็นก้อน สภาวะเหล่านี้จะเพิ่มแรงกดบนเนื้อเยื่อสมองโดยรอบ และฆ่าเซลล์สมองในที่สุด

การเกิดเลือดออกในสมองสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายบริเวณ เช่น เลือดออกระหว่างตัวเนื้อสมองกับเยื่อหุ้มสมอง ระหว่างชั้นของเยื่อหุ้มสมอง หรือระหว่างกะโหลกศีรษะกับเยื่อหุ้มสมอง

เลือดออกในสมองเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที คนส่วนใหญ่ต้องพิการตลอดชีวิต เพราะรักษาไม่ทัน แต่คนไข้บางรายก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ โรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ประกอบไปด้วย โรคหลอดเลือดสมอง สมองทำงานบกพร่อง รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับยาหรือการรักษา ผู้มีอาการอาจถึงขั้นเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว แม้จะได้รับการรักษาทางการแพทย์แล้วก็ตาม

เลือดคั่งในสมอง พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะเลือดคั่งในสมอง พบได้ทั่วไป เกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภาวะ เลือดคั่งในสมอง

อาการโดยทั่วไปของ ภาวะเลือดคั่งในสมอง ได้แก่

  • ปวดหัวหนักอย่างกะทันหัน
  • แขนขารู้สึกอ่อนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ความตื่นตัวลดน้อยลง
  • พูดลำบากหรือพูดเข้าใจยาก
  • มีปัญหาในการพูด
  • กลืนน้ำลายลําบาก
  • มีปัญหาการมองเห็นในดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • สูญเสียการทรงตัว การประสานงานของร่างกาย วิงเวียนศีรษะ
  • เหม่อลอย เซื่องซึม เฉื่อยชา
  • หมดสติ
  • สับสน มีอาการเพ้อ
  • การรับรู้รสชาติผิดปกติ

หลายอาการอาจไม่ได้รวมอยู่ในอาการข้างต้นเหล่านี้ หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของเลือดคั่งในสมอง

ภาวะเลือดคั่งในสมอง อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • บาดเจ็บที่ศีรษะ การบาดเจ็บที่ศีรษะคือสาเหตุเลือดออกในสมองที่พบได้ทั่วไป สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นเรื้อรังจะทำให้ผนังของหลอดเลือดอ่อนแอ หากไม่ได้รับการรักษา จะกลายเป็นสาเหตุใหญ่ของเลือดออกในสมอง แต่สามารถป้องกันได้
  • หลอดเลือดสมองโป่งพอง เกิดจากผนังหลอดเลือดอ่อนแอจนเกิดการบวมและแตกออก ทำให้เลือดออกในสมอง
  • ความผิดปกติของหลอดเลือด คือภาวะหลอดเลือดอ่อนแอ ภายในหรือบริเวณรอบสมอง อาจเป็นได้แต่กำเนิด และจะถูกตรวจพบก็ต่อเมื่อแสดงอาการแล้วเท่านั้น
  • เลือดออกในเนื้อสมองชนิด Amyloid Angiopathy คือความผิดปกติของผนังหลอดเลือด ซึ่งบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับอายุ และภาวะความดันโลหิตสูง ส่งผลให้มีเลือดออกในสมองเล็กน้อยและไม่เป็นที่สังเกต ก่อนที่จะกลายเป็นก้อนเลือดขนาดใหญ่ในภายหลัง
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ ซึ่งประกอบด้วยโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) และ โรคโลหิตจางเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Anemia) ซึ่งสามารถทำให้เกล็ดเลือดลดจำนวนลงได้ทั้งคู่
  • โรคตับ เป็นโรคที่ส่งผลให้เลือดออกในสมองเพิ่มมากขึ้น
  • มะเร็งสมอง เป็นสาเหตุให้ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของเลือดคั่งในสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะเลือดคั่งในสมอง ได้แก่

  • ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง
  • เลือดคั่งในสมองเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • เลือดคั่งในสมองพบได้ทั่วไป ทั้งในวัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย ภาวะเลือดคั่งในสมอง

คุณหมอจะวินิจฉัยว่าส่วนใดของสมองได้รับผลกระทบตามอาการที่มี ณ ขณะนั้น รวมทั้งยังต้องทำการตรวจหลายขั้นตอน เช่น การทำซีทีสแกน ซึ่งจะช่วยแสดงภาพการตกเลือดภายใน หรือจุดที่เลือดคั่ง รวมถึงการทำเอ็มอาร์ไอ

นอกจากนั้น ยังอาจต้องมีการตรวจระบบประสาทและตรวจดวงตา ซึ่งแสดงเห็นถึงเส้นประสาทตาที่บวมโต ปกติแล้ว จะไม่นิยมเจาะน้ำไขสันหลัง เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่อันตรายและทำให้อาการเลวร้ายขึ้น

การรักษาโรคเลือดคั่งในสมอง

การรักษา ภาวะเลือดคั่งในสมอง ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง สาเหตุ และขอบเขตของเลือดที่ออก ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อลดการบวมและป้องกันเลือดออก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนเลือด ว่าจะเอื้อต่อการผ่าตัดแบบเปิดกะโหลกศีรษะ หรือ ต้องผ่าตัดด้วยระบบนำวิถี (Stereotactic Surgery)

การรักษาอาจรวมถึงการรับประทานยา ซึ่งมีทั้งยาแก้ปวด ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือยาขับปัสสาวะ เพื่อลดการบวม และใช้ยาต้านชัก เพื่อควบคุมอาการชักของคนไข้

ส่วนการรักษาในระยะยาวนั้น จำเป็นต้องทำเพื่อเยียวยาความเสียหายของสมอง ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ การรักษานั้นมักจะประกอบไปด้วยกายภาพบำบัด การฝึกพูด และการทำกิจกรรมบำบัด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับเลือดคั่งในสมอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับภาวะเลือดคั่งในสมอง ได้ดียิ่งขึ้น

  • รักษาภาวะความดันโลหิตสูง ผลการวิจัยเปิดเผยว่าร้อยละ 80 ของเหตุเลือดคั่งในสมอง คือ ผู้ป่วยเคยมีประวัติความโลหิตสูง สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ผู้ป่วยควรควบคุมอาหาร การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการทานรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ระวังการรับสารอันตรายเข้าร่างกาย เช่น เฮโรอีน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดคั่งในสมอง
  • ขับรถอย่างระมัดระวัง คาดเข็มขัดนิรภัยอยู่เสมอ
  • สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งเมื่อขี่มอเตอร์ไซค์
  • ระวังการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดว าร์ฟาริน (Warfarin)  หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า คูมาดิน (Coumadin) ซึ่งมีอีกชื่อว่า ถ้าผู้ป่วยรับยาชนิดนี้ โปรดปรึกษาแพทย์เป็นประจำเพื่อทำให้แน่ใจว่าเลือดอยู่ในระดับปกติที่ควรจะเป็น
  • รักษาโรคเบาหวานให้อยู่ในการควบคุม
  • มีวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 22/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา