backup og meta

การวินิจฉัยโรคหัวใจและการตรวจหัวใจด้วย Computed Tomography (CT)

การวินิจฉัยโรคหัวใจและการตรวจหัวใจด้วย Computed Tomography (CT)

โรคหัวใจเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับ หัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจขึ้น ก็จะส่งผลต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายบางส่วนทำงานได้ลำบากมากขึ้น ในปัจจุบันที่วงการแพทย์ได้มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีอุปกรณ์ที่ช่วยในการตรวจหัวใจ อย่าง การตรวจหัวใจด้วย CT ทาง Hello คุณหมอจะพาไปทำความรู้จักว่า CT คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

การตรวจหัวใจด้วย CT หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์คืออะไร

Computed Tomography (CT) คือ การทดสอบที่ ไม่ล้วงล้ำเข้าสู่ร่างกาย โดยใช้เอกซเรย์ในการสร้างภาพของหัวใจ CT สแกนเนอร์ที่ทันสมัย (Multidetector CT หรือ MDCT) ทำงานได้อย่างรวดเร็วและละเอียด โดยสามารถถ่ายภาพการเต้นของหัวใจ แสดงแคลเซียมและสิ่งที่ขัดขวางในเส้นเลือดแดงได้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ CT

  • MDCT คือหนึ่งในประเภทของ CT scan ที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
  • MDCT ทำให้เกิดภาพของส่วนของหัวใจที่ปกติและส่วนที่เป็นโรค โดยภาพนี้สามารถดูได้จากมุมมองใดก็ได้
  • รูปภาพที่แสดงออกมาเหล่านี้สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยถึงปัญหาที่เกิดในโครงสร้างของหัวใจและการสูบฉีดเลือดของหัวใจได้
  • EBCT สามารถแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด ที่เกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดหัวใจ

ทำไมจึงต้องทำ MDCT

แพทย์อาจให้คุณทำ MDCT เมื่อการตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น การเอกซเรย์หน้าอก การทำ electrocardiograms (ECG), Echocardiograms (echocardiography) หรือการทดสอบความเครียด แต่การทดสอบเหล่านี้ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับหัวใจได้

แต่การทำ MDCT จะช่วยให้แพทย์ได้ข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • โครงสร้างหัวใจและความสามารถในการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
  • รอยแผลเป็นจากการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  • ของเหลวในถุงหุ้มหัวใจที่ปกคลุมพื้นผิวของหัวใจ
  • ปริมาณของคราบที่เกิดขึ้นและทำให้หลอดเลือดหัวใจแคบลง
  • ความผิดปกติในเส้นเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจ
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

MDCT สามารถบอกได้หรือไม่ว่าเป็นโรคหัวใจ

เมื่อใช้ Contrast Dye (สารทึบรังสี) ระหว่างการสแกน MDCT ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงการขัดขวางหลอดเลือดแดงของหัวใจ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในผู้ป่วยที่เจ็บ แน่นหน้าอก เพื่อดูว่าการเจ็บแน่นนั้น มาจากปัญหาในการขาดเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจ ที่เป็นผลจากหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่ หากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจปกติดี แพทย์อาจมั่นใจว่าสาเหตุของการเจ็บแน่นหน้าอกนั้นมากจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ด้วยการใช้ Contrast Dye MDCT สามารถใช้ตรวจสอบว่าการผ่าตัดทําทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจยังคงเปิดอยู่หรือไม่ ตรวจสอบโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และตรวจสอบการทำงานของหัวใจห้องล่าง

การทำ MDCT โดยปราศจาก Contrast Dye ยังสามารถใช้วัดปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (Calcium Score) โดยปริมาณแคลเซียมนี้เองสามารถช่วยให้แพทย์ทราบถึงปริมาณคราบในหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ปริมาณแคลเซียมยังช่วยคาดคะเนความเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ให้คำแนะนำคุณว่าควรลดปัจจัยเสี่ยงมากน้อยเพียงใด โดยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากคุณอยู่ในความเสี่ยงระดับกลาง

สามารถทำ MDCT แทนการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจได้หรือไม่

การทำ MDCT ไม่สามารถทำแทนการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจได้ การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจคือวิธีการที่แม่นยำที่สุดในการตรวจการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลที่จำเพาะเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจได้อีกด้วย

ความเสี่ยงจากการทำ MDCT

ผู้ป่วยที่ผ่านการทำ MDCT ไม่ควรเจอรังสีปริมาณที่สูงเพราะรังสีเหล่านั้นอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ และไม่ควรทำ MDCT หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือคาดว่าจะตั้งครรภ์ ที่สำคัญหากมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจต่ำ หรือไม่มีอาการ เช่นเจ็บแน่นหน้าอกที่พอจะบอกได้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจก็ไม่ควรทำ MDCT ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการแพ้ contrast dye ที่ใช้ใน MDCT จึงควรทดสอบก่อนเสมอว่าคุณมีการแพ้ต่อสี ไอโอดีนหรือ สัตว์ทะเลที่มีเปลือกแข็งหรือไม่

ขั้นตอนการทำ MDCT

การเตรียมตัว

สอบถามแพทย์ว่าจะมีการใช้ Contrast Dye ระหว่างการทำ MDCT หรือไม่ หากมีการใช้ ก่อนการทำ MDCT 4-6 ชั่วโมงห้ามรับประทานอาหาร หากไม่มีการใช้ Contrast Dye ห้ามรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนการทดสอบ

ระหว่างการทำ MDCT

  • ระหว่างการทดสอบ ให้นอนราบบนโต๊ะที่เชื่อมอยู่กับ MDCT สแกน
  • ขั้วไฟฟ้าจะติดอยู่กับหน้าอกเพื่อควบคุม ECG โดย ECG จะช่วยให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพที่สมบูรณ์ของหัวใจ
  • เมื่อพร้อมแล้ว โต๊ะจะเคลื่อนเข้าไปยังเครื่องตรวจอย่างช้าๆ สแกนเนอร์ที่อยู่รอบๆจะไม่สัมผัสตัวคุณ การทดสอบนี้จะไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆ
  • หากมีการใช้ contrast dye จะมีการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำบริเวณแขน
  • เจ้าหน้าที่จะสามารถมองเห็นคุณได้ผ่านหน้าต่าง และสามารถพูดคุยกับคุณได้
  • เจ้าหน้าที่จะสั่งให้คุณกลั้นหายใจในระยะเวลาสั้นๆ
  • การทำ MDCT ใช้เวลาเพียง 5-10 นาที

หลังจากการทำ MDCT

ส่วนใหญ่แล้วคนที่ทำ MDCT สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที โดยแพทย์จะให้ผลในการทดสอบและจะนัดคุณมาฟังผลการทดสอบในครั้งต่อไป

MDCT ช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้นได้อย่างไร

  • รู้ความดันโลหิตของตนเอง ปรึกษาแพทย์หาวิธีให้ความดันโลหิตต่ำกว่า 120/80 mm Hg
  • ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยการรับประทานอาหารสุขภาพ เช่นอาหารที่มีเส้นใยสูง ไขมันอิ่มตัวไขมันทรานส์ และคอเลสเตอรอลต่ำ ใช้ยาลดระดับคอเลสเตอรอล
  • หากเป็นโรคเบาหวาน ปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีควบคุมระดับน้ำตาลให้ถึงและคงไว้ซึ่ง HbA1c น้อยกว่าร้อยละ 7 โดย HbA1c (ฮีโมโกลบิน A1c) คือการทดสอบเลือดซึ่งแสดงถึงระดับน้ำตาลใน ระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา

เพิ่มเติมเกี่ยวกับ MDCT

หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MDCT ควรปรึกษาแพทย์

  • มีการทดสอบใดบ้างที่ฉันต้องทำ
  • ฉันยังคงต้องทดสอบหรือไม่หากแพ้ไอโอดีน
  • มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเอกซ์เรย์หรือไม่ เป็นการคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับความผิดปกติของหัวใจ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cardiac Computed Tomography (Multidetector CT, or MDCT). American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartAttack/SymptomsDiagnosisofHeartAttack/Cardiac-Computed-Tomography-Multidetector-CT-or-MDCT_UCM_446370_Article.jsp

Cardiac Computed Tomography (Multidetector CT, or MDCT)

https://www.heart.org/en/health-topics/heart-attack/diagnosing-a-heart-attack/cardiac-computed-tomography-multidetector-ct-or-mdct

Cardiac Computed Tomography

https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/16834-cardiac-computed-tomography

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา