backup og meta

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยวิธีที่คุณเองก็ทำได้

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยวิธีที่คุณเองก็ทำได้

ในปี 2019 กรมควบคุมโรคได้ระบุว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ข้อมูลของประชาชนในปี 2562 ยังพบว่าประชากรทุกๆ 4 คนจะพบเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน ส่วนข้อมูลของประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงและยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทยอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธี ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้มาให้อ่านกันค่ะ

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)  เป็นโรคที่เกิดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มคือ ภาวะที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมอง และภาวะที่มีเลือดออกในสมอง ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถพบได้ในทุกวัย และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิดยังทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดได้ด้วย เช่น ทำให้เกิดการอุดตัน หลอดเลือดอักเสบ

สิ่งที่คุณควรทำเพื่อ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดสมองหรือการควบคุมสภาวะสุขภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งวิธีการเหล่านี้ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ต่ำ และอาหารที่คอเลสเตอรอลต่ำ นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ยังช่วยป้องกันคอเลสเตอรอลสูงได้ด้วย ที่สำคัญหารลดปริมาณโซเดียมในอาหารลงยังช่วยลดความดันโลหิต เพราะทั้งคอเลสเตอรอลและโซเดียมต่างเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

เมื่อร่างกายมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วนขึ้นนั้นช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการคำนวณค่า BMI เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณทราบว่าน้ำหนักตัวเองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นเวลาที่มีความเหมาะสม โดยเลือกการออกกำลังกายที่ชอบ จะช่วยออกกำลังกายได้นานขึ้นและสนุกไปกับมัน

เลิกบุหรี่

การสูบบุหรี่เป็นตัวการในการเร่งการก่อตัวให้เลือดนั้นมีความข้นขึ้น และยังเพิ่มคราบจุลินทรีย์ที่มักจะสะสมในหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดเดินทางไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ยากขึ้น นอกจากนี้นิโคตินที่มีอยู่ในบุหรี่ยังช่วยเพิ่มความดันโลหิตและคาร์บอนไดออกไซด์ จนทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง ไม่เพียงแต่การสูบบุหรี่เท่านั้นที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การได้รับควันบุหรี่มือสองก็ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วย

จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากนั้นจะเพิ่มความดันโลหิตและความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นจึงควรจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยผู้ชายสามารถดื่มได้วันละ 2 แก้ว ส่วนผู้หญิงดื่มได้ไม่เกิน 1 แก้ว

การควบคุมสภาวะสุขภาพเพื่อ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีโรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งหากไม่ดูแลควบคุมตัวเองดีๆ ก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ซึ่งวิธีต่างๆ เหล่านี้เป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

ตรวจปริมาณคอเลสเตอรอลเป็นประจำ การตรวจคอเลสเตอรอลเป็นประจำอย่างน้อยทุก 5 ปี ช่วยให้สามารถจัดการปัญหาได้ทันถ่วงที่ เมื่อคอเลสเตอรอลมาก

ควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงนั้นมักจะไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือน ดังนั้นควรวัความดันโลหิตทุกๆ วัน อย่างสม่ำเสมอ

ควบคุมเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคที่จะต้องมีการตรวจน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบว่ากิจกรรมหรืออาหารแบบใดที่เป็นตัวการทำให้น้ำตาลในเลือดสูง หรือหากน้ำตาลในเลือดสูงควรออกกำลังกายหรือเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การกระทำเหล่านี้จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้

รักษาโรคหัวใจ หากคุณมีภาวะเกี่ยวกับหัวใจบางอย่าง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดปกติ ควรรีบรักษาโรคเหล่านี้ให้หายก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

รับประทานยาตามที่หมอสั่ง การรับประทายาตามที่หมอสั่งเป็นประจำ ไม่หยุดหรือเพิ่มยาเอง เพื่อรักษาโรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Prevention- Stroke

https://www.nhs.uk/conditions/stroke/prevention/

7 things you can do to prevent a stroke

https://www.health.harvard.edu/womens-health/8-things-you-can-do-to-prevent-a-stroke

Preventing Stroke: What You Can Do

https://www.cdc.gov/stroke/prevention.htm

What Can Help Prevent a Stroke?

https://www.webmd.com/stroke/guide/understanding-stroke-prevention#1

Six ways to prevent stroke

https://ukhealthcare.uky.edu/comprehensive-stroke-center/education-prevention/preventing-stroke/six-ways-prevent-stroke

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/07/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง ต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

เทคนิคการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 31/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา