backup og meta

ภาวะหลอดเลือดแข็ง หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง

ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากอิทธิพลของหลายปัจจัยเสี่ยง นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้แล้ว ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะโรคบางอย่างเช่น ภาวะหลอดเลือดแข็ง และนี่คือข้อมูลที่คุณควรรู้

ปัจจัยเสี่ยงทั่วไปของโรคหลอดเลือดสมอง

ยิ่งคุณมีปัจจัยเสี่ยงสูงมากเท่าใด คุณก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นเท่านั้น และปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่

  • อายุ ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
  • เพศ เพศชายพบโรคหลอดเลือดสมองพบมากกว่าเพศหญิง
  • ประวัติมีสมาชิกในครอบครัวเคยเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง

และที่พบได้บ่อยเช่นกันก็คือ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภาวะโรค ที่พบได้บ่อยก็อย่างเช่นภาวะหลอดเลือดแข็ง

ภาวะหลอดเลือดแข็งคืออะไร

หลอดเลือดแดง (Arteries) คือหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจ ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หลอดเลือดแดงจะมีชั้นของเยื่อบุบางๆ ที่ประกอบด้วยเซลล์เรียกว่า เอนโดธีเลียม (endothelium) โดยเอนโดธีเลียมจะทำให้ภายในหลอดเลือดมีความแข็งแรงและพื้นผิวที่เรียบลื่น ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนได้อย่างคล่องตัวหากเอนโดธีเลียมเกิดความเสียหาย ผลที่ตามมาก็คือการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ความเสียหายนี้เกิดขึ้นได้จากภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ และระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่การจับตัวกันเป็นคราบ (plaque) ทำให้หลอดเลือดตีบและผนังหลอดเลือดแข็ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างอย่างช้าๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดตกอยู่ในภาวะเสี่ยง

ภาวะหลอดเลือดแข็งนี้พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุทำให้หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ซึ่งทั้งหมดนี้มักเรียกรวมกันว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases)

สาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็ง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) มักไม่แสดงอาการจนกระทั่งล่วงเข้าวัยกลางคนหรือสูงวัย แต่เมื่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น ทำให้การสูบฉีดโลหิตติดขัด และอาจเกิดความเจ็บปวดขึ้นได้

ผนังภายในหลอดเลือดที่อุดตันยังอาจเกิดการฉีกขาดแบบเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดแดง ในบริเวณที่ฉีกขาดหรือแตก และนำไปสู่การอุดตันแบบเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงนั้น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน และหัวใจวายเฉียบพลัน

ปัจจัยเสี่ยงและอาการของภาวะหลอดเลือดแข็ง

แพทย์จะทำการพิจารณาประวัติทางการแพทย์ของคุณ หากคุณมีหนึ่งในภาวะทางสุขภาพอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คุณก็มีแนวโน้มที่เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ได้แก่

  • มีอาการเจ็บเค้นที่หัวใจ (Angina pectoris) หรือเจ็บแน่นที่หน้าอก
  • มีประวัติการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรืออาการหัวใจวาย
  • มีประวัติหลอดเลือดอุดตันบริเวณลำคอ (carotid arteries)
  • มีประวัติหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน (Peripheral artery disease)

อาการเหล่านี้ถือเป็นหลักฐานบ่งชี้ของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง

ผู้ป่วยเบาหวานยังเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง ที่จะเกิดโรคซึ่งเกี่ยวเนื่องกับหลอดเลือดแข็งผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องรับการรักษาระดับคอเลสเตอรอลด้วย ถือว่าเป็นกลุ่มของผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแข็งแล้วในระดับหนึ่งต่อไปนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงโดยทั่วไปสำหรับภาวะหลอดเลือดแข็ง

  • คนในครอบครัวมีประวัติหัวใจวายก่อนอายุอันควร คือ ก่อน 40 ปีในเพศชาย และก่อน 55 ปีหรือก่อนหมดประจำเดือนในเพศหญิง
  • มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลวสูง (LDL level)
  • มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีต่ำ (HDL level)
  • สูบบุหรี่
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง (140/90 หรือมากกว่า)
  • ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

โรคหลอดเลือดสมองและภาวะหลอดเลือดแข็ง

โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากหลอดเลือดตีบ (Ischemic Stroke) มีอยู่สองประเภทคือ เกิดจากลิ่มเลือด และจากการที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบตันจากภาวะหลอดเลือดแข็งหรือสิ่งอุดตันอื่นๆ

ประเภทแรกเรียกว่า โรคหลอดเลือดสมองชนิด Atherothrombotic stroke ซึ่งเป็นประเภทของโรคหลอดเลือดสมองที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดขึ้นได้เมื่อลิ่มเลือดจับตัวกับ plaque ในเส้นเลือดในสมอง และเกิดการอุดกั้นการไหลเวียนทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง

ประเภทที่สองเรียกว่า โรคหลอดเลือดสมองเหตุหลอดเลือดสมองอุดตัน (Cerebral embolism) เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดหรืออนุภาคบางอย่างที่เรียกว่าสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolus) ถูกลำเลียงผ่านไปในระบบไหลเวียนเลือด จนกระทั่งไปสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองหรืออยู่ในสมอง และไปอุดกั้นการไหลเวียนของเลือด สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดนี้อาจเป็นชิ้นส่วนของลิ่มเลือดหรือplaqueที่ฉีกขาดออกมาคราบแข็งที่อุดตันหลอดเลือดอยู่แล้วอย่างไรก็ตาม เส้นเลือดอุดตันส่วนใหญ่ มักเกิดจากลิ่มเลือดที่ก่อตัวในคนที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) และเข้าสู่กระแสเลือด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is atherosclerosis? http://www.webmd.com/heart-disease/what-is-atherosclerosis. Accessed September 23, 2016.

Are You at Risk for Atherosclerosis? http://www.webmd.com/heart-disease/atherosclerosis-whats-your-personal-risk. Accessed September 23, 2016.

Atherosclerosis and stroke. http://www.strokeassociation.org/STROKEORG/LifeAfterStroke/HealthyLivingAfterStroke/UnderstandingRiskyConditions/Atherosclerosis-and-Stroke_UCM_310426_Article.jsp#.V9GcvPl97IU. Accessed September 23, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์อรรณพ เลขะกุล

อัปเดตโดย: pimruethai


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด สาเหตุและอาการบอกเหตุที่คุณควรรู้

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์อรรณพ เลขะกุล

โรคหัวใจ · โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา