การใช้
แดนดิไลออน ใช้ทำอะไร
แดนดิไลออนเป็นสมุนไพร ส่วนที่งอกขึ้นมาเหนือพื้นดินและรากใช้ทำยารักษา อาการไม่อยากอาหาร ท้องไส้ปั่นป่วน ลมในกระเพาะอาหาร เป็นนิ่ว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นผื่น และแผลฟกช้ำ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบายในการกระตุ้นการขับปัสสาวะ ช่วยทำให้ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีขึ้น และยังใช้เป็น โทนเนอร์ปรับสภาพผิว ยาบำรุงเลือด และยาเจริญอาหาร
แดนดิไลออนใช้เป็นผักสลัดในอาหาร ในซุป ในไวน์ และในน้ำชา นอกจากนี้รากแดนดิไลออนเผายังใช้เป็นส่วมผสมของกาแฟ
การออกฤทธิ์
เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า แดนดิไลออนมีสารเคมีซึ่งอาจช่วยในการกระตุ้นการขับปัสสาวะและรักษาอาการบวม (การอักเสบ)
ข้อควรระวังและคำเตือน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้แดนดิไลออน
ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:
- ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- อยู่ในระหว่างใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
- แพ้สารบางอย่างในแดนดิไลออน หรือยาตัวอื่น หรือสมุนไพรอื่น
- มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ ก่อนใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
แดนดิไลออนปลอดภัยแค่ไหน
โดยทั่วไปแดนดิไลออนมีความปลอดภัยหากใช้ในปริมาณอาหาร และอาจจะปลอดภัยหากใช้ในปริมาณยา (มากกว่าปริมาณอาหาร)
ข้อควรระวังและคำเตือนในการใช้
หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:
เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรชนิดนี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรคำนึงถึงความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้
แพ้เกสรแร็กวีด (ragweed): ผู้ที่แพ้เกสรแร็กวีด หรือเกสรพืชชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกัน เช่น ดอกเดซี่ ดอกเบญจมาศ ดอกดาวเรือง อาจเกิดอาการแพ้แดนดิไลออนได้ หากมีประวัติการแพ้ดังกล่าว ควรตรวจเช็คเพื่อความแน่ใจกับผู้ให้คำแนะนำด้านสุขภาพก่อน
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับจากการใช้แดนดิไลออน
แดนดิไลออนอาจทำให้เกิดอาการแพ้ทั้งการใช้โดยการรับประทานหรือทาผิวหนัง ต่อผู้ที่มีอาการพืชดังกล่าวอยู่แล้ว
ปฏิกิริยาต่อยา
จะเกิดปฏิกิริยาอะไรเมื่อใช้แดนดิไลออนพร้อมกับสารอื่น ๆ
แดนดิไลออนอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา
ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำปฏิกิริยากับแดนดิไลออน มีดังนี้
- ยาปฏิชีวนะ (ยาปฏิชีวนะควิโนโลน Quinolone)
แดนดิไลออนอาจทำให้ปริมาณยาปฏิชีวนะที่ร่างกายดูดซึมได้ลดน้อยลง การใช้แดนดิไลออนควบคู่กับยาปฏิชีวนะอาจจึงทำให้ประสิทธิภาพของยาบางชนิดลดน้อยลง
ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่อาจทำปฏิกิริยาต่อแดนดิไลออน ได้แก่ ไซโปรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin) หรือชื่อทางการค้า ไซโปร (cipro) อีโนซาวิน (enoxacin) หรือชื่อทางการค้า เพเนเทร็กซ์ Penetrex นอร์ฟล็อกซาซิน norfloxacin หรือชื่อทางการค้า ชิโบรซิน Chibroxin โนโรซิน Noroxin สปาร์ฟลอกซาซิน (sparfloxacin) ซาแกม (Zagam) ทราโนลอกซาซิน trovafloxacin หรือชื่อทางการค้า โทรวานTrovan เกรพาฟลอกซาซิน grepafloxacin หรือชื่อทางการค้า ราซาร์ Raxar
· ปฏิกิริยากับลิเทียม
แดนดิไลออนอาจออกฤทธิ์ดังเช่นยาขับน้ำหรือยาขับปัสสาวะ ทำให้ลดความสามารถในการขับลิเทียมออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณลิเทียมในร่างกายจนส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ ควรปรึกษากับผู้ด้านคำแนะนำด้านสุขภาพก่อนใช้สมุนไพรชนิดนี้หากกำลังใช้ลิเทียมอยู่ในขณะนั้น ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงปริมาณลิเทียมที่ใช้อยู่
· กลุ่มยาที่เปลี่ยนสภาพโดยการย่อยของตับ กลุ่มเอนไซม์ไซโตรโครม (Cytochrome P450 1A2 CYP1A2)
ยาบางชนิดเปลี่ยนสภาพการโดยการย่อยของตับ
แดนดิไลออนอาจช่วยให้ตับย่อยยาได้เร็วขึ้น หากใช้แดนดิไลออนควบคู่กับยาบางชนิดที่เปลี่ยนสภาพการโดยการย่อยของตับอาจส่งผลต่อทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงมากขึ้น ฉะนั้นก่อนใช้ ควรปรึกษาผู้ให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพหากใช้ยาดังกล่าวอยู่ในขณะนั้น
ยาบางชนิดที่เปลี่ยนสภาพโดยการย่อยของตับ ได้แก่ อะมิทริปไทลิน (amitriptylines) หรือชื่อทางการค้า อีลาวิล (Elavil) ฮาโลเพอริดอล (haloperidol) หรือชื่อทางการค้า ฮัลดอล (Haldol) ออนดาเซทรอน (ondansetron) หรือชื่อทางการค้า โซฟราน (Zofran) โพรพราโนลอล (propranolol) หรือชื่อทางการค้า อินเดอร์รัล (Inderal) ทีโอฟิลลีน หรือชื่อทางการค้า ธีโอเดอร์ (Theo-Dur) และชนิดอื่นๆ เวอราปามิล (Verapamil) หรือชื่อทางการค้า คาลัน (Calan) ไอซอพทิน (Isoptin) และชนิดอื่นๆ เป็นต้น
· กลุ่มยากลูคูโรนิเดชั่น ที่เปลี่ยนสภาพโดยการย่อยของตับ (Glucuronidated Drugs)
ร่างกายทำลายยาบางชนิดเพื่อขับออกไปโดยการย่อยของตับ แดนดิไลออนอาจทำให้ยาเหล่านั้นถูกทำลายเร็วขึ้นซึ่งทำให้การออกฤธิ์ของยาลดน้อยลง
ยาที่เปลี่ยนสภาพโดยการย่อยของตับในกลุ่มนี้ ได้แก่ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) อะทอร์วาสแตติน (atorvastatin) หรือชื่อทางการค้า ลิปิเตอร์ (Lipitor) ไดอะซีแพม (diazepam) หรือชื่อทางการค้า แวเลียม (Valium) ไดจอกซิน (digoxin) เอนตาคาโพน (entacapone) คอมแทน เอสโตรเจน (estrogen) ไอริโนทีแคน (irinotecan) หรือชื่อทางการค้า แคมโตซาร์ (Camptosar) ลาโมไตรจีน (lamotrigine) หรือชื่อทางการค้า ลามิกทัล (Lamictal) ลอราซีแพม (lorazepam) หรือชื่อทางการค้า เอติแวน (Ativan) โลวาสแตติน (lovastatin) หรือชื่อการค้า เมวาคอร์ (Mevacor) เมโปรบาเมท (meprobamate) มอร์ฟีน (morphine) ออกซาซีแพม (oxazepam) หรือชื่อการค้า ซีแร็ก (Serax) และยาชนิดอื่นๆ
· ยาขับน้ำ โปแตสเซียม-สแปริ่ง ไดยูเรติก (Potassium-sparing diuretics)
แดนดิไลออนประกอบด้วยสารสำคัญคือ โปรแตสซียม ซึ่งยาขับน้ำนั้นเพิ่มปริมาณโปรแตสเซียมในร่างกายอยู่แล้ว หากใช้ แดนดิไลออนควบคู่กับยาขับน้ำจะทำให้โปรแตสเซียมในร่างกายสูงเกินไป
ยาขับน้ำที่เพิ่มปริมาณ โปรแตสเซียม ได้แก่ อะมิโลไรด์ (amiloride) หรือชื่อทางการค้า มิดามอร์ (Midamor) สไปโรโนแลคโตน (spironolactone) หรือชื่อทางการค้า อัลแดคโตน (Aldactone) และ ไตรแอมทีรีน (triamterene) หรือชื่อทางการค้า ไดเรเนียม (Dyrenium)
ขนาดยา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดปกติของการใช้แดนดิไลออนอยู่ที่เท่าไร
ปริมาณการใช้แดนดิไลออนอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม
แดนดิไลออนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง
แดนดิไลออนอาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:
· อาหารเสริมรากแดนดิไลออน
· ถุงชารากแดนดิไลออน
· สารสกัดจากรากแดนดิไลออนชนิดน้ำ
· แดนดิไลออนอบแห้ง
· ผงแดนดิไลออน
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]