backup og meta

สิ่งที่คุณควรต้องรู้ ก่อนฝังเข็มรักษาอาการปวดแบบ "ไซอาติก้า"

สิ่งที่คุณควรต้องรู้ ก่อนฝังเข็มรักษาอาการปวดแบบ "ไซอาติก้า"

การฝังเข็มนั้นเป็นที่รู้จักกันในฐานะศาสตร์การรักษาอันเก่าแก่และถูกนำมาใช้ในระบบการรักษาในการแพทย์แผนปัจจุบันมานานหลายปี ในทางการแพทย์สมัยใหม่นั้น การฝังเข็มนำมาใช้เพื่อรักษาอาการปวดไซอาติก้า ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนรากของระบบประสาท เป็นสาเหตุให้มีอาการปวดร้าวลงที่ขา ไซอาติก้า คืออะไร และการฝังเข็มจะรักษาอาการนี้ได้อย่างไร ลองอ่านบทความนี้

อาการปวดเส้นประสาทแบบ ไซอาติก้า คืออะไร 

อาการปวดไซอาติก้า (Sciatica) เป็นอาการปวดสะโพก ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดขาอาจลามไปจนถึงเท้า และอาจมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของอาการปวดสะโพกที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่บริเวณสะโพก หรือเอวมักพบในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง

อาการปวดสะโพกจะแตกต่างจากรูปแบบอื่นๆ ของอาการปวดหลัง เพราะส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดเริ่มขึ้นที่ด้านหลังสะโพก และร้าวลงไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง จะรู้สึกเสียวแปลบ และรู้สึกร้อนบริเวณที่ปวด โดยอาจปวดตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงปวดขั้นรุนแรง บางรายอาจมีอาการขาชาร่วมด้วย

อาการปวดเส้นประสาทแบบไซอาติก้า มักพบว่าเกิดจากปัญหาของหมอนรองกระดูกสันหลัง เช่น มีหมอนรองกระดูกสันหลังแตกไปกดทับรากประสาทที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว หรือสะโพก

การฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดเส้นประสาทแบบไซอาติก้า

งานวิจัยหลายชิ้นได้แสดงให้เห็นประสิทธิผลในการรักษาอาการปวดเส้นประสาทแบบไซอาติก้าด้วยการฝังเข็ม โดยระบุว่าการฝังเข็มนั้นช่วยกระตุ้นส่วนรากเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณหลังและสามารถบรรเทาอาการปวดร้าวลงขาได้ การฝังเข็มนั้นยังสามารถช่วยให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น ตลอดจนลดอาการชาบริเวณขาและลดการอักเสบบริเวณที่เกิดอาการได้ด้วย

ประสิทธิผลของการฝังเข็มนั้นจะเห็นผลยิ่งขึ้นได้ด้วยการรักษาควบคู่กับการใช้ยาบางชนิด เช่น ไอบูโพรเฟน หรือ เมโลซิแคม

เลือกผู้เชี่ยวชาญในการรักษาอย่างไรดี

เมื่อคุณตัดสินใจเลือกการฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดเส้นประสาทแบบไซอาติก้า สิ่งสำคัญมากที่สุดคือคุณจะต้องพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฝังเข็ม เพราะความสำเร็จของการรักษานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการรักษา ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่คุณสามารถนำไปปรับใช้เพื่อหาแพทย์ผู้ให้การฝังเข็มที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

  • ลองสอบถามแพทย์ผู้ทำการรักษาคุณเป็นอันดับแรก เพราะแพทย์ของคุณอาจมีรายชื่อของผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็ม และสามารถแนะนำรายชื่อแพทย์ที่เหมาะสมและสะดวกในการติดต่อ
  • ลองค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาของผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็ม อ่านคุณสมบัติ ประสบการณ์และวุฒิการศึกษา โดยคุณสามารถหารายละเอียดทางอินเทอร์เน็ตหรืออาจสอบถามเพื่อน แพทย์ หรือคลินิกที่ให้การรักษา
  • นัดหมายเพื่อเข้าไปพูดคุยกับแพทย์โดยตรง คุณสามารถสอบถามเกี่ยวกับการรักษาหรือขอคำแนะนำในการหาทางรักษาที่เหมาะสมร่วมกัน รวมถึงสอบถามโอกาสความสำเร็จในการรักษาและความเสี่ยงในขั้นตอนทำการรักษา
  • ตรวจสอบค่าใช้จ่ายและความครอบคลุมของประกันเพื่อเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษา

เพื่อออกแบบการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็ม แพทย์ผู้ทำการฝังเข็มจะสอบถามประวัติทางการแพทย์ อาการ และการใช้ชีวิตของคุณ เพราะฉะนั้นโปรดแจ้งอาการของคุณให้แพทย์ทราบโดยละเอียด

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม

เช่นเดียวกับการรักษาทางการณ์แพทย์อื่นๆ การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มนั้นก็ย่อมมีผลข้างเคียงและความเสี่ยงซึ่งเกิดขึ้นได้ยากมาก ผลข้างเคียงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • แจ้งให้ผู้ทำการรักษาด้วยการฝังเข็มทราบว่าคุณมีอาการของโรคเลือด เช่น ฮิโมฟิเลีย
  • ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นระหว่างที่ทำการฝังเข็มและอาการอาจจะคงอยู่สองสามวินาที อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือกินเวลานานกว่าที่ควรจะเป็น คุณควรแจ้งให้แพทย์ผู้ฝังเข็มทราบทันที
  • การติดเชื้อ ความเสี่ยงนี้อาจมาจากเข็มที่ใช้ขณะทำการรักษา ดังนั้น เข็มที่ใช้ควรเป็นเข็มใหม่และไม่เคยใช้งานมาก่อน

คุณอาจลองใช้วิธีการฝังเข็มเพื่อทำการรักษาอาการปวดเส้นประสาทแบบไซอาติก้า ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล แต่อาจจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น ดังนั้น คุณควรเลือกแพทย์ผู้ทำการฝังเข็มที่มีประสบการณ์และความชำนาญที่เหมาะกับอาการของคุณ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/acupuncture/basics/definition/PRC-20020778?p=1.

Acupuncture: An Ancient Treatment for a Current Problem. http://www.spine-health.com/treatment/alternative-care/acupuncture-ancient-treatment-a-current-problem.

Qin Z, Liu X, Wu J, Zhai Y, Liu Z. Effectiveness of Acupuncture for Treating Sciatica: A Systematic Review and Meta-Analysis. Evidence-based Complementary and Alternative Medicine : eCAM. 2015;2015:425108. doi:10.1155/2015/425108.

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/05/2021

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ กายภาพบำบัดด้วย การดึงหลัง ช่วยลดอาการปวดหลังของคุณได้

อาการปวดหลังของคุณเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือเปล่า?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 14/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา