สรรพคุณ
ควินัวเป็นพืชตระกูลข้าวชนิดหนึ่งที่มีปริมาณโปรตีนสูงแต่ไม่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบเมื่อเปรียบเทียบกับพืชประเภทข้าวชนิดอื่น
- โรคเซลิแอค
- ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง
- อาการปวด
- การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
- ลดน้ำหนัก
- ใช้เป็นสารไล่แมลง
ควินัวใช้ทำแป้ง, ซุปและเบียร์ได้
มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของควินัวไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าการรับประทานควินัวนั้นอาจทำให้รู้สึกอิ่มมากกว่าการรับประทานข้าว นอกจากนี้การรับประทานควินัวยังอาจช่วยลดระดับไขมันหลังมื้ออาหารที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ได้เมื่อเทียบกับการรับประทานขนมปัง
ข้อควรระวังและคำเตือน
ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหากท่านมีสภาวะหรืออยู่ในลักษณะดังต่อไปนี้
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ รวมถึงยาที่กำลังใช้ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
- มีอาการแพ้สารในควินัวหรือยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น
- มีโรค ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควินัวนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
ความปลอดภัย
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าควินัวมีความปลอดภัยหรือไม่
ยังไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับการใช้ควินัวในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตรจึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัย
ผลข้างเคียง:
ควินัว อาจทำให้เกิด:
ผลข้างเคียงจากสารที่ส้นใยสูง: เกิดแก๊ส,ท้องอืดหรือท้องเสีย
การระคายเคืองจากสารสปอนนิน:ทำให้มีรสขมและอาจทำลายลำไส้เล็กได้
โรคเซลิแอค: ควินัวไม่มีสารกลูเตนเป็นส่วนประกอบจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพ้กลูกลูเตน, แพ้ข้าวสาลีหรือมีความไวต่อกลูเตน อย่างไรก็ตามควินัวบางชนิดมีก็มีสารที่เรียกว่าโพรลามินซึ่งสามารถกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้ที่เป็นโรคแพ้กลูเตนได้
คำเตือนเกี่ยวกับออกซาเลต: อาหารจากพืชหลายชนิดรวมถึงควินัวโดยธรรมชาติแล้วจะประกอบด้วยสารออกซาเลตหรือกรดออซาลิกมากมายซึ่งสามารถรวมตัวกับแคนเซียมแล้วเกิดเป็นนิ่วที่ไตในผู้ที่ไวต่อการเกิดนิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลตได้
อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและยังอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากท่านมีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ควินัวอาจมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูนอิสระจึงควรระมัดระวังเมื่อใช้ร่วมกับสารอื่นที่มี ฤทธิ์ต้านอนุมูนอิสระเช่นกัน
ควินัวอาจลดความเข้มข้นของไตรกลีเซอไรด์ เมื่อเปรียบเทียบกับขนมปังและพาสต้าชนิดที่ไม่มีกลูเตนจึงควรระวังในผู้ป่วยที่รับประทานยาลดไตรกลีเซอไรด์อยู่
ควินัว อาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่ท่านกำลังใช้อยู่หรือพยาธิสภาพต่างๆจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้
ขนาดยา
คำแนะนำนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ของท่านก่อนใช้ยานี้เสมอ
ขนาดยาปกติสำหรับการใช้ควินัว
ขนาดปกติสำหรับการใช้ ควินัวอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสม
รูปแบบของควินัว
ควินัวอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:
- ควินัวดิบ
- โปรตีนจากควินัว
- ควินัวชนิดผง
- สารสกัดควินัวแบบน้ำ
***Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษา***
[embed-health-tool-bmi]