backup og meta

จูนิเปอร์ (Juniper)

จูนิเปอร์ (Juniper)

การใช้ประโยชน์ จูนิเปอร์

จูนิเปอร์ใช้ทำอะไร

จูนิเปอร์ (Juniper) ส่วนใหญ่มักได้มาจากผลสดหรือผลแห้ง ใช้รักษาอาการต่างๆ ดังนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อย(หมายรวมถึง ภาวะท้องเสีย มีแก๊สในลำไส้(ท้องเฟ้อ) แสบลิ้นปี่ ท้องอืด เบื่ออาหาร การติดเชื้อที่ทางเดินอาหารและพยาธิในลำไส้)
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
  • ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ
  • นิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ
  • งูกัด
  • โรคเบาหวาน
  • ลดเซลลูไลท์
  • มะเร็ง
  • อาการบาดเจ็บที่ข้อและกล้ามเนื้อ
  • หลอดลมอักเสบละอาการเหน็บชา

นอกจากนี้ จูนิเปอร์อาจใช้รักษาสำหรับอาการอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

การทำงานของจูนิเปอร์เป็นอย่างไร

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับจูนิเปอร์ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม  อย่างไรก็ตามมีการศึกษาพบว่าจูนิเปอร์ มีกลไกดังนี้

  • ลดการอักเสบและแก๊ส
  • ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้จูนิเปอร์

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในจูนิเปอร์ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับจูนิเปอร์นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

จูนิเปอร์มีความปลอดภัยแค่ไหน

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

จูนิเปอร์นับว่ามีความปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมานปกติที่พบในอาหาร โดยพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วจูนิเปอร์จะมีความปลอดภัยในผู้ใหญ่เมื่อใช้รับประทานในปริมาณที่ใช้เป็นยาในระยะสั้นๆ, เมื่อใช้สูดดมหรือใช้ทาผิวหนังเป็นบริเวณแคบๆ หากรับประทานในระยะยาวหรือรับประทานปริมาณมากๆจะทำให้ไตมีปัญหา, อาการชักและผลข้างเคียงที่รุนแรง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้จูนิเปอร์มีอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้จูนิเปอร์ ได้แก่:

  • การระคายเคือง
  • ผิวไหม้
  • อาการแดง
  • การบวม

ในบางราย อาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับจูนิเปอร์มีอะไรบ้าง

จูนิเปอร์อาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างกับจูนิเปอร์ ได้แก่:

  • การใช้ยาสำหรับโรคเบาหวาน(ยาต้านเบาหวาน) เช่น ไกลเมพิไรด์, ไกลบูไรด์, อินซูลิน, ไพโอกลิตาโซน, โรซิกลิทาโซน, คลอโปรปาไมด์, ไกลพิไซด์, โทลบูตาไมด์ และอื่นๆ
  • ยาขับน้ำ(ยาขับปัสสาวะ) เช่น คลอโรไทอะไซด์, คลอธาลิโดน, ฟูโรซีไมด์, ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ และอื่นๆ

ปฏิกิริยาต่อสภาวะทางสุขภาพ:

  • โรคเบาหวาน
  • ความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้จูนิเปอร์ในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้จูนิเปอร์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

จูนิเปอร์อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • น้ำมันหอมระเหย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Juniper. http://www.herbwisdom.com/herb-juniper.html. Accessed December 20, 2016.

Juniper. http://www.botanical.com/botanical/mgmh/j/junipe11.html. Accessed December 20, 2016.

Juniper. https://www.drugs.com/npc/juniper.html. Accessed December 20, 2016.

Juniper. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-724-juniper.aspx?activeingredientid=724&activeingredientname=juniper. Accessed December 20, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/06/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

สีปัสสาวะ บอกโรค มาดูกันสิว่าปัสสาวะสีไหน บ่งบอกโรคอะไรบ้าง

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 05/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา