ชะเอมเทศ (Licorice) คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่พบมากในแถบยุโรปและเอเชีย ส่วนรากของชะเอมเทศนั้นจะมีสารที่เรียกว่า Glycyrrhizic acid รากของชะเอมเทศนั้นถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณที่อาจช่วยรักษาโรค
ข้อบ่งใช้
ชะเอมเทศใช้สำหรับ
ชะเอมเทศ (Licorice) คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่พบมากในแถบยุโรปและเอเชีย ส่วนรากของชะเอมเทศนั้นจะมีสารที่เรียกว่า Glycyrrhizic acid ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ หากรับประทานในปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม รากของชะเอมเทศนั้นถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณที่อาจช่วยรักษาโรคดังต่อไปนี้
- ผื่นผิวหนังอักเสบ (eczema)
- โรคตับอักเสบ
- แผลในปาก
- แสบร้อนกลางอก
- กรดไหลย้อน
- ร้อนวูบวาบ
- ไอ
- การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส
นอกจากนี้ชะเอมเทศยังนำมาใช้เพื่อเพิ่มรสชาติให้แก่อาหาร เครื่องดื่ม และบุหรี่อีกด้วย
การทำงานของชะเอมเทศ
ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของชะเอมเทศไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการวิเคราะห์ว่า สารเคมีที่มีอยู่ในชะเอมเทศอาจสามารถช่วยลดอาการบวมและการขับเมือก ช่วยบรรเทาอาการไอ และสร้างสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการฟื้นฟูบาดแผลได้
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรระวังก่อนการใช้ชะเอมเทศ
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
- ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
- มีอาการแพ้สารในชะเอมเทศ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
- มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากชะเอมเทศนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ
การตั้งครรภ์และให้นมบุตร การรับประทานชะเอมเทศในปริมาณมากขณะตั้งครรภ์นั้นอาจจะไม่ปลอดภัย เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งบุตรได้ ยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการรับประทานชะเอมเทศขณะให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้
โรคหัวใจ ชะเอมเทศนั้นอาจจะทำให้ร่างกายสะสมน้ำมากขึ้น และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้ชะเอมเทศยังอาจเพิ่มโอกาสให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะเอมเทศ
โรคมะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน ชะเอมเทศนั้นออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และอาจทำให้อาการของโรคเหล่านี้รุนแรงขึ้นได้
ความดันโลหิตสูง ชะเอมเทศอาจเพิ่มความดันโลหิตได้ ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงการใช้
ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวมาก (Hypertonia) ชะเอมเทศอาจไปลดระดับของโพแทสเซียม (Potassium) ในเลือด แล้วทำให้อาการของโรคนั้นรุนแรงขึ้นได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) ชะเอมเทศอาจไปลดระดับของโพแทสเซียมในเลือดได้มากกว่าเดิม ควรหลีกเลี่ยงการใช้
โรคไต การรับประทานชะเอมเทศในปริมาณมากอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตมีอาการรุนแรงขึ้นได้
ผู้ชายที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ชะเอมเทศอาจสามารถลดความต้องการทางเพศ โดยการลดฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน แล้วทำให้ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้นรุนแรงขึ้นได้
การผ่าตัด ชะเอมเทศอาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตระหว่างและหลังจากการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานชะเอมเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ชะเอมเทศ
การรับประทานชะเอมเทศนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณที่พบได้ในอาหาร แต่การรับประทานชะเอมเทศในปริมาณมาก นานกว่า 4 สัปดาห์อาจไม่ปลอดภัยได้
ผลข้างเคียงจากการรับประทานชะเอมเป็นเวลานานคือ
- ความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง
- เหนื่อยล้า อ่อนแรง
- โพแทสเซียมในเลือดต่ำ
- อัมพาต
- สมองเสียหาย
- อาการของโรคไต โรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูงรุนแรงขึ้น
- ประจำเดือนขาด
- โซเดียมในร่างกายเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์
ปฏิกิริยาต่อยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ชะเอมเทศอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร
โดยเฉพาะหากคุณใช้ยาดังต่อไปนี้
- วาร์ฟาริน (Warfarin)
- ไดจอกซิน (Digoxin)
- ยาฮอร์โมนต่างๆ
- เอธาครินิคแอซิด (Ethacrynic Acid)
- ฟูโรซีไมด์ (Furosemide)
- สารตั้งต้น CYP2B6 (Cytochrome P450 2B6 substrates)
- ยารักษาความดันโลหิตสูง
- ยาขับปัสสาวะ
เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาของชะเอมเทศ
รับประทาน
- เพื่อเสริมอาหาร ยังไม่มีขนาดยามาตรฐานที่แนะนำ แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าไม่ควรรับประทานชะเอมเทศมากกว่าวันละ 100 มก.
- สำหรับการรักษาผลข้างเคียงหลังจากการถอดเครื่องช่วยหายใจ รับประทานยาอมที่มีส่วนผสมของชะเอมเทศขนาด 97 มก. เป็นเวลา 30 นาที ก่อนให้ยาสลบ
ทาผิว
- สำหรับโรคผื่นผิวหนัง (Eczema) ทาเจลที่มีส่วนผสมของชะเอมเทศ 1% หรือ 2% ในบริเวณที่ต้องการ วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์
รูปแบบ
ชะเอมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้
- เจล
- แคปซูล
[embed-health-tool-bmi]