backup og meta

ต้นพู่ระหง (Hibiscus)

ต้นพู่ระหง (Hibiscus)

การใช้ประโยชน์ ต้นพู่ระหง

ต้นพู่ระหง ใช้สำหรับทำอะไร

ต้นพู่ระหง (Hibiscus) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ชบา เป็นไม้ล้มลุก ผู้คนนิยมนำส่วนของดอกนั้นมาทำเป็นเครื่องดื่ม หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ชาพู่ระหง นอกจากเครื่องดื่มแล้ว ยังสามารถนำมาปรุงเป็นซอส และยาที่ใช้สำหรับรักษาอาการต่างๆ ดังนี้

  • อาการเบื่ออาหาร
  • ไข้หวัด
  • โรคหัวใจ
  • อาการปวดทางเดินหายใจส่วนบนที่บวมอักเสบ
  • อาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ปรับระดับความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิต
  • ละลายเสมหะ

การทำงานของต้นพู่ระหง

การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของต้นพู่ระหงยังไม่เพียงพอมากนัก โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม กรดในพืชชนิดนี้ สามารถใช้เป็นยาระบายได้ นักวิจัยบางท่านกล่าวว่าต้นพู่ระหงสามารถช่วยรักษาอาการความดันในเลือดต่ำ ลดการเกร็งในกระเพาะอาหาร ลำไส้ มดลูก และยังเปรียบเสมือน ยาปฏิชีวนะที่ช่วยกำจัดแบคทีเรีย และพยาธิได้อีกด้วย

ข้อควรระวังและคำเตือน

อะไรที่คุณควรรู้บ้างก่อนใช้ต้นพู่ระหง

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถึงอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของต้นพู่ระหง หรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ต้นพู่ระหงมีความปลอดภัยแค่ไหน

หากใช้ต้นพู่ระหงผสมในอาหาร และการรับประทานสด มักไม่พบอันตรายใดๆ

สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ยังไม่มีการแนะนำให้ทานสมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจทำให้คุณนั้นแท้งบุตรได้ ยังไม่มีข้อมูลที่มากพอที่จะระบุถึงความปลอดภัยในการใช้ต้นพู่ระหงในระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ เพื่อความปลอดภัยต่อทารกของคุณ

สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน : ต้นพู่ระหงสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้แต่ต้องทานในปริมาณที่แพทย์กำหนดเท่านั้น

ภาวะความดันโลหิตต่ำ : อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำลง หากผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดความดันโลหิตที่ต่ำกว่าระดับเดิมได้ เสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายของคุณภายในอนาคต

การผ่าตัด : อาจทำให้เลือดไหลมากขึ้น และเสี่ยงเลือดออกมากขณะอยู่ในช่วงผ่าตัด และหลังผ่าตัด ดังนั้นหยุดการใช้ยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนทำการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ต้นพู่ระหง

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงเกี่ยวกับการใช้ต้นพู่ระหง คุณสามารถขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมจากนักสมุนไพรศาสตร์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้เสมอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ป่วยบางราย ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนเสมอ

ขนาดการใช้

ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ของท่าน ก่อนการนำยาตัวนี้ไปใช้เสมอ

ปกแล้วควรใช้ต้นพู่ระหงในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้ต้นพู่ระหง อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และโรคอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใดบ้าง

สมุนไพรดังกล่าวอาจมีรูปแบบดังต่อไปนี้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

HIBISCUS http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-211-hibiscus.aspx?activeingredientid=211&activeingredientname=hibiscus Accessed July 03, 2017

All You Need to Know About Hibiscus https://www.healthline.com/health/all-you-need-to-know-hibiscus#2 . Accessed July 03, 2017

Hibiscus https://www.drugs.com/npc/hibiscus.html . Accessed July 03, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ถังเช่า (Cordyceps)

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา