สรรพคุณ
น้ำมันลาเวนเดอร์คือสมุนไพรชนิดหนึ่ง ดอกและน้ำมันสามารถนำมาผลิตยาได้
น้ำมันลาเวนเดอร์ใช้บรรเทาอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ อาการประหม่า และอารมณ์แปรปรวน นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารต่างๆ เช่น อาการท้องอืด (เนื่องจากแก๊สในกระเพาะอาหาร) อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเฟ้อ และอาการท้องเสีย
ผู้คนบางกลุ่มใช้น้ำมันลาเวนเดอร์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ปวดศีรษะไมเกรน ปวดฟัน อาการเคล็ด ปวดเส้นประสาท แผลและอาการเจ็บปวดของข้อ
น้ำมันลาเวนเดอร์สามารถรักษาอาการผมขาดหลุดร่วงและใช้กำจัดยุงและแมลงอื่นๆ ได้
บางคนใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ผสมน้ำอาบเพื่อรักษาอาการผิดปกติของการไหลเวียนโลหิตและฟื้นฟูจิตใจ
สำหรับการสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยของลาเวนเดอร์ สามารถรักษาอาการนอนไม่หลับ ความเจ็บปวด และโรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม
สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม น้ำมันลาเวนเดอร์ยังสามารถใช้เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของรสชาติได้อีกด้วย
สำหรับอุตสาหกรรม น้ำมันลาเวนเดอร์สามารถใช้ผลิตยาและส่วนประกอบน้ำหอมในเครื่องสำอาง น้ำหอมบุหงาและเครื่องตกต่างๆ
กลไกการออกฤทธิ์
เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ดี อย่างที่ทราบกันว่าน้ำมันลาเวนเดอร์ มีส่วนประกอบของน้ำมันที่สามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้
ข้อควรระวังและคำเตือน
ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:
- หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
- หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของน้ำมันลาเวนเดอร์หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
- หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
- หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ ควรต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์
ความปลอดภัย
น้ำมันลาเวนเดอร์ปลอดภัยสำหรับการรับประทาน การทาบริเวณผิวหนังและยาดม ในผู้ใหญ่
สำหรับเด็ก: การใช้ลาเวนเดอร์ทาบริเวณผิวหนังในเด็กชายอาจไม่ปลอดภัย เนื่องจากน้ำมันดอกลาเวนเดอร์ส่งผลต่อระบบฮอร์โมนในร่างกายของเด็ก อาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการเต้านมผู้ชายใหญ่ผิดปกติ และยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำมันลาเวนเดอร์สำหรับการใช้ในเด็กชาย
หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่มีรายงายที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำมันลาเวนเดอร์ หากอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่องให้นมบุตร จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้
การผ่าตัด: น้ำมันลาเวนเดอร์ปีระสิทธิภาพทำให้การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางลดลง ถ้าใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ร่วมกับยาชาหรือยาอื่นๆ ในระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด อาจทำให้ระบบการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางลดลง ควรหยุดใช้น้ำมันลาเวนเดอร์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ผลข้างเคียง
เมื่อรับประทานน้ำมันลาเวนเดอร์ อาจทำให้ท้องผูก ปวดศีรษะและเพิ่มความกระหาย เมื่อใช้ทาบริเวณผิวหนังอาจทำให้เกิดอาการระคาบเคือง
จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์
ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา
น้ำมันลาเวนเดอร์ มีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้
ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับน้ำมันลาเวนเดอร์ เช่น:
- คลอรอลไฮเดรต
คลอรอลไฮเรตส่งผลให้มีอาการง่วงซึม น้ำมันเลเวนเดอร์อาจส่งผลกระทบต่อคลอรอลไฮเดตร ถ้าใช้ร่วมกันอาจทำให้มีอาการง่วงมากเกินไป
- ยานอนหลับและยาคลายกังวล (ยาบาร์บิทูเรต)
น้ำมันลาเวนเดอร์ส่งผลให้มีอาการง่วงซึม ยากล่อมประสาทอาจทำให้ง่วงซึมเช่นกัน ถ้าใช้ร่วมกันอาจทำให้มีอาการง่วงมากเกินไป
ยากล่อมประสาท เช่น อะโมบาร์บิทอล (อะไมทอล) บูตาบาร์บิทอล (บูทีซอล) มีโฟบาร์บิทอล (มีบารอล) เพนโทบาร์บิทอล (เนมบูทอล) ฟีโนบาร์บิทอล (ลูมินอล) ซีโคบาร์บิทอล (ซีโคนอล) และอื่นๆ
- ยานอนหลับและยาคลายกังวล (ยากดประสาทส่วนกลาง)
เช่น โคลนาซีแพม (โคลโนพิน) โลราซีแพม (อะทิแวน) ฟีโนบาร์บิทอล (ดอลนาทาล) โซลพิเดม (แอมเบียน) และอื่นๆ
ขนาดยา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดปกติของการใช้น้ำมันลาเวนเดอร์อยู่ที่เท่าไร
ข้อมูลต่อไปนี้คือผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์:
การใช้ทาบริเวณผิวหนัง:
สำหรับอาการผมร่วงเป็นหย่อม: ในการศึกษาได้ใช้น้ำมันลาเวนเดอร์ 3 หยด (108 มิลลิกรัม) น้ำมันดอกโรสแมรี่ 3 หยด 144 มิลลิกรัม น้ำมันไทม์ 2 หยด (88 มิลลิกรัม) และน้ำมันหอมระเหยซีดาร์วูด 2 หยด (94 มิลลิกรัม) นำทั้งหมดมาผสมกับ น้ำมันโจโจบาร์ 3 มิลลิลิตร และน้ำมันเมล็ดองุ่นสกัดเย็น 20 มิลลิลิตร
นำส่วนผสมทั้งหมดนวดลงบนบริเวณศีรษะเป็นเวลา 2 นาทีและนำผ้าอุ่นๆ วางไว้บริเวณรอบๆ ศีรษะเพื่อเพิ่มการดูกซึม ทำเป็นประจำในทุกๆ คืน
ปริมาณการใช้น้ำมันลาเวนเดอร์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการใช้
น้ำมันลาเวนเดอร์มีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง:
น้ำมันลาเวนเดอร์อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:
- น้ำมันหอมระเหย
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (แคปซูล)
***Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัย หรือการรักษา***
[embed-health-tool-bmi]