backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ยูโรเปียน บาร์เบอร์รี (European Barberry)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 01/09/2020

ยูโรเปียน บาร์เบอร์รี (European Barberry)

ยูโรเปียน บาร์เบอร์รี (European Barberry หรือ Berberis vulgaris) เป็นสมุนไพร ผล เปลือก และรากนำมาใช้ทำยา ผลของยูโรเปียนบาร์เบอร์รีใช้รักษา โรคไต โรคทางเดินปัสสาวะ โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น

ข้อบ่งใช้

ยูโรเปียน บาร์เบอร์รี (European Barberry) ใช้สำหรับ

  • รักษาสิว – ผลงานวิจัยเผยว่า การใช้ยูโรเปียน บาร์เบอร์รีในรูปแบบแคปซูลติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ช่วยลดสิวในวัยรุ่นได้
  • ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด – การทาครีมที่มีส่วนผสมของยูโรเปียน บาร์เบอร์รี่ ร่วมกับยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดซ้ำได้
  • รักษาโรคเหงือกอักเสบแบบไม่รุนแรง – การแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีสารสกัดจากยูโรเปียน บาร์เบอร์รี่ติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ช่วยรักษาโรคเหงือกอักเสบแบบไม่รุนแรงได้
  • ขจัดคราบหินปูน – ผลการศึกษาพบว่า การแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีสารสกัดจากยูโรเปียน บาร์เบอร์รี่ติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ นอกจากจะช่วยรักษาโรคเหงือกระดับเบาได้แล้ว ยังช่วยลดคราบหินปูนบนฟันได้

นอกจากนี้ ยังนิยมใช้ยูโรเปียน บาร์เบอร์รี่เพื่อบรรเทาอาการต่อไปนี้ด้วย

ยูโรเปียน บาร์เบอร์รีอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่น ๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของยูโรเปียน บาร์เบอร์รี

ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของยูโรเปียน บาร์เบอร์รีไม่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ยูโรเปียน บาร์เบอร์รีมีสารประกอบทางเคมีที่อาจทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น และอาจช่วยลดการอักเสบและลดกรดในกระเพาะอาหารได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยูโรเปียน บาร์เบอร์รี

ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากยูโรเปียน บาร์เบอร์รี หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการไม่สบาย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ โดยเฉพาะ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์
  • กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมยูโรเปียน บาร์เบอร์รี ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

    ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ยูโรเปียน บาร์เบอร์รีระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

    ความปลอดภัยต่อภาวะอื่น ๆ

    เด็ก

    ไม่ควรให้เด็กแรกเกิดบริโภคยูโรเปียน บาร์เบอร์รี เนื่องจากพืชชนิดนี้มีสารเคมีที่เรียกว่า เบอร์เบอรีน (Berberine) ที่อาจทำให้สมองเสียหายได้ โดยเฉพาะในทารกแรกคลอดที่มีอาการตัวเหลือง

    การผ่าตัด

    หยุดกินยูโรเปียน บาร์เบอร์รีอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ยูโรเปียน บาร์เบอร์รี

    ยูโรเปียน บาร์เบอร์รีอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้

    • ท้องเสีย
    • คลื่นไส้
    • อาเจียน
    • วิงเวียนศีรษะ
    • เป็นลม

    อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

    ปฏิกิริยาต่อยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    ยูโรเปียน บาร์เบอร์รีอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร โดยเฉพาะ

    • ไซโคลสปอรีน (Cyclosporine)
    • นีโอรอล (Neoral)
    • ซานดิมมูน (Sandimmune)
    • ไซโตโครม พี450 3เอ4 (Cytochrome P450 3A4)
    • ซีวายพี3เอ4 (CYP3A4)

    เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 01/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา