สรรพคุณของส้มขม
ส้มขมเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ผู้คนนำเปลือก ดอก ใบ ผลและน้ำผลไม้ มาใช้ในการทำยา น้ำมันที่ได้จากสารสกัดส้มขมได้จากเปลือกของผลส้มขม
ส้มขมใช้รักษา:
- ติดเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น โรคกลาก โรคน้ำกัดเท้าหรือโรคฮ่องกงฟุต และโรคสังคัง
- โรคเบาหวาน
- อาหารไม่ย่อย
- การลดน้ำหนัก
- ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด
- คัดจมูก
- ภูมิแพ้
- ก๊าซในลำไส้
- มะเร็ง
- ท้องเสีย/ลำไส้ปั่นป่วน
- โรคกระเพาะอาหาร
- ควบคุมคอเลสเตอรอล
- โรคเหนื่อยล้าแบบเรื้อรัง (CFS)
- ปัญหาเกี่ยวกับตับและถุงน้ำดี
- กระตุ้นหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
- ตาบวม
- ไข้หวัด
- อาการปวดหัว
- ปวดเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
- รอยช้ำ
- กระตุ้นความอยากอาหาร
- โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
กลไกการออกฤทธิ์
งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารส้มขมนั้นยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีกันว่า ส้มขมมีสารเคมีหลายชนิดที่มีผลต่อระบบประสาท ความเข้มข้นและปฏิกิริยาของสารเคมีเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ของพืชที่นำมาใช้ และวิธีการที่ใช้ในการสกัดสารออกมา สารเคมีเหล่านี้สามารถทำให้หลอดเลือดบีบตัว เพิ่มความดันโลหิต และให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นได้
ข้อควรระวังและคำเตือน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ส้มขม:
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
- ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
- มีอาการแพ้สารในส้มขม ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
- มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากส้มขมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
สารส้มขมปลอดภัยแค่ไหน
สารส้มขมน่าจะปลอดภัยทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เมื่อนำไปประกอบอาหาร นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยจากสารส้มขมก็เป็นไปได้ว่าจะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยเมื่อนำมาทากับผิวหนังหรือสูดดมเป็นกลิ่นหอม แต่สารส้มขมอาจไม่ปลอดภัยเมื่อนำมาใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น นำมาใช้ในการลดน้ำหนัก
ข้อควรระวังและคำเตือน
การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: สารส้มขมมีความปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อนำมาใช้ในการประกอบอาหาร อย่างไรก็ตาม สารส้มขมอาจเป็นอันตรายได้เมื่อนำมาใช้เป็นยา ผลจากการใช้สารส้มขมในระหว่างช่วงให้นมบุตรนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าปลอดภัยหรือไม่ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้สารส้มขม ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
โรคเบาหวาน: มีหลักฐานบางอย่างแสดงให้เห็นว่าสารส้มขมอาจแทรกแซงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โปรดใช้อย่างระมัดระวังและตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
ความดันโลหิตสูง: บางกรณีศึกษาพบว่า สารส้มขมนั้น โดยเฉพาะเมื่อนำมาใช้ร่วมกับคาเฟอีนสามารถเพิ่มความดันเลือดให้กับผู้ที่มีสุขภาพดีได้ แต่การศึกษาอื่น ๆ นั้นพบว่าไม่มีการเพิ่มขึ้นของความดันในเลือดดังกล่าว จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีการศึกษาใดที่ทราบว่า สารส้มขมมีผลกระทบต่อผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรเสี่ยงใช้ ควรเลี่ยงการใช้สารส้มขม โดยเฉพาะใช้ร่วมกับสารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น คาเฟอีน หากคุณเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
โรคต้อหิน: สารส้มขมนั้นอาจทำให้อาการแย่ลง ควรเลี่ยงการใช้สารส้มขมหากคุณเป็นโรคนี้
โรคหัวใจ: การใช้สารส้มขม โดยเฉพาะใช้ร่วมกับคาเฟอีนหรือสารกระตุ้นอื่น ๆ นั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรงของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจที่เรียกว่า “กลุ่มอาการที่เกิดจาก Q-T ยาวผิดปกติ” (ตั้งชื่อตามรูปแบบการตรวจกระแสไฟฟ้าคลื่นหัวใจ)
จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (หัวใจเต้นผิดปกติ): บางการศึกษาพบว่า สารส้มขม นั้น โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับคาเฟอีนแล้วสามารถไปกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้กับผู้ที่มีสุขภาพดีได้ แต่การศึกษาอื่น ๆ ไม่พบผลข้างเคียงที่จะไปกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจดังกล่าว จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีการศึกษาใดที่พบว่า สารส้มขมนั้นมีผลกระทบต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อเลี่ยงผลข้างเคียงของสารส้มขมที่อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ ควรเลี่ยงการใช้สารส้มขมโดยเฉพาะการนำมาผสมกับสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน ถ้าหากคุณเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติ
การผ่าตัด: สารส้มขมนั้นเป็นเหมือนตัวกระตุ้น ซึ่งอาจรบกวนการผ่าตัด โดยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มความดันโลหิตได้ ดังนั้นควรหยุดใช้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารส้มขม
สารส้มขมนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนำมาใช้ร่วมกับสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน หรือคาเฟอีนที่มีส่วนผสมของสมุนไพรอื่น ๆ อาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เป็นลม โรคหัวใจวายโรค หลอดเลือดสมองและผลข้างเคียงที่รุนแรงอื่น ๆ ได้ มีการรายงานว่า สารส้มขมนั้นอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวรุนแรง รวมทั้งปวดไมเกรน และปวดหัวแบบคลัสเตอร์ได้ (ปวดหัวเป็นชุด ๆ) สารส้มขมเป็นเหตุให้ผิวไวต่อแสงแดดมาก ควรทากันแดดเมื่อออกไปข้างนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีผิวที่บอบบาง แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับสารส้มขม
สารส้มขมอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ ในปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งาน
ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับสารส้มขมได้แก่:
- ยาสำหรับโรคซึมเศร้า
สารส้มขมนั้นประกอบไปด้วยสารเคมีที่กระตุ้นร่างกาย ยาบางชนิดที่มีไว้สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถไปกระตุ้นสารเคมีเหล่านี้ให้เพิ่มขึ้นได้ การใช้สารส้มขมกับยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงรวม ทั้งไปกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้เร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง อาการชัก ความเครียดและอื่น ๆ ยาบางประเภทใช้สารส้มขมรักษาโรคซึมเศร้า ได้แก่ ยาฟีเนลซีน (Nardil) ไทรนีลซิโพรมีน (Parnate) และอื่น ๆ
- มิดาโซแลม (Midazolam)
เมื่อร่างกายทำการย่อยยามิดาโซเลมหรือยานอนหลับนี้ สารส้มขมจะทำให้ความเร็วในการย่อยยานี้ลดลง การใช้สารส้มขมร่วมกับมดาโซแลมอาจเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
- คาเฟอีน
สารส้มขมเป็นสารกระตุ้น คาเฟอีนก็เป็นสารกระตุ้น เมื่อมารวมกันจึงทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดในสมองได้
- เด็กซ์โตรเมโธฟาน (Dextromethorphan) หรือโรบิทูสซิน ดีเอ็ม (Robitussin DM) และอื่น ๆ
เมื่อร่างกายทำการย่อยเด็กซ์โตรเมโธฟาน หรือโรบิทูสซิน ดีเอ็ม และอื่น ๆ ที่อยู่ในจำพวกยาแก้ไอเหล่านี้ สารส้มขมทำให้ความเร็วในการย่อยเด็กซ์โตรเมโธฟานลดลง การใช้สารส้มขมร่วมกับเด็กโตรเมโธฟานอาจเพิ่มผลกระทบ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
- ยาฟิโลดิปีน (Felodipine) หรือเพลนดิล (Plendil)
ฟิโลดิปีนหรือเพลนดิลใช้เพื่อลดความดันโลหิต เมื่อร่างกายทำการย่อยยาฟิโลดิปีน จะไปทำให้ความเร็วในการย่อยยาฟิโลดิปีนลดลง ดังนั้นการใช้สารส้มขมร่วมกับยาฟิโลดิปีน อาจไป เพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
- อินดิเนเวียร์ (Indinavir) หรือคริกซิวาน (Crixivan)
อินดิเนเวียร์ (Indinavir) หรือคริกซิวาน (Crixivan) เป็นยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี ใช้ในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือเอดส์ได้ เมื่อร่างกายทำการย่อยยาอินดิเนเวียร์ สารส้มขมจะทำให้ความเร็วในการย่อยอินดิเนเวียร์ลดลง ดังนั้นการใช้สารส้มขมร่วมกับยาอินดิเนเวียร์ อาจไปเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
- ยาชนิดที่ถูกเปลี่ยนได้โดยตับ
ยาบางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงและสลายได้โดยตับ สารส้มขมอาจลดความเร็วในการย่อยยาบางชนิดของตับ การใช้สารส้มขมร่วมกับยาบางชนิดที่ถูกย่อยสลายได้โดยตับนั้นจะไปเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้กับยาบางชนิด ดังนั้น ก่อนที่จะใช้สารส้มขม ควรปรึกษาผู้ให้คำแนะนำด้านสุขภาพก่อน และหากคุณรับประทานยาที่ถูกย่อยโดยตับร่วมด้วย
ยาบางชนิดที่เปลี่ยนโดยตับ ได้แก่ ไอโอวาสเตติน (lovastatin) หรือเมวาคอร์ (Mevacor); คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) หรือไนโซรอล (Nizoral); ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) หรือสปอรานอกซ์ (Sporanox); เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) หรืออัลเลอกรา (Allegra); ไทรอาโซแลม (Triazolam) หรือฮัลซิโอน (Halcion) และอื่น ๆ อีกมากมาย
- คิวที อินเทอร์วัล-โพรลองกิง (QT interval-prolonging)
สารส้มขมอาจเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ การใช้สารส้มขมร่วมกับยาที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงรวมทั้งภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ยาบางชนิดที่สามารถทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ได้แก่ อะมิโอดาโรน (Amiodarone) หรือคอร์ดาโรน (Cordarone); ไดโซพีราไมด์ (Disopyramide) หรือนอร์เพซ (Norpace); โดเฟทิลไลด์ (Dofetilide) หรือไตโคไซน์ (Tikosyn); อิบูทิไลด์ (Ibutilide) หรือคอร์เวิร์ท (Corvert); โพรไคนาไมด์ (Procainamide) หรือโพรเนสติล (Pronestyl); ควินิไดน์ (Quinidine); โซทาโลล (Sotalol) หรือ เบทาเพซ (Betapace); ไธโอริดาไซน์ (Thioridazine) หรือเมลลาริล (Mellaril) และอื่น ๆ อีกมากมาย
- ยากระตุ้น
ยากระตุ้นจะไปกระตุ้นระบบประสาท โดยการเร่งการทำงานของระบบประสาท ยากระตุ้นสามารถทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวายใจและเพิ่มความเร็วในการเต้นของหัวใจของคุณได้ นอกจากนี้ สารส้มขมยังอาจไปเพิ่มความเร็วในการทำงานของระบบประสาทอีก ดังนั้นการใช้ สารส้มขมร่วมกับยากระตุ้นอาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง เช่น ไปเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากระตุ้นพร้อมกับสารส้มขม
ยากระตุ้นบางชนิด ได้แก่ ไดเอธิลโพรไพออน (Diethylpropion) หรือเทนนูเอท (Tenuate); เอพิเนฟริน (Epinephrine) หรือเฟนเทอร์ไมน์ (Phentermine) หรือไอโอนามิน (Ionamin); ซูโดเอเฟดริน (Pseudoephedrine) หรือซูดาเฟด (Sudafed) และอื่น ๆ อีกมากมาย
ขนาดยา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง กรุณาปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
ปริมาณปกติสำหรับการใช้สารส้มขมอยู่ที่เท่าไร
ปริมาณต่อไปนี้ได้รับการศึกษาในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์:
ใช้กับผิวหนัง:
สำหรับใช้รักษาโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง: นำน้ำมันบริสุทธิ์ของสารสกัดจากสารส้มขมมาใช้วันละครั้ง เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์
ปริมาณสารสกัดจากสารส้มขมอาจแตกต่างในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และสภาพร่างกายอื่น ๆ สมุนไพรอาจจะไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์สำหรับปริมาณที่เหมาะสมของคุณ
สารส้มขมพบได้ในรูปแบบใดบ้าง
สารส้มขมอาจพบได้ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไปนี้:
- แคปซูลสารสกัดจากสารส้มขมเข้มข้น
*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด ***
[embed-health-tool-bmi]