backup og meta

ฮอร์สเชสนัท (Horse-Chestnut)

การใช้ประโยชน์

Horse-Chestnut ใช้ทำอะไร?

เมล็ด Horse-Chestnut และใบของมัน ได้รับการแนะนำว่าสามารถรักษาโรคได้แก่

  • หลอดเลือดดำขอด
  • ริดสีดวง
  • หลอดเลือดดำอักเสบ
  • ท้องเสีย
  • ไข้หวัด
  • โรคต่อมลูกหมากโต
  • ปัญหาการไหลเวียนของเลือดเรื้อรัง
  • โรคผิวหนังอักเสบ
  • ปวดประจำเดือน
  • อาการเนื้อเยื่ออ่อนบวมจากกระดูกหักและเคล็ด
  • อาการไอ
  • ภาวะข้อต่ออักเสบ
  • ปวดข้อ

นอกจากนี้ เปลือกกิ่งของ Horse-Chestnut ยังถูกนำมาใช้รักษาโรคมาเลเรีย โรคบิด บางรายนำมาทาลงบนผิวเพื่อรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือแผลเปื่อยต่างๆบนผิวหนัง

Horse-Chestnut อาจได้รับการสั่งยาสำหรับรักษาโรคอื่นๆ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

สรรพคุณของ Horse-Chestnut  

Horse-Chestnut มีสารเคมีที่ทำให้เลือดจางลง มันยังทำให้ของเหลวรั่วออกจากเส้นเลือดและหลอดเลือดฝอยยากขึ้นอีกด้วย และเป็นยาช่วยให้ร่างกายขับของเหลวออกทางปัสสาวะแบบอ่อนๆ ที่ช่วยป้องกันอาการบวมน้ำ

ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือขอคำแนะนำจากแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ Horse-Chestnut

ควรปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้า:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ รวมถึงยาที่กำลังใช้ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • มีอาการภูมิแพ้สารใด ๆ ใน Horse-Chestnut หรือยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีโรค ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มาก เพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

 

Horse-Chestnut มีความปลอดภัยเพียงใด:

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร:

การรับประทานเมล็ด เปลือก ดอก และใบสดๆ ไม่ปลอดภัย และอาจทำให้เสียชีวิตได้

ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอสำหรับความปลอดภัยในการใช้สารสกัดจาก Horse-Chestnut ในระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างการให้นมบุตร หากท่านกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ควรคำนึงถึงความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการนำมาใช้

การผ่าตัด:

Horse-Chestnut ทำให้เลือดเป็นลิ่มช้าลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการตกเลือดหากใช้ก่อนการผ่าตัด ผู้ที่ใช้ Horse-Chestnut ควรหยุดการใช้ก่อนกำหนดการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Horse-Chestnut  

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปคือ

  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ปวดศีรษะ
  • วงเวียน
  • อาการคัน

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้นหากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Horse-Chestnut  

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน

โรคและผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับ Horse-Chestnut ได้แก่:

ลิเธียม

Horse-Chestnut อาจมีฤทธิ์เหมือนยาขับปัสสาวะ การใช้ Horse-Chestnut อาจลดประสิทธิภาพของร่างกายในการกำจัดลิเธียม ซึ่งตามด้วยผลข้างเคียงร้ายแรง

ยารักษาโรคเบาหวาน

ทั้ง Horse-Chestnut และยารักษาโรคเบาหวาน ถูกนำมาใช้เพื่อให้ลดระดับน้ำตาลในเลือด การใช้ Horse-Chestnut ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง

ยารักษาโรคเบาหวานบางตัว ได้แก่ glimepiride (เช่น Amaryl), glyburide (เช่น DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (เช่น Actos), rosiglitazone (เช่น Avandia), chlorpropamide (เช่น Diabinese), glipizide (เช่น Glucotrol), tolbutamide (เช่น Orinase) และอื่นๆ

ยาต้านเกล็ดเลือด

Horse-Chestnut อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง การรับประทาน Horse-Chestnut ร่วมกับยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการช้ำ และเลือดออก

ตัวยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงได้แก่ aspirin, clopidogrel (เช่น Plavix), diclofenac (เช่น Voltaren, Cataflam และอื่นๆ), ibuprofen (Advil, Motrin และอื่นๆ), naproxen (Anaprox, Naprosyn และอื่นๆ), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (เช่น Lovenox), heparin, warfarin (เช่น Coumadin) และอื่นๆ

อาการเลือดออกผิดปกติ:

การใช้ Horse-Chestnut อาจเพิ่มความเสี่ยงในการช้ำเลือด และตกเลือดในหมู่คนที่มีอาการเลือดออกผิดปกติ

โรคเบาหวาน:

Horse-Chestnut อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ตรวจดูสัญญาณระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง

ปัญหาในระบบการย่อยอาหาร:

เมล็ดและเปลือกของ Horse-Chestnut อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร อย่าใช้มัน หากท่านมีโรคลำไส้หรือโรคกระเพาะ

โรคตับ:

มีรายงานว่า Horse-Chestnut ก่อความเสียหายต่อตับ

การแพ้ยางพารา:

ผู้ที่มีอาการแพ้ยางพาราอาจแพ้ Horse-Chestnut ได้เช่นกัน

โรคไต:

เชื่อว่า Horse-Chestnut อาจทำให้โรคไตแย่ลงได้

ปริมาณการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดในการใช้ Horse-Chestnut โดยทั่วไปคือเท่าไหร่?

สำหรับอาการการไหลเวียนเลือดต่ำ:

ขนาดการใช้ที่แนะนำคือสารสกัดจากเมล็ด Horse-Chestnut ขนาด 300 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน

แคปซูล Horse-Chestnut:

ขนาดการใช้ที่แนะนำคือ 1 แคปซูลทุกๆ 12 ชั่วโมง ก่อนอาหาร รับประทานยาร่วมกับน้ำแก้วหนึ่งเต็มๆ อย่านำไปบด เคี้ยว หัก หรือแกะแคปซูล ให้กลืนไปทั้งแคปซูล

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

Horse-Chestnut มีจำหน่ายในรูปแบบใด:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • Horse-Chestnut ชนิดแคปซูล
  • สารสกัดจากเมล็ด Horse-Chestnut

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด

 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Horse-Chestnut. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1055-horse%20chestnut.aspx?activeingredientid=1055&activeingredientname=horse%20chestnut. Accessed December 02, 2016.

Horse-Chestnut. http://www.herbwisdom.com/herb-horse-chestnut.html. Accessed December 02, 2016.

Horse-Chestnut. http://www.everydayhealth.com/drugs/horse-chestnut. Accessed September 02, 2016.

Horse-Chestnut. https://nccih.nih.gov/health/horsechestnut. Accessed December 02, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/09/2019

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/09/2019

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา