backup og meta

เบลลาดอนนา (Belladonna)

การนำไปใช้

Belladonna นั้นถูกนำไปใช้เพื่ออะไรได้บ้าง?

Belladonna เป็นพืชชนิดหนึ่ง ใบและรากของมันถูกนำมาใช้ในการทำยา

แม้จะเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าไม่ปลอดภัย Belladonna ถูกใช้เป็นยาระงับประสาท เพื่อหยุดยั้งอาการหลอดลมหดเกร็งในโรคหืด และโรคไอกรน และเป็นยารักษาไข้หวัด และไข้ละอองฟาง มันยังถูกใช้สำหรับโรคพาร์กินสัน โรคโคลิค ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว และใช้เป็นยาระงับอาการปวด

Belladonna ถูกใช้ทำเป็นขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาลงบนผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดขาที่เกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท อาการปวดเส้นประสาท Belladonna ยังถูกใช้ในแผ่นพลาสเตอร์ที่ใช้รักษาผู้มีความผิดปกติทางจิต หรือความผิดปกติที่เรียกว่า hyperkinesis หรืออาการอยู่ไม่สุข ภาวะหลั่งเหงื่อมาก และโรคหืดหลอดลม

เกี่ยวกับทางทวารหนัก Belladonna ถูกใช้เป็นยาเหน็บสำหรับโรคริดสีดวงทวาร

 

มันทำงานอย่างไร?

การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของ Belladonna ยังไม่เพียงพอนัก โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่า Belladonna มีสารเคมีที่สามารถกีดขวางการทำงานของระบบประสาทร่างกายได้ การทำงานของร่างกายบางอย่างที่ควบคุมโดยระบบประสาท รวมถึง การหลั่งน้ำลาย การหลั่งเหงื่อ ขนาดของรูม่านตา การปัสสาวะ ระบบย่อยอาหาร และอื่นๆ

ข้อควรระวัง และคำเตือน

อะไรที่คุณควรรู้ก่อนที่จะใช้ Belladonna?

ปรึกษาแพทย์ หรือนักสมุนไพรของท่าน ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร เพราะระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรนั้น ควรรับประทานยาที่ได้รับการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ ซึ่งรวมถึงยาชนิดใดก็ตามที่คุณใช้อยู่ ที่หาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์
  • หากคุณมีอาการแพ้ Belladonna หรือตัวยาอื่น หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณมีอาการแพ้ประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์ต่างๆ

กฎหมายควบคุมสมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ากฎหมายควบคุมยา จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินความปลอดภัยก่อนการนำไปใช้ ซึ่งจะต้องแน่ใจว่าประโยชน์ของสมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้นั้นมีมากกว่าอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่านเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

การใช้ Belladonna นั้นปลอดภัยแค่ไหน?

Belladonna ดูจะไม่ปลอดภัยสำหรับการรับประทาน เพราะมันมีสารเคมีที่อาจเป็นพิษได้

ข้อควรระวังเป็นพิเศษ และคำเตือน

สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และกำลังให้นมบุตร: Belladonna ดูจะไม่ปลอดภัยสำหรับการรับประทานในระหว่างการตั้งครรภ์ Belladonna มีสารเคมีที่อาจเป็นพิษที่เกี่ยวเนื่องกับผลข้างเคียงหลายอย่าง Belladonna ไม่ปลอดภัยสำหรับการนำมาใช้ในระหว่างการให้นมบุตรอีกด้วย มันสามารถลดการผลิตน้ำนม และยังแทรกซึมไปในน้ำนมได้ด้วย

ภาวะหัวใจวาย: Belladonna อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และทำให้อาการภาวะหัวใจวายแย่ลง

อาการท้องผูก: Belladonna อาจทำให้อาการท้องผูกแย่ลง

ดาวน์ซินโดรม: คนที่เป็นดาวน์ซินโดรมอาจไวต่อสารเคมีที่เป็นพิษใน Belladonna และฤทธิ์ที่เป็นอันตรายของมันมากเป็นพิเศษ

อาการกรดไหลย้อน: Belladonna อาจทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง

ไข้หวัด: Belladonna อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการตัวร้อนสูงผิดปกติในผู้ป่วยโรคไข้หวัด

แผลในกระเพาะอาหาร: Belladonna อาจทำให้แผลในกระเพาะอาหารแย่ลง

อาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร: Belladonna อาจทำให้การระบายลำไส้ช้าลง ทำให้เกิดการสะสมแบคทีเรียและไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

ภาวะอุดตันของทางเดินอาหาร: Belladonna อาจทำให้โรคระบบทางเดินอาหาร (รวมถึงการขาดความตึงตัว ภาวะลำไส้อืด การตีบของลำไส้) แย่ลง

ไส้เลื่อนกระบังลม: Belladonna อาจทำให้อาการไล้เลื่อนกระบังลมแย่ลงได้

ความดันโลหิตสูง: การบริโภค Belladonna ในปริมาณมากสามารถเพิ่มความดันเลือดได้ ซึ่งอาจทำให้ความดันโลหิตสูงเกินไป ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง

โรคต้อหินชนิดมุมปิด: Belladonna อาจทำให้โรคต้อหินชนิดมุมปิดแย่ลงได้

โรคจิตเภท: การบริโภค Belladonna ในปริมาณมากอาจทำให้อาการของโรคจิตเภทแย่ลง

ภาวะหัวใจเต้นเร็ว: Belladonna อาจทำให้ภาวะหัวใจเต้นเร็วแย่ลงได้

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง: Belladonna อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง

อาการถ่ายปัสสาวะยาก: Belladonna อาจทำให้อาการถ่ายปัสสาวะยากแย่ลง

ผลข้างเคียง

มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้างที่อาจได้รับจาก Belladonna?

ผลข้างเคียงต่างๆรวมถึง อาการปากแห้ง รูม่านตาขยายใหญ่ ตาพร่า ผิวแห้งและแดง ไข้ขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะหรือหลั่งเหงื่อได้ เกิดภาพหลอน กล้ามเนื้อกระตุก ปัญหาทางจิต อาการชัก และไม่รู้สึกตัว

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีความกังวลใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่าน

รู้ถึงปฏิกิริยาต่างๆ

Belladonna อาจทำปฏิกิริยาอย่างไรกับฉันบ้าง?

Belladonna อาจมีปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือสภาพทางการแพทย์ของคุณ ปรึกษาแพทย์ของท่าน ก่อนการนำไปใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับ Belladonna ได้แก่

  • กลุ่มยารักษาหอบหืด

Belladonna มีสารเคมีที่ทำให้เกิดการแห้ง และยังมีผลต่อสมองและหัวใจ กลุ่มตัวยาที่ทำให้เกิดอาการแห้งอย่างยารักษาหอบหืดก็สามารถส่งผลกระทบแบบเดียวกัน

การใช้ Belladonna ร่วมกับตัวยาที่ทำให้เกิดการแห้งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ที่รวมถึงอาการผิวแห้ง มึนงง ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว และผลกระทบร้ายแรงอื่นๆ

ตัวยาที่ทำให้เกิดอาการแห้งบางตัว ได้แก่ atropine, scopolamine ยาแก้แพ้ และยารักษาอาการซึมเศร้า

ขนาดใช้ยา

ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดแพทย์ของท่านก่อนการนำยาตัวนี้ไปใช้เสมอ

ขนาดในการใช้ Belladonna โดยทั่วไปคือเท่าไหร่?

ขนาดในการนำ Belladonna ไปใช้นั้นอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งขนาดการใช้นั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่นๆอีกมากมายสมุนไพรเสริมอาหารนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดขอคำปรึกษาจากนักสมุนไพร หรือแพทย์ของท่าน สำหรับขนาดในการใช้ยาที่เหมาะสม

พบ Belladonna ในรูปแบบใดได้บ้าง?

Belladonna อาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • Belladonna สกัดเหลว
  • สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวิเคราะห์โรค หรือการรักษา

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Belladonna http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-531-belladonna.aspx?activeingredientid=531&activeingredientname=belladonna Accessed September 6, 2017

Belladonna https://medlineplus.gov/druginfo/natural/531.html Accessed September 6, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/12/2017

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะก่องข้าว สมุนไพรพื้นบ้านมากคุณประโยชน์

หน่อไม้ (Bamboo shoots)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 06/12/2017

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา