สรรพคุณของแพงพวยฝรั่ง
แพงพวยฝรั่งเป็นพืชล้มลุก ส่วนที่โตเหนือพื้นดินใช้ทำยา แม้ความกังวลด้านความปลอดภัยจะมีอยู่มาก แต่แพงพวยฝรั่งอาจใช้รักษา:
- โรคเบาหวาน
- มะเร็ง
- เจ็บคอ
นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาแก้ไอ รักษาอาการแน่นในปอด เป็นยาขับปัสสาวะ
แพงพวยฝรั่งอาจใช้โดยตรงกับผิวเพื่อ:
- ห้ามเลือด
- ลดอาการแมลงกัดต่อย และการระคายเคืองดวงตา
- รักษาอาการติดเชื้อและบวม อักเสบ
กลไกการออกฤทธิ์
ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แพงพวยฝรั่งไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า แพงพวยฝรั่งอาจมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ขับปัสสาวะ และลดระดับน้ำตาลในเลือด แพงพวยฝรั่งมีสารเคมีวินบลาสไทน์ (Vinblastine) และผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) เพื่อใช้ในการเคมีบำบัด สารเคมีเหล่านี้ใช้กับโรคมะเร็งเช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Disease) มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งต่อมไทรอยด์ วามผิดปกติในโครโมโซมของเซลล์และโรคมะเร็งไตในเด็กหรือโรคเนื้องอกวิมส์ (Wilm’s Tumor)
ข้อควรระวังและคำเตือน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้แพงพวยฝรั่ง
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
- ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
- มีอาการแพ้สารในแพงพวยฝรั่ง ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
- มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแพงพวยฝรั่งนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
แพงพวยฝรั่งปลอดภัยหรือไม่
การบริโภคแพงพวยฝรั่งนั้นเป็นอันตรายเนื่องจากมีสารเคมีที่เป็นพิษที่เรียกว่าวินกา อัลคาลอยดส์ (Vinca Alkaloids) ส่วนเรื่องความปลอดภัยในการใช้แพงพวยฝรั่งทากับผิวหนังนั้นยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ
ข้อควรระวังและคำเตือน
ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: แพงพวยฝรั่งเป็นอันตรายหากใช้ในช่วงตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดหรือความบกพร่องของทารก นอกจากนี้ การใช้แพงพวยฝรั่งยังเป็นอันตรายหากอยู่ในช่วงให้นมบุตรเนื่องจากแพงพวยฝรั่งมีสารเคมีที่เป็นพิษ
โรคเบาหวาน: แพงพวยฝรั่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ อาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงเมื่อใช้ในคนที่เป็นเบาหวาน ทั้งนี้ อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดยาที่กำลังใช้รักษาโรคเบาหวานอยู่ร่วมด้วย
การผ่าตัด: แพงพวยฝรั่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แพทย์อาจกังวลว่า แพงพวยฝรั่งอาจแทรกแซงการควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างและหลังผ่าตัด ควรหยุดใช้แพงพวยฝรั่งอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้แพงพวยฝรั่ง:
แพงพวยฝรั่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง สูญเสียการได้ยิน เวียนศีรษะ เลือดออกปัญหาเส้นประสาท ชัก ตับเสียหาย น้ำตาลในเลือดต่ำ และถึงแก่ความตาย
ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณ
ปฏิกิริยาระหว่างยา
แพงพวยฝรั่งอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้
ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างแพงพวยฝรั่ง ได้แก่
- ลิเธียม
แพงพวยฝรั่งอาจมีปฏิกิริยากับ ยาขับปัสสาวะ ลดขนาดของลิเทียมที่ร่างกายได้รับ ยิ่งได้รับแพงพวยฝรั่ง เพิ่มขึ้นเท่าใด ยิ่งส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ปรึกษากับผู้ดูแลสุขภาพของคุณก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นี้ ขนาดยาลิเธียมของคุณอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง
- ยาต้านโรคเบาหวาน
แพงพวยฝรั่งอาจลดน้ำตาลในเลือด โรคเบาหวานยังใช้ในการลดน้ำตาลในเลือด การบริโภคแพงพวยฝรั่งพร้อมกับยาเบาหวานอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของคุณต่ำลง ตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างใกล้ชิด อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนาดยารักษาโรคเบาหวานได้
ยาบางชนิดที่ใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวาน ได้แก่ กริมเมอพิไรด์ (Glimepiride) หรืออะมาริล (Amaryl), ไกลบูไรด์ (Glyburide) หรือ ไดอะเบตา (DiaBeta) หรือไกลเนส เพรสแทป (Glynase PresTab) หรือไมโครเนส (Micronase), อินซูลิน, ไพโอกลิทาโซน (Gioglitazone) หรือแอคโทส (Actos), โรซิกลิตาโซน (Rosiglitazone) หรืออะวานเดีย (Avandia), โคลพรอพพาไมด์ (Chlorpropamide) หรือไดอะบีนีส (Diabinese), กลิพิไซด์ (Glipizide) หรือกลูโคโทรล (Glucotrol), โทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) หรือโอริเนส (Orinase) และอื่น ๆ
ขนาดยา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรห่อนใช้ยา
ขนาดปกติในการใช้แพงพวยฝรั่งอยู่ที่เท่าใด: ขนาดในการใช้แพงพวยฝรั่งแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้สมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้ชำนาญด้านสมุนไพรเพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม
พบแพงพวยฝรั่งในรูปแบบใดบ้าง
แพงพวยฝรั่งอาจพบในรูปแบบต่อไปนี้:
- แพงพวยฝรั่งดิบ
*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***
[embed-health-tool-bmi]