backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ใบบัวบก (Gotu-Kola)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/10/2018

การใช้ประโยชน์

ใบบัวบก หรือ GotuKola ใช้ทำอะไร

ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับอาการดังต่อไปนี้ รวมถึง

  • การรักษาโรคจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือการติดเชื้อปรสิต เช่นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) โรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิวาตกโรค โรคบิด ซิฟิลิส ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดสายพันธ์ H1N1 โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคพยาธิใบไม้ในเลือด
  • บรรเทาความเหนื่อยล้า ความกังวล ความเศร้าซึม โรคทางจิตเวช โรคอัลไซเมอร์ และการปรับปรุงความจำ และความสามารถในการคิดและเรียนรู้
  • สำหรับการรักษาบาดแผล การบาดเจ็บ และปัญหาการไหลเวียนโลหิต (ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่อง) รวมถึงเส้นเลือดขอด และการแข็งตัวของเลือดที่ขา
  • สำหรับโรคลมแดด ภาวะต่อมทอลซิลอักเสบ ของเหลวรอบๆ ปอด (เยื่อหุ้มปอดอักเสบ) โรคไต (ไวรัสตับอักเสบ) ดีซ่าน โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ปวดท้อง ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร โรคลมบ้าหมู โรคหืด ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวาน และเพื่อช่วยให้มีชีวิตยาวขึ้น
  • ป้องกันการตั้งครรภ์ ภาวะหมดประจำเดือน และกระตุ้นความต้องการทางเพศ
  • ลดแผลเป็น รวมถึงการยืดของแผลเนื่องจากการตั้งครรภ์

ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola อาจถูกจ่ายยาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

มันทำงานอย่างไร

ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola มีสารเคมีที่ลดการอักเสบและความดันโลหิตในหลอดเลือดดำ  ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola ยังเพิ่มการผลิตคอลาเจน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการรักษาแผล

ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ใบบัวบก หรือ GotuKola:

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจาก ในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากใบบัวบก หรือ Gotu-Kola หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • ท่านที่มีอาการป่วยอื่น มีความผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์ เช่น
    • โรคตับ : กังวลว่าใบบัวบก หรือ Gotu-Kola อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับ ผู้ป่วยที่มีโรคตับ เช่น โรคตับอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola มันอาจทำให้ปัญหาของตับแย่ลง
    • ทีมาของรอยแผลที่เกิดก่อนเป็นมะเร็ง หรือเกิดจากมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง หรือมะเร็วผิวหนังเมลาโนมา
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จำเป็นต้องมีการศีกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัย คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola ปลอดภัยแค่ไหน

เด็ก

ไม่แนะนำใบบัวบก หรือ Gotu-Kola สำหรับเด็ก

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola ระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรอยู่บนความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการใช้งาน

ผู้สูงอายุ

ท่านที่อายุมากกว่า 65 ปี ควรใช้ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola ในปริมาณต่ำกว่า

การผ่าตัด:

ใบบัวบก หรือ Gotu- Kola อาจเป็นเหตุให้ง่วงซึม หากใช้ร่วมกับกับยารักษาโรคระหว่า และหลังการผ่าตัด หยุดใช้ใบบัวบก หรือ Gotu- Kola อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนทำการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola มีอะไรบ้าง:

ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola อาจทำให้เกิดเช่น:

  • โรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง
  • ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง
  • ปวดศีรษะ
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • อาการคลื่นไส้
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • อาการง่วงซึม
  • ใช่ว่าทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจจะมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ถ้าหากมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา

    ปฏิกิริยาต่อยา

    ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับใบบัวบก หรือ Gotu-Kola มีอะไรบ้าง:

    ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola อาจมีผลกับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือมีผลกับภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ปรึกษากับแพทย์สมุนไพรแผนโบราณหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้งาน

    ภาวะทางสุขภาพหรือยารักษาโรคเหล่านี้อาจรวมถึง

    ยาที่มีผลต่อตับ :

    ใบบัวบก หรือ GotuKola มีสารซึ่งอาจทำร้ายตับ และหากได้รับพร้อมกับยาอื่นอาจเป็นอันตรายต่อตับ ก่อให้เกิดการทำลายตับ

    ยาลดไขมันในเลือด (รวมถึง statins)

    จากการศึกษาจากสัตว์ ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola เพิ่มระดับไขมันในเลือด มันอาจเพิ่มระดับไขมันในเลือดในมนุษย์ แม้ว่าไม่ได้ทำการศึกษา

    ยารักษาเบาหวาน

    จากการศึกษาจากสัตว์ ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด  ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรใช้ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola โดยปราศจากการปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา

     

     

     

    ยาขับปัสสาวะ (ยาน้ำ)

    ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola ทำหน้าที่เหมือนยาขับปัสสาวะ มันช่วยให้ร่างกายกำจัดของเหลวส่วนเกิน การทานยาขับปัสสาวะ และใบบัวบก หรือ Gotu-Kola อาจเป็นเหตุให้ร่างกายสูญเสียของเหลวมากเกินไป สูญเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลท์ที่ร่างกายต้องการ เป็นความจริงที่ว่าทานใบบัวบก หรือ Gotu-Kola กับสมุนไพรที่มีผลขับปัสสาวะ เช่น ชาเขียว พืชตระกูลแอสตรากาลัส หรือใบแปะก๊วย

    ยาระงับประสาท

    เนื่องจากใบบัวบก หรือ Gotu-Kola ทำหน้าที่เหมือนยาระงับประสาท มันอาจทำให้ยาบางตัวที่ทานเพื่อความกังวล หรือโรคนอนไม่หลับแรงขึ้น เช่นเดียวกันกับสมุนไพรที่ทานเพื่อความกังวล หรือโรคนอนไม่หลับ เช่น  วาเลอเรียน (Valerian)

    ปริมาณการใช้:

    ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้ยาชนิดนี้เสมอ

    ปริมาณปกติของการใช้ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola อยู่ที่เท่าไหร่:

    • สมุนไพรอบแห้ง อาจทำเป็นชาจากใบอบแห้ง วันละ 3 ครั้ง
    • สมุนไพรแบบผงแป้ง บรรจุในแคปซูล
    • ทิงเจอร์ (1:2 w/v แอลกอฮอล 30%) 30 ถึง 60 หยด (เทียบเท่า 1.5 ถึง 3 มิลิลิตร : 5 มิลิลิตรใน 1 ช้อนโต๊ะ) วันละ 3 ครั้ง
    • Standardized extract: 50 to 250 mg, 2 to 3 times daily.
    • สารสกัดมาตรฐาน : 50 ถึง 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง

    ปริมาณสำหรับสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และสภาพทางการแพทย์อื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

    ใบบัวบก หรือ Gotu-Kola มีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง:

    • สมุนไพรอบแห้ง
    • ผงแป้ง
    • ทิงเจอร์
    • สารสกัด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์, การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/10/2018

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา