backup og meta

ทำความรู้จัก โรคไซโคพาธ ไม่รีบรักษาเสี่ยงเป็นฆาตกรต่อเนื่องไม่รู้ตัว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ทำความรู้จัก โรคไซโคพาธ  ไม่รีบรักษาเสี่ยงเป็นฆาตกรต่อเนื่องไม่รู้ตัว

    นายสมคิด พุ่มพวง ฉายา แจ๊ค เดอะริปเปอร์เมืองไทย ฆาตกรต่อเนื่อง 6 ศพ  ที่ต่างสร้างความสะเทือนใจให้คนในสังคมไทย โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พฤติกรรมการฆ่าต่อเนื่องดังกล่าวนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ซึ่งเรียกว่า โรคไซโคพาธ (Psychopaths) มีลักษณะเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ขาดความเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น  วันนี้ Hello คุณหมอพามาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างระเอียด รู้ก่อนป้องกันไว้ก่อนสายเกินแก้กันนะคะ

    ทำความรู้จัก โรคไซโคพาธ โรคบุคลิกภาพผิดปกติ

    โรคไซโคพาธ(Psychopaths) หรือ โรคบุคลิกภาพผิดปกติ เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) โดยมีลักษณะความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นหนึ่งในภาวะที่รักษาได้ยาก มักไม่ร่วมมือกับการรักษาการทำจิตบำบัดจึงได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย

    ลักษณะอาการที่แสดงออกต่อสังคม

    • จิตใจแข็งกระด้าง ขาดความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
    • ขาดความยับยั้งชั่งใจ มีความผิดปกติทางอารมณ์
    • เอาแต่ใจตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง
    • โมโหบ่อย หงุดหงิดง่าย ชอบใช้ความรุนแรง
    • เมื่อต้องเข้าสังคมมักทําความรุนแรงซ้ำๆ และก่อให้เกิดอาชญากรรม
    • พฤติกรรมก้าวร้าว ขาดความสำนึกผิด ชอบชั่วดี

     สาเหตุของ โรคไซโคพาธ 

    ด้านร่างกาย

    • มีความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะส่วนหน้า-ส่วนอะมิกดะลา
    • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
    • อุบัติเหตุทางสมอง พันธุกรรม

    ด้านจิตใจและสังคม

    • ถูกกระทําทารุณกรรมในวัยเด็ก 
    • ครอบครัวเลี้ยงดูแบบละเลยเพิกเฉย
    • อาชญากรรม ในครอบครัว
    • ความแตกแยกในครอบครัว
    • เติบโตมาในสภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้ายทารุญ

    การรักษา

    • การรักษาด้วยยามีประโยชน์ในการรักษาโรคทางจิตเวชที่เกิดร่วมกับไซโคพาธ
    • ให้ความรักความเอาใจ สอนให้รู้จักถึงสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ผิด
    • ปรับพฤติกรรมเน้นการพัฒนาสิ่งที่สนใจในแง่ดี และการให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมดี
    • การลงโทษมักไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เนื่องจากอาการด้านชาทางอารมณ์

    จากข้อมูลดังกล่าวหากคุณรู้สึกว่าตัวเองมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคไซโคพาธ หรือ คนรอบของคุณมีพฤติกรรมการแสดงออกคล้ายโรคดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยโรคทำการรักษาก่อนที่คุณอาจจะกลายเป็นฆาตกรตต่อเนื่องโดยไม่รู้ตัว

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา