backup og meta

เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ

เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ
เช็กอาการ PTSD หลังแผ่นดินไหว และวิธีการรับมือ

แผ่นดินไหว คือภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน โดยเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นหินและดิน ซึ่งอาจมีตั้งแต่การสั่นสะเทือนระดับเบาไปจนถึงรุนแรง และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนนหรือตึก และอาจส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเกิดความวิตกกังวลหรือภาวะ PTSD ได้หลังจากนั้น

[embed-health-tool-bmi]

PTSD ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว

PTSD (Post-traumatic stress disorder) คือ ความผิดปกติของสภาพจิตใจที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์รุนแรง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม 

โดยปกติแล้ว คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงอาจจะปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ในช่วงสั้น ๆ ได้ยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการก็มักจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นแม้เวลาจะผ่านไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะถือว่าคนนั้นมีอาการ PTSD

ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว 7.7 ริกเตอร์ที่เมียนมาร์ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงประเทศโดยรอบ รวมไปถึงประเทศไทย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก

ทั้งคนที่อยู่ในเหตุการณ์ คนใกล้เคียง หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับรู้ผ่านทางข่าวจากช่องทางต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิด PTSD จากเหตุการณ์นี้ได้ทั้งสิ้น 

การเข้ารับการรักษาหลังจากมีอาการ PTSD เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือและจัดการกับสภาพจิตใจให้ดียิ่งขึ้นได้

อาการ PTSD

อาการ PTSD มักจะปรากฏภายในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรง แต่บางคนอาจมีอาการหลังจากนั้นหลายปีก็ได้เช่นกัน 

อาการของ PTSD ที่พบได้ มีดังนี้

  • มองเห็นเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ อาจเป็นได้ทั้งภาพหลอน ฝันร้าย หรือภาพ flashback ทำให้เกิดความวิตกกังวล รู้สึกเหมือนกำลังติดอยู่ในสถานการณ์เดิมซ้ำ ๆ
  • พยายามหลีกเลี่ยงและกลัว บางคนอาจพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือทำให้นึกถึงเหตุการณ์รุนแรง เช่น คนที่กลัวตึกถล่มจากแผ่นดินไหวอาจจะหลีกเลี่ยงการเข้าไปในตึกสูง
  • ตื่นตัวมากเกินไป บางคนอาจจะวิตกกังวลและคอยสังเกตสิ่งรอบข้างอยู่ตลอดเวลา ทำให้อาจมีอาการหงุดหงิด ไม่มีสมาธิ หรือระเบิดอารมณ์ออกมารุนแรง
  • ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ เครียด ซึมเศร้า ปวดหัว เจ็บหน้าอก รวมไปถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดได้

นอกจากนี้ เด็กและวัยรุ่นก็อาจจะมีอาการที่แตกต่างออกไป 

สำหรับเด็กเล็ก

  • อาจมีปัญหาฉี่รดที่นอน
  • อารมณ์ก้าวร้าว รุนแรง
  • ลืมวิธีการพูด อยู่ ๆ ก็พูดไม่ได้
  • ยึดติดกับคนรอบข้างมากกว่าเดิม

สำหรับวัยรุ่น นอกเหนือจากอาการทั่วไปที่คล้ายกับวัยผู้ใหญ่แล้ว บางคนอาจจะเริ่มแสดงพฤติกรรมต่อต้าน ก่อกวน ไม่เชื่อใจ หรือมีพฤติกรรมรุนแรงขึ้นได้เช่นกัน

การรับมือกับอาการ PTSD จากแผ่นดินไหว

แนวทางในการรับมือกับอาการ PTSD ที่เกิดขึ้น มีดังนี้

  • ประเมินอาการตัวเอง ลองสังเกตอาการของตัวเองว่ามีรูปแบบและลักษณะแบบไหน รุนแรงแค่ไหน มีอะไรเป็นสิ่งกระตุ้น และอาการดีขึ้นไหมเมื่อเวลาผ่านไป
  • ดูแลสุขภาพของตัวเอง หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำร้ายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอร์ฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด และหันมาใช้เวลาเพื่อพักผ่อนและผ่อนคลายให้มากขึ้น
  • หากอาการยังไม่มีขึ้น ควรเข้าพูดคุยและปรึกษากับจิตแพทย์ เพื่อจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ปรับความคิด และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวได้ นอกจากนี้ จิตแพทย์จะสามารถประเมินได้ว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมหรือใช้ยาหรือไม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Post-traumatic stress disorder (PTSD). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/post-traumatic-stress-disorder/symptoms-causes/syc-20355967

Symptoms – Post-traumatic stress disorder. https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/post-traumatic-stress-disorder-ptsd/symptoms/

รู้และเข้าใจ โรค PTSD. https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/204

PTSD risk factors in earthquake survivors and their families: a systematic review. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9518033/

Post-Traumatic Stress Disorder. https://www.nimh.nih.gov/health/publications/post-traumatic-stress-disorder-ptsd

Treatment – Post-traumatic stress disorder. https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/post-traumatic-stress-disorder-ptsd/treatment/

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/03/2025

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

PTSD คือ โรคเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง ภาวะสุขภาพจิตที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด เมื่ื่อวาน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา