backup og meta

โรคกลัวผู้ชาย มีอาการอย่างไรถึงเข้าขั้นป่วย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

    โรคกลัวผู้ชาย มีอาการอย่างไรถึงเข้าขั้นป่วย

    โรคกลัวผู้ชาย เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นผู้หญิง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล หรือรู้สึกโดนคุกคามเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม หากมีอาการมากในระดับรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคมได้

    โรคกลัวผู้ชาย คืออะไร

    โรคกลัวผู้ชาย (Androphobia) เกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย แต่ส่วนใหญ่จะพบในวัยรุ่นเพศหญิง โดยสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ผู้ป่วยจะหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับเพศชาย หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นไม่กล้าพูดคุยกับผู้ชายเลย

    สาเหตุของโรคกลัวผู้ชาย

    โรคกลัวผู้ชายเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากประสบการณ์เลวร้ายที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยความกลัวขณะนั้นจะถูกบันทึกไว้ที่ ต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Hypothalamus) ทำให้รู้สึกถึงอาการกลัวอยู่ซ้ำ ๆ จนกลายเป็นความกลัวที่แสดงออกมา

    อย่างไรก็ตามโรคกลัวผู้ชายอาจมีสาเหตุมาจากการเห็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวจากสื่อต่าง ๆ เช่น ข่าวการข่มขืน การทำร้ายร่างกาย หรือฉากรุนแรงในละคร

    อาการโรคกลัวผู้ชาย

    โรคกลัวผู้ชายมีลักษณะอาการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาการที่แสดงออกทางร่างกาย และอาการที่แสดงออกทางพฤติกรรม ดังนี้

     อาการที่แสดงออกทางร่างกาย

    อาการที่แสดงออกทางพฤติกรรม

  • วิตกกังวล
  • รู้สึกสูญเสียความเป็นตัวเอง ประหม่า
  • รู้สึกอับอาย
  • รู้สึกกลัวขึ้นมาทันทีแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกเหมือนตัวเองโดนคุกคาม
  • วิธีรักษาโรคกลัวผู้ชาย

    โรคกลัวผู้ชายสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยวิธีดังนี้

    • วิธีรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด หรือที่เรียกว่า บำบัดโดยใช้เทคนิคการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Graded Exposure Therapy) วิธีนี้จิตแพทย์จะให้ผู้ป่วยเรียนรู้กับสิ่งที่ทำให้กลัวกลัว โดยการเผชิญหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนผู้ป่วยเริ่มเกิดความคุ้นชิน
    • วิธีการสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy) วิธีนี้จะรักษาโดยการโน้มน้าวใจผู้ป่วยให้ทบทวนความกลัวที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง และแนะนำวิธีการกำจัดความกลัวนั้นอย่างถูกต้อง

    หากผู้ป่วยรักษาด้วย 2 วิธีข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น คุณหมออาจให้สั่งยารับประทานร่วมด้วย แต่การบำบัดรักษาโรคนี้ด้วยยาอาจเป็นทางเลือกสุดท้ายที่คุณหมอเลือกใช้ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยในระยะยาวได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา