backup og meta

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia Nervosa)

รู้เรื่องเบื้องต้นอาการสาเหตุรู้จักปัจจัยเสี่ยงการวินิจฉัยและการรักษาการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

รู้เรื่องเบื้องต้น

โรคอะนอเร็กเซียคืออะไร

โรคอะนอเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) หรือ โรคคลั่งผอม หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับอายุและส่วนสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคผิดปกติทางอารมณ์นี้มักกลัวอย่างมากว่าน้ำหนักจะขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้วน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมีความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ป่วยโรคนี้จึงอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้ยาระบาย ล้วงคอเพื่อให้อาเจียน เพื่อลดน้ำหนัก

พบได้บ่อยแค่ไหน

โรคอะนอเร็กเซียพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคนี้มักเริ่มในกลุ่มเด็กก่อนวัยรุ่นเรื่อยไปจนถึงผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุของน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคอะนอร์เร็กเซีย

อาการของโรคอะนอร์เร็กเซียที่พบบ่อย ได้แก่

  • กลัวน้ำหนักขึ้น หรือกลัวอ้วนมากเป็นพิเศษ แม้ว่าน้ำหนักตัวอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์
  • ล้วงคอเพื่ออาเจียน
  • ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายเพื่อขับถ่าย
  • กินยาลดความอ้วน
  • กินน้อยหรือไม่กินอะไรเลย
  • ออกกำลังกายมาก แม้ในช่วงอากาศไม่ดี หรือมีอาการบาดเจ็บหรือเหนื่อยล้า
  • คำนวณแคลอรี่ และวัดปริมาณอาหาร

โรคอะนอเร็กเซียส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้ป่วย กล่าวคือ ทำให้ผู้ป่วยไม่เป็นตัวเอง มักพูดถึงแต่น้ำหนักและอาหารตลอดเวลา และไม่รับประทานอาหารต่อหน้าผู้อื่น อารมณ์เสียหรือเศร้าง่าย หรือไม่ต้องการเข้าสังคม ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการทางจิตหรือโรคทางร่างกายต่างๆ ดังนี้

  • ซึมเศร้า
  • วิตกจริต
  • ปากแห้ง
  • มีปัญหาทางระบบหัวใจและหรือสมอง
  • ทนหนาวไม่ได้

และยังมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ หากคุณกังวลเกี่ยวกับอาการอื่น ควรปรึกษาแพทย์

ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไร

หากคุณมีอาการหรือสัญญาณข้างต้นหรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ โรคคลั่งผอม หรือ อะนอเร็กเซีย เป็นโรคที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ เมื่อน้ำหนักของร่างกายอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป ผู้ป่วยโรคนี้มักปฏิเสธการรักษา เนื่องจากคิดว่าไม่ได้เป็นปัญหา วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้คือ เป็นกำลังใจ และพยายามโน้มน้าวให้ผู้ป่วยเห็นว่าตัวเองมีปัญหา และต้องการการดูแลรักษาทางการแพทย์

สาเหตุ

สาเหตุของโรคอะนอเร็กเซีย

รู้จักปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรค

อะนอเร็กเซีย

โรคอะนอเร็กเซียเกิดได้จากปัจจัยหลายประการ เช่น

  • ประวัติทางครอบครัว หากมีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับการกิน คุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอะนอร์เร็กเซียได้ด้วยเช่นกัน
  • ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ผู้ป่วยโรคอะนอเร็กเซียบางคนอาจไม่ชื่นชมตนเอง ไม่ชอบรูปร่างหรือรู้สึกหมดหวัง ผู้ป่วยมักตั้งเป้าหมายไว้สูงเพื่อทำให้ตัวเองสมบูรณ์แบบ
  • การเปลี่ยนแปลงในชีวิตหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ

    เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ (เช่น การข่มขืน) รวมถึงสถานการ์ตึงเครียดต่างๆ (เช่น การเริ่มต้นงานใหม่) สามารถนำไปสู่การเป็นโรคอะนอร์เร็กเซียได้

  • อิทธิพลจากสื่อ ภาพจากโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆที่นำเสนอรูปร่างที่ผอมบาง และให้คุณค่ากับรูปร่างแบบนี้ว่าสวยงามและจะประสบความสำเร็จ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคได้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้แทนการปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาหมอเพื่อรับคำปรึกษาเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคอะนอเร็กเซีย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติทางการแพทย์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหนักและอาหาร) การทดสอบทางร่างกาย หรือจากผลแล็บป้องกันภาวะอื่น ยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยที่แน่ชัดสำหรับโรคนี้ น้ำหนักที่ลดลงอย่างมากโดยที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้หญิง ถือเป็นสัญญาณสำคัญของโรคนี้ แพทย์อาจซักถามดังต่อไปนี้

  • คุณกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักของตัวเองมานานแค่ไหนแล้ว
  • คุณออกกำลังอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
  • คุณมีวิธีการลดน้ำหนักวิธีใดบ้าง
  • คุณเคยอาเจียนเมื่อรู้สึกอิ่มเกินไปหรือไม่
  • เคยมีคนบอกคุณว่าผอมเกินไปหรือไม่
  • คุณนึกถึงอาการบ่อยแค่ไหน
  • คุณเคยซ่อนอาหารเพื่อเก็บไว้ทานที่หลังหรือไม่
  • มีสมาชิกในครอบครัวที่มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติหรือไม่

หากสงสัยว่าเป็นโรคอะนอเร็กเซีย แพทย์อาจทำการทดสอบเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาจประกอบด้วย

  • การตรวจอัลบูมิน (Albumin)
  • การตรจมวลกระดูกเพื่อตรวจหาภาวะกระดูกบาง (osteoporosis)
  • การเจาะเลือด (CB)
  • การทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ (ECG or EKG);
  • ตรวจอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes)
  • การตรวจการทำงานของไต (Kidney function tests)
  • การตรวจการทำงานของตับ (Liver function tests)
  • การตรวจระดับโปรตีน
  • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid function tests)
  • การตรวจปัสสาวะ (Urianlysis)

การรักษาโรคอะนอเร็กเซีย

ความท้าทายที่ใหญ่สุดในการรักษาโรคอะนอเร็กเซีย คือการช่วยผู้ป่วยรู้ตัวว่าตนเองมีอาการป่วย ผู้ป่วยหลายคนปฏิเสธว่าตนเองมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ และเข้ารับการรักษาเมื่อถึงขั้นรุนแรงแล้ว การรักษาโรคนี้ประกอบไปด้วย

  • การบำบัดด้วยการพูดคุยใช้สำหรับผู้ป่วยอายุน้อยหรือผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเพียงระยะสั้นเพื่อส่งเสริมให้พวกเขากลับมามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ
  • ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (การบำบัดด้วยการพูดคุยแบบหนึ่ง)
  • การบำบัดกลุ่ม
  • ครอบครัวบำบัด
  • การรักษาด้วยยา เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาระงับอาการทางจิต ยาควบคุมอารมณ์ อาจถูกใช้เพื่อช่วยผู้ป่วยในการรักษาอย่างสมบูรณ์ยาเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลแต่ยังไม่ได้รับการรับรองว่าสามารลดความอยากลดน้ำหนักได้

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการเยียวยาเพื่อจัดการกับโรคอะนอเร็กเซียด้วยตนเอง

พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรักษาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจช่วยจัดการกับ

โรคอะนอเร็กเซีย

  • คลายเครียด
  • ยอมรับว่าเป็นโรคอะนอเร็กเซีย
  • ทานอาหารตามที่แพทย์หรือนักโภชนาการแนะนำ
  • เข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษา
  • ทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  • ซื้อเสื้อผ้าที่เหมาะกับสัดส่วนของร่างกาย ไม่ใช่เสื้อผ้าที่เล็กกว่าสัดส่วนจริงเพื่อลดน้ำหนักให้ใส่ได้

หากคุณมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้าใจและได้รับการรักษาที่เหมาะสม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 869.

Porter, R. S., Kaplan, J. L., Homeier, B. P., & Albert, R. K. (2009). The Merck manual home health handbook. Whitehouse Station, NJ, Merck Research Laboratories. Print edition. Page 876.

Anorexia Nervosa Fact Sheet. Womenshealth.gov. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/anorexia-nervosa.html. Accessed Jul 15 2016.

Anorexia Nervosa: MedlinePlus Medical Encyclopedia. National Library of Medicine – National Institutes of Complementary, alternative, or integrative health: What’s in a name? National Center for Complementary and Alternative Medicine. http://nccam.nih.gov/health/whatiscam. Accessed Jul 15 2016.

Eating Disorders: About More Than Food. NIMH. http://www.nimh.nih.gov/health/publications/eating-disorders-new-trifold/index.shtml. Accessed Jul 15 2016.

Health. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000362.htm. Accessed Jul 15 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/08/2019

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chayawee Limthavornrak


บทความที่เกี่ยวข้อง

Toxic relationship หรือความสัมพันธ์เป็นพิษ แก้อย่างไร

Eating disorder คือ อะไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไข 28/08/2019

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา