โรคแกะผิวหนัง อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นบนผิวหนัง และเกิดการติดเชื้อได้อีกด้วย นอกจากนั้น พฤติกรรมดังกล่าวยังมีความเชื่อมโยงกับโรคย้ำคิดย้ำทำ หนึ่งในภาวะสุขภาพจิตที่ควรได้รับการดูแลรักษา ลองสำรวจตนเองดูว่า มีพฤติกรรมเข้าข่ายโรคดังกล่าวหรือไม่ ควรป้องกันและหาวิธีจัดการกับโรคนี้อย่างไรดี
[embed-health-tool-bmi]
ทำความรู้จักกับโรคแกะผิวหนัง (Excoriation)
การแกะสะเก็ดแผล หรือผิวหนังเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไร แต่สำหรับบางคน การแกะผิวหนัง อาจกลายเป็นอาการเรื้อรัง อาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรืออาจทำให้เกิดแผลใหม่ได้ นอกจากนั้น ยังอาจทำให้ผิวตกสะเก็ดเพิ่มเติม แล้วนำไปสู้การเกิดแผลเป็น
การแกะผิวอย่างต่อเนื่องนี้อาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า “โรคแกะผิวหนัง” หรือเสพติดการแกะผิวหนัง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะแกะผิวหนังด้วยความเคยชินโดยไม่มีอะไรมากระตุ้น บางคนใช้เวลาใน การแกะผิวหนัง สั้น ๆ หลายครั้งต่อวัน หรือคนอื่น ๆ อาจจะแกะผิวหนังอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน
โรคแกะผิวหนังนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ พฤติกรรมเช่นนี้เป็นภาวะสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder หรือ OCD) ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำจนพัฒนาไปเป็นความผิดปกติของการเสพติดการแกะผิวหนัง แต่หลาย ๆ คนที่มีการเสพติดการแกะผิวหนังมักจะพบว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำเช่นกัน
สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็น โรคแกะผิวหนัง
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณและอาการของความผิดปกติของโรคแกะผิวหนัง สามารถช่วยให้ทราบได้ว่า พฤติกรรมบางอย่างเป็นผลของพฤติกรรมการแกะ “ตามปกติ” หรือไม่ หรือบางครั้งความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจกำลังบ่งบอกถึงโรคหรือปัญหาที่ร้ายแรงกว่าก็ได้
ตัวอย่างเช่น การแกะผิวหนัง เป็นครั้งคราวมักจะไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ สะเก็ดที่เกิดขึ้นมักจะทำให้รู้สึกคันในขณะแผลที่ผิวหนังที่กำลังจะหาย จะทำให้หลายคนรู้สึกอยากเกาที่ผิวหนัง ถึงแม้จะมีคำแนะนำในทางตรงกันข้ามก็ตาม แต่หลายคนก็ยังจะเลือกที่จะแกะสิว หรือสิวหัวดำ เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคแกะผิวหนัง อาจจะเลือกแกะสะเก็ดแผลสิว หรือแกะรอยที่เกิดจากโรคผิวหนังอื่น ๆ โดยจะแกะจนกว่าจะมีเลือดออกอีกครั้งหรือเกิดการอักเสบ บางครั้งอาจจะเลือกแกะผิวหนังที่อยู่รอบ ๆ เล็บมือและเล็บเท้า ด้วย
สำหรับอาการของโรคแกะผิวหนัง ได้แก่
- พยายามขจัดความไม่สมบูรณ์ บางคนอาจจะเกาผิวหนังซ้ำ ๆ หรือพยายามถูผิวหนังบริเวณที่รู้สึกว่าไม่สมบูรณ์ออกไป ซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจทำให้เกิด บาดแผล และแผลเพิ่มเติมได้เช่นกัน
- ใช้เวลาในการแกะผิวหนังนาน ๆ บางคนที่มีอาการเสพติดการแกะผิวหนัง มักจะเลือกแกะผิวหนังวันละหลายครั้ง หรือบางคนอาจจะให้เวลาในการแกะผิวหนังครั้งละหลายชั่วโมง ไม่ว่าจะต้องวิธีใดก็ตาม พฤติกรรมดังกล่าวอาจรบกวนชีวิตทางสังคม บุคลิกภาพอย่างมีนัยสำคัญ
- อาจกลายเป็นแผลเป็นและติดเชื้อ จากการแกะผิวหนังบ่อย ๆ อาการเสพติดการแกะผิวหนังอาจนำไปสู่การติดเชื้อโรคและทำให้เกิดรอยแผลเป็นเป็นเวลานานได้ ซึ่งการติดเชื้ออาจจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมสาธารณะ เนื่องจากผิวหนังมีรอยแผลเป็น จาก การแกะผิวหนัง บ่อย ๆ บางคนที่มีอาการนี้อาจจะหลีกเลี่ยงชายหาด โรงยิม หรือสถานที่จัดงาน ที่ต้องใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะสภาพผิวของพวกเขานั่นเอง
วิธีรับมือกับ โรคแกะผิวหนัง
หากเป็น โรคแกะผิวหนัง อาจหาวิธีจัดการรับมือ ดังนี้
- ค้นหากลุ่มผู้สนับสนุนในชุมช คนกลุ่มนี้จะเข้าใจโรคได้ดีและพร้อมที่จะช่วยหาแผนการรักษาที่เหมาะสมให้ นอกจากนี้ อาจช่วยแนะนำแนวทางของวิธีป้องกันโรคและการรักษาในลำดับต่อไป
- ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หรือนักบำบัด โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ให้คำแนะนำประจำโรงพยาบาล อาจจะมีรายชื่อของผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มต่าง ๆ สำหรับติดต่อขอเข้ารับคำแนะนำได้
เหนือสิ่งอื่นใด ผู้ป่วย โรคแกะผิวหนัง จำเป็นจะต้องให้กำลังใจตัวเอง ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง และยินดีเมื่อบรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกความสำเร็จอาจเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป การกระตุ้นตัวเองด้วยเป้าหมายระยะสั้น ก็เป็นเรื่องที่ควรทำเช่นกัน