backup og meta

อวัยวะเพศชาย ส่วนสำคัญในร่างกาย ที่ผู้ชายควรรู้จัก

อวัยวะเพศชาย ส่วนสำคัญในร่างกาย ที่ผู้ชายควรรู้จัก

อวัยวะเพศชาย หรือระบบสืบพันธุ์เพศชาย เป็นอวัยวะภายนอกที่ยื่นยาวออกมา ขนาด รูปร่าง และสีของอวัยวะเพศชายจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อวัยวะเพศชายเป็นอวัยวะสำหรับสืบพันธุ์ และเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยอาจแยกออกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

[embed-health-tool-bmi]

อวัยวะเพศชาย คืออะไร

อวัยวะเพศชาย คือ อวัยวะภายนอกที่ยื่นยาวออกมา ขนาด รูปร่าง และสีของอวัยวะเพศชายจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อวัยวะเพศชายเป็นอวัยวะสำหรับสืบพันธุ์ และเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถแยกได้เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

โดยอวัยวะเพศชาย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เพลา และลึงค์ ซึ่งเพลาเป็นส่วนหลักของอวัยวะเพศชาย ลึงค์เป็นส่วนปลายของอวัยวะเพศ ผู้ชายบางคนอาจขลิบออก อย่างไรก็ตาม อวัยวะเพศชายจะมีการขยายขนาด เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์

หน้าที่และส่วนประกอบของอวัยวะเพศชาย

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย คือ อวัยวะที่ประกอบไปด้วยระบบสืบพันธุ์ และระบบทางเดินปัสสาวะ โดยอวัยวะเหล่านี้มีหน้าที่ ดังนี้

  • ผลิต บำรุงรักษา ขนส่งอสุจิ และน้ำอสุจิ
  • ปล่อยสเปิร์มเข้าไปในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง
  • ผลิต และหลั่งฮอร์โมนเพศชาย

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วยอวัยวะ ดังนี้

  • อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน
    • ลูกอัณฑะ (Testis) หรือ อัณฑะ มีจำนวน 2 อัน เป็นอวัยวะรูปทรงรีลักษณะเหมือนไข่ ขนาดเท่าผลมะกอก มีน้ำหนักประมาณ 50 กรัม ซึ่งขนาดขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อัณฑะมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย และผลิตอสุจิ ภายในอัณฑะมีท่อขดเป็นจำนวนมาก เรียกว่าท่อเซมินิเฟอร์ ท่อเหล่านี้ มีหน้าที่ในการผลิตเซลล์อสุจิผ่านกระบวนการ ที่เรียกว่า การสร้างสเปิร์มเจเนซิส
    • ถุงน้ำเชื้อ อยู่เหนือต่อมลูกหมากใกล้กับกระเพาะปัสสาวะ ถุงน้ำเชื้อสร้างของเหลวที่อุดมด้วยฟรุกโตส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานให้กับอสุจิ และช่วยให้ตัวอสุจิเคลื่อนไหวได้
    • หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) เป็นท่อขดยาวซึ่งอยู่ที่ด้านหลังของอัณฑะแต่ละข้าง หากนำมายืดเป็นเส้นจะได้ขนาดยาวประมาณ 6 เมตร เป็นที่เก็บเซลล์อสุจิที่สร้างขึ้นในอัณฑะ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ในการนำอสุจิไปสู่ความสมบูรณ์ อสุจิที่ออกมาจากอัณฑะนั้นยังไม่สามารถปฏิสนธิได้
    • หลอดนำตัวอสุจิ (Vas Deferens) เป็นท่อกล้ามเนื้อยาว เดินทางจากหลอดน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องเชิงกรานไปทางกระเพาะปัสสาวะ เพื่อลำเลียงสเปิร์มไปยังท่อปัสสาวะ และเตรียมพร้อมสำหรับการหลั่ง
    • ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) อยู่บริเวณด้านหน้าของไส้ตรง ใต้กระเพาะปัสสาวะ มีขนาดเท่าวอลนัท ต่อมลูกหมากจะโตตามอายุ โดยจะหลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ๆ ออกมา เนื่องจากปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรด จึงจำเป็นต้องมีการปรับสภาพท่อปัสสาวะก่อนที่จะมีการปล่อยอสุจิออกมา
    • ต่อมคาวเปอร์ (Cowper’s Gland) อยู่ติดกับต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารหล่อลื่น ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง เพื่อช่วยลดความเป็นกรดภายในท่อปัสสาวะ
    • อสุจิ เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว​ ซึ่งเป็นส่วนที่มีนิวเคลียสของเซลล์อยู่ ส่วนตัว ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว และส่วนหาง ซึ่งทำหน้าที่เสมือนใบพัด เพื่อว่ายไปปฏิสนธิ
  • อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
    • ท่อปัสสาวะ (Urethra) เป็นท่อที่นำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย
    • ถุงอัณฑะ (Scortum) ถุงอัณฑะมีหน้าที่ช่วยปกป้องอัณฑะของคุณ รวมถึงควบคุมสภาพอากาศสำหรับการพัฒนาตัวอสุจิ อัณฑะจะต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เย็นกว่าอุณหภูมิของร่างกายเล็กน้อย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Overview of the Male Anatomy. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/overview-of-the-male-anatomy. Accessed May 28, 2021

Male Reproductive System. https://kidshealth.org/en/teens/male-repro.html. Accessed May 28, 2021

Structure of the Male Reproductive System. https://www.msdmanuals.com/home/men-s-health-issues/biology-of-the-male-reproductive-system/structure-of-the-male-reproductive-system. Accessed May 28, 2021

What are the parts of the male reproductive anatomy?. https://www.plannedparenthood.org/learn/teens/ask-experts/what-are-the-parts-of-the-male-reproductive-anatomy. Accessed May 28, 2021

Physiology, Male Reproductive System. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK538429/. Accessed May 28, 2021

Medical Definition of Male genitalia. https://www.medicinenet.com/male_genitalia/definition.htm. Accessed May 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/10/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อวัยวะเพศงอ ปัญหาสุขภาพที่ผู้ชายควรรู้

โรคซึมเศร้ากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 27/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา