backup og meta

5 ท่าออกกำลังกายด้วยลูกบอลออกกำลังกาย ที่ทำตามได้ง่ายๆ ที่บ้าน

5 ท่าออกกำลังกายด้วยลูกบอลออกกำลังกาย ที่ทำตามได้ง่ายๆ ที่บ้าน

ลูกบอลออกกำลังกาย หรือลูกบอลโยคะ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์การออกกำลังกาย ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายให้กับใครหลายๆ คน แต่การออกกำลังกายร่วมกับลูกบอลออกกำลังกายนั้น อาจจะต้องมีท่าทางการออกกำลังกายที่ถูกต้องร่วมด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำ ท่าออกกำลังกายด้วยลูกบอลออกกำลังกาย ดีๆ ที่น่าทำตามมาฝากกันค่ะ

ท่าออกกำลังกายด้วยลูกบอลออกกำลังกาย ที่ทำตามได้ง่ายๆ

1.ท่าทรงตัวบนลูกบอล

ท่าออกกำลังกายด้วยการทรงตัวบนลูกบอลนี้ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อช่วงล่างของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณสะโพก ต้นขา และน่อง นอกจากนี้ยังอาจช่วยในเรื่องของอาการปวดหลังได้อีกด้วย

  • นั่งลงบนลูกบอล ให้เท้าราบติดพื้น ตั้งหลังและคอให้ตรง แขนแนบลำตัว
  • เกร็งกล้ามเนื้อท้อง
  • เริ่มเพิ่มความท้าทาย โดยการกางแขนทั้งสองออกทางด้านข้าง เลื่อนมาด้านหน้า แล้วยกขึ้นเหนือหัว ก่อนกลับมาที่ท่าเริ่มต้น
  • ยกขาข้างหนึ่งขึ้นจากพื้น ค้างไว้ แล้วสลับไปที่ขาอีกข้าง เมื่อชำนาญแล้วจึงยกขาทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน ค้างไว้ประมาณ 5 วิ ก่อนคืนสู่ท่าเริ่มต้น
  • ค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาการทรงตัวบนลูกบอล จาก 10 นาที ไป 15 นาที 20 นาที ขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นเวลานานหลายชั่วโมง

2.ท่าวิดพื้นกับลูกบอล

  • นอนคว่ำหน้า โดยให้ลูกบอลออกกำลังกายอยู่ตรงหน้าท้อง และฝ่ามือราบกับพื้น
  • ใช้มือเคลื่อนตัวไปข้างหน้า จนทำให้ลูกบอลนั้นเลื่อนไปอยู่ตรงส่วนล่างของร่างกาย ช่วงใดก็ได้ตั้งแต่สะโพกไปจนถึงข้อเท้า (ยิ่งลงไปต่ำ จะยิ่งเพิ่มความยากต่อการวิดพื้น)
  • งอข้อศอกลง ให้อกชิดพื้น
  • ใช้มือดันพื้นเพื่อยกตัวขึ้น ทำเหมือนวิดพื้นตามปกติ
  • ทำซ้ำประมาณ 8-10 ครั้ง

3.ท่าสะพานกลับ (Reverse bridge)

ท่าสะพานกลับนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลังส่วนล่าง และกล้ามเนื้อแฮมสตริง(Hamstring)

  • เริ่มจากนอนราบไปกับพื้น ยกขาพาดไปกับลูกบอล ให้ลูกบอลสัมผัสกับส่วนน่องและข้อเท้า
  • กางแขนออกจากลำตัวเล็กน้อย เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคง และแยกเท้าออกจากกันเล็กน้อย
  • ค่อยๆ ยกก้นขึ้น ให้ลอยจากพื้น โดยไม่ต้องงอเข่า
  • ค้างอยู่ท่านั้นประมาณ 5 วินาที แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น
  • ทำซ้ำอีก ประมาณ 12-15 ครั้ง

4.ท่าเกร็งหน้าท้อง

ท่านี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และความแข็งแรงของแขน แต่มีข้อควรระวังคือ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการเจ็บข้อมือ ไม่ควรทำท่านี้

  • เข้าสู่ท่าวิดพื้น โดยให้ลูกบอลออกกำลังกายอยู่ตรงบริเวณเข่า ฝ่ามือวางราบกับพื้น
  • งอเข่าหดขาเข้ามา ให้เข่าชิดกับอก และลูกบอลมาอยู่บริเวณข้อเท้า
  • ค่อยๆ ย้อนกลับสู่ท่าเริ่มต้น โดยพยายามทรงตัวอยู่บนลูกบอล อย่าให้ตกออกจากบอล
  • ทำซ้ำ 8-10 ครั้ง

5.ท่าสควอทด้วยลูกบอลออกกำลังกาย

  • ยืนดันให้ลูกบอลออกกำลังกายชิดผนัง โดยให้ลูกบอลอยู่ตรงบริเวณหลังส่วนล่าง ช่วงบั้นเอว
  • วางมือไว้ข้างลำตัวหรือวางไว้บนเอว กางเท้าออกเล็กน้อย ให้ความกว้างเท่ากับประมาณความกว้างของสะโพก
  • งอเข่าลงลงไปอยู่ในท่านั่งยอง ให้เข่าอยู่เหนือข้อเท้า และให้ลูกบอลอยู่ติดกับหลังตลอดเวลา
  • กลับไปสู่ท่ายืน โดยให้ลูกบอลอยู่ติดกับหลังตลอดเวลา
  • ทำซ้ำ 8-15 ครั้ง

ท่าออกกกำลังกายเหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่างท่าออกกำลังกายที่น่าสนใจ ที่เราสามารถทำได้หากมีลูกบอลออกกำลังกาย การออกกำลังกายด้วยท่าทางเหล่านี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย ให้ดีมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นท่าออกกำลังกายที่สนุกสนาน และช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้แก่การออกกำลังกายของคุณได้อีกด้วย

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Balance Ball Basics https://www.scripps.org/news_items/4362-balance-ball-basics

Healthy and fit on the go: balance balls and core exercises https://extension.umn.edu/physical-activity/healthy-and-fit-go-balance-balls-and-core-exercises

10 Fun Moves to Reshape Your Body With an Exercise Ball Workout https://www.webmd.com/fitness-exercise/features/10-fun-moves-to-reshape-your-body-with-exercise-ball-workout#1

Beginner Ball Workout for Balance, Stability, and Core Strength https://www.verywellfit.com/ball-workout-for-balance-and-strength-1230908

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/08/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

พิลาทิส แนวการออกกำลังกายสุดฮิต ที่อาจทำให้หุ่นคุณฟิตแอนด์เฟิร์ม

ทำความรู้จักกับ Functional Training การออกกำลังกายสำหรับคนทุกเพศทุกวัย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา