backup og meta

ไม่มีเซ็กส์นาน ๆ จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ไม่มีเซ็กส์นาน ๆ จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การมีเซ็กส์ หรือการมีเพศสัมพันธ์ส่งผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้เป็นปกติ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดความเสี่ยงหัวใจวาย ช่วยบรรเทาปวด ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยคลายเครียด อย่างไรก็ตาม การไม่มีเซ็กส์ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่หาก ไม่มีเซ็กส์นาน ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน

[embed-health-tool-ovulation]

ไม่มีเซ็กส์ เป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่

การมีเซ็กส์ต้องมีหลายปัจจัยประกอบเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังมีอีกหลายหลายวิธีที่อาจช่วยเติมเต็มความสุข คลายเครียด และตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละคนได้โดยไม่ต้องมีเซ็กส์ การไม่มีเซ็กส์จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด

และถึงแม้การมีเซ็กส์จะให้ประโยชน์สุขภาพหลายประการ แต่การทำกิจกรรมอื่น ๆ แทน ก็อาจให้ประโยชน์สุขภาพเหล่านั้นได้เช่นกัน เช่น การออกกำลังกาย ก็สามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ช่วยคลายเครียดได้ เช่นเดียวกับการมีเซ็กส์

แม้การไม่มีเซ็กส์จะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากไม่ได้มีเซ็กส์นาน ๆ ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพได้เช่นกัน

ไม่มีเซ็กส์นาน ๆ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ทำให้รู้สึกกังวลมากขึ้น

เซ็กส์ช่วยกระตุ้นการหลั่งเอนดอร์ฟินและออกซิโทซิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ทำให้เครียดหรือวิตกกังวล หากไม่มีเซ็กส์นาน ๆ จึงอาจทำให้รู้สึกวิตกกังวลมากขึ้น หรือเครียดง่าย หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

หัวใจอาจทำงานได้ไม่ดี

งานศึกษาวิจัยเผยว่า คนที่มีเซ็กส์เดือนละครั้งหรือน้อยกว่านั้น มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่มีเซ็กส์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์

น้ำหล่อลื่นน้อยลง

สำหรับผู้หญิงที่ไม่มีเซ็กส์นาน ๆ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยสูงอายุ หากกลับมามีเซ็กส์อีกครั้ง อาจประสบปัญหาน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดแห้งหรือน้อยลงเนื่องจากขาดฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจน (Estrogen) เมื่อประกอบกับผนังช่องคลอดที่บางลงตามวัย ก็ส่งอาจส่งผลให้รู้สึกเจ็บปวดขณะมีเซ็กส์ได้

ระบบภูมิคุ้มกันอาจอ่อนแอ

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผู้ที่มีเซ็กส์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งอาจมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าผู้ที่มีเซ็กส์น้อยกว่านั้น หรือไม่มีเซ็กส์นาน ๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะการมีเซ็กส์ช่วยเพิ่มระดับสารอิมมูโนโกลบูลินเอ (Immunoglobulin A หรือ IgA) ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่พบมากในสารคัดหลั่ง เช่น น้ำตา น้ำลาย มีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรครุกรานเยื่อเมือก ซึ่งเปรียบเสมือนด่านที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

อาจทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้น

การมีเซ็กส์อาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ เนื่องจากเมื่อผู้หญิงถึงจุดสุดยอด มดลูกจะหดตัว ทำให้เลือดไหลเร็วขึ้น ส่งผลให้ปวดประจำเดือนน้อยลง เมื่อไม่มีเซ็กส์นาน ๆ หรือไม่ถึงจุดสุดยอด จึงอาจทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นได้

อาจทำให้สูญเสียความจำ

การมีเซ็กส์ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจ และอาจช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ โดยนักวิจัยชี้ว่า ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาตอนมีเซ็กส์อาจช่วยกระตุ้นสมอง ทั้งยังมีงานศึกษาวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารเกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ ระบุว่า ผู้ที่มีเซ็กส์อย่างสม่ำเสมอได้คะแนนการทดสอบทางปัญญาสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยมีเซ็กส์

ความสัมพันธ์เปลี่ยนแปลง

การมีเซ็กส์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จะช่วยทำให้คู่รักมีความสุขและรู้สึกผูกพันกันมากขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจระหว่างคู่รักได้อีกด้วย แต่หากหยุดเซ็กส์นาน อาจทำให้ความพึงพอใจในคู่รักสูญเสียไป ซึ่งอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ได้

อาจส่งผลต่อสุขภาพต่อมลูกหมาก

งานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งเผยว่า ผู้ชายที่ปล่อยนำอสุจิออกมาน้อยว่า 7 ครั้งต่อเดือน มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากกว่าผู้ที่ปล่อยอสุจิออกมาอย่างน้อย 21 ครั้งต่อเดือน แต่ก็ยังต้องมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อไป

อาจทำให้คุณภาพในการนอนลดลง

การมีเซ็กส์จะช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) และโพรแลคติน (Prolactin) ซึ่งมีส่วนช่วยให้นอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ หากไม่ได้มีเซ็กส์นาน ๆ จึงอาจทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้ลดลง และส่งผลกระทบต่อการนอนได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Happens When You Stop Having Sex?. https://www.webmd.com/sex/ss/slideshow-effects-stop-sex. Accessed November, 2019

The Benefits of a Healthy Sex Life. https://www.ohsu.edu/womens-health/benefits-healthy-sex-life. Accessed October, 2021

Sex Isn’t Working for Me. What Can I Do?. https://www.aafp.org/afp/2000/0701/p141.html. Accessed October, 2021

https://www.aarp.org/home-family/sex-intimacy/info-12-2012/couples-having-sex-again.html

https://www.webmd.com/sex-relationships/guide/sex-and-health

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/04/2024

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารบำรุงสมองผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงสมองเสื่อม เพิ่มความจำ

อาการปวดหลัง และ ปัญหาเพศสัมพันธ์ จัดการอย่างไรเพื่อเติมความสุขให้ชีวิตคู่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 30/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา