backup og meta

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์แปรปรวน ขนาดนี้ ทำยังไงดีล่ะ

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์แปรปรวน ขนาดนี้ ทำยังไงดีล่ะ

ทุกคนล้วนเคยประสบกับอาการ อารมณ์แปรปรวน (Mood Swing) อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต อาการอารมณ์แปรปรวนก็คือ การเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จากความรู้สึกสนุกสนานมีความสุข ไปเป็นเศร้าหมองหรือหวาดกลัว อารมณ์แปรปรวนสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยสิ่งแวดล้อมรอบตัว แม้เรื่องนั้นจะดูไม่สำคัญสำหรับคนอื่นก็ตามที ในบางครั้งคุณก็อาจมีอารมณ์แปรปรวนได้โดยไม่ทราบสาเหตุ สภาพร่างกายก็สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน

อาการของอารมณ์แปรปรวน

นอกเหนือจากอารมณ์ที่เปลี่ยนไปในฉับพลัน คุณอาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

  • วิตกกังวลและหงุดหงิด
  • สับสนและหลงลืม
  • สมาธิสั้นลง
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น
  • เกิดภาพหลอน
  • ซึมเศร้า
  • ใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม
  • รู้สึกท้อ
  • ประมาทเลินเล่อ
  • มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  • พูดเร็ว
  • ทำความเข้าใจเรื่องราวและอธิบายข้อมูลได้ลำบาก
  • ความอยากอาหารและน้ำหนักเปลี่ยนไป
  • เหนื่อยล้า
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • คลื่นไส้
  • นอนไม่หลับ

สาเหตุของอารมณ์แปรปรวน

อาการทางจิต เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์) ชนิดอ่อน (cyclothymic disorder) โรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง (major depressive disorder) โรคซึมเศร้าประเภทเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) และโรคความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ (disruptive mood dysregulation disorder) ทั้งหมดสามารถทำให้เกิดอาการอารมณ์แปรปรวนได้ โรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) ก็อาจทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน

ความแปรปรวนของฮอร์โมน ก็สามารถส่งผลกระทบกับสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน วัยรุ่น ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนไม่คงที่ จึงมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเกิดอารมณ์แปรปรวน

การรับประทานยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถส่งผลในด้านลบกับอารมณ์ได้เช่นกัน รวมทั้งการใช้สารในทางที่ผิด อาจทำให้เกิดการเสพติด ซึ่งเป็นอาการทางจิต

ภาวะสุขภาพอื่นๆ เช่น อาการที่ส่งผลกระทบต่อปอด ระบบหัวใจ และหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ และระบบประสาทส่วนกลาง สามารถทำให้เกิดอาการอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน

ตัวกระตุ้นทั่วไปที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน

ไม่ว่าอารมณ์แปรปรวนจะสาเหตุมาจากอะไรก็ตาม อารมณ์แปรปรวนสามารถถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ด้วยบางปัจจัย เช่น ความเครียด ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต อาหาร รูปแบบการนอนหลับ และยา ควรจดสิ่งที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่คุณเกิดอารมณ์แปรปรวน เพื่อช่วยให้หมอสามารถบ่งชี้ตัวกระตุ้นที่ส่งผลต่อคุณได้

ควรขอความช่วยเหลือจากหมอเมื่อไร

บางคนอาจมีอารมณ์ที่รุนแรง โดยที่ทุกอย่างปกติดี หากอารมณ์ของคุณไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคุณ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลอะไร อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอารมณ์แปรปรวนต่อเนื่องยาวนาน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคุณ นั่นอาจจะเป็นปัญหาสุขภาพของคุณ เช่น หากอารมณ์ของคุณทำให้คุณเป็นอันตราย หรือทำร้ายตัวเอง คุณก็ควรจะปรึกษาหมอได้แล้ว

วิธีรักษาอาการอารมณ์แปรปรวน

หากอาการอารมณ์แปรปรวนของคุณเกิดจากสภาพร่างกาย การรักษาอาการนั้นก็จะช่วยให้คุณควบคุมอารมณ์ได้ ยาและการบำบัด ร่วมกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในทางที่ดี ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ได้ ต่อไปนี้คือบางวิธีการที่คุณสามารถลองใช้เพื่อช่วยจัดการกับตัวเอง

  • ใช้ชีวิตตามตาราง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ลองเล่นโยคะหรือทำสมาธิ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • หาวิธีระบายอารมณ์
  • ปรึกษาคนที่ไว้ใจได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mood Swings – Symptoms. https://www.healthgrades.com/right-care/mental-health-and-behavior/mood-swings–symptoms. Accessed May 9, 2017.

What Can Cause Rapid Mood Swings? http://www.healthline.com/health/rapid-mood-swings#overview1. Accessed May 9, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย แพทย์หญิงกนกลักษณ์ ศิริรุ่งวัฒนากุล

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประจำเดือนไม่ปกติ สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

ซึมเศร้า เมื่อเพื่อนมีอาการของโรคนี้…นี่คือวิธีช่วยเหลือกัน


เขียนโดย

แพทย์หญิงกนกลักษณ์ ศิริรุ่งวัฒนากุล

สุขภาพจิต · โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา