backup og meta

โรคกลัวการแต่งงาน แค่คิดไปเองหรือปัญหาทางสภาพจิตใจ

โรคกลัวการแต่งงาน แค่คิดไปเองหรือปัญหาทางสภาพจิตใจ

การแต่งงานดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายของคู่รักหลายๆ คู่ แต่บางคนกลับกลัวการต้องผูกมัด หรือการสูญเสียความเป็นอิสระเมื่อต้องแต่งงาน จนอาจทำให้เกิดเป็น โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) เกิดขึ้น ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นผ่านทางบทความของ Hello คุณหมอ กันดีกว่า

โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) คืออะไร?

การแต่งงาน ถือเป็นพันธะที่น่ากลัวสำหรับบางคน เนื่องจากการแต่งงานถือเป็นการผูกมัดคน 2 คนเอาไว้ด้วยกัน ดังนั้น โรคกลัวการแต่งงาน (Gamophobia) จึงเป็นความกลัวการผูกมัดที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ความกลัวที่เกิดขึ้นไม่สามารถควบคุมได้ จาการศึกษาพบว่า โรคกลัวการแต่งงานนั้นมักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นมีความต้องการที่จะแต่งงาน หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ผู้ที่เป็นโรคกลัวการแต่งงานบางคนอาจจะกลัวการใช้ชีวิตทั้งชีวิตกับบุคคลคนเดียว แต่ในบางคนก็อาจกลัวความผิดหวังที่อาจจะเกิดขึ้นหลังแต่งงานนั่นเอง

เหตุผลที่ทำให้กลัวการแต่งงาน

การหย่าร้าง ถือเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่อาจทำให้เกิดโรคกลัวการแต่งงาน แต่ความจริงแล้วยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกที่ทำให้คุณกลัวการแต่งงาน ซึ่งเหตุผลอื่นๆ มีดังนี้

  • ประสบการณ์เชิงลบในอดีต
  • กลัวว่าจะตัดสินใจพลาด
  • รู้สึกว่ากำลังจะสูญเสียความเป็นอิสระ
  • ความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย เช่น ภาวะมีบุตรยาก
  • ขาดความมั่นใจในตัวเอง
  • เงื่อไขภาวะซึมเศร้าอื่นๆ

วิธีเอาชนะโรคกลัวการแต่งงาน

สำหรับผู้ที่ต้องการจะเอาชนะโรคกลัวการแต่งงาน สามารถเอาชนะความกลัวและสร้างชีวิตแต่งงานที่สมบูรณ์และยั่งยืนได้ด้วยการ พัฒนาความคาดหวังให้เป็นความจริง ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง รู้เหตุผลในการแต่งงาน และเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองว่าจะประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นแล้วหากมีความคิดที่จะแต่งงานและต้องการเอาชนะโรคกลัวการแต่งงานที่เกิดขึ้น ก็สามารถทำได้ดังนี้

  • ตระหนักว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหลังจากการแต่งงาน นอกเหนือจากนามสกุล หรือบางคนอาจจะไม่เปลี่ยนนามสกุลก็เป็นได้ และพยายามทำตัวให้เคยชินหากถูกเรียกว่าภรรยาหรือสามี ความจริงก็คือความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนหลังจากเกิดการแต่งงาน
  • อาจจะเข้ารับการบำบัดเล็กน้อย ด้วยการลองเข้าไปมีส่วนร่วมกับคู่แต่งงานที่มีความสุข หากเป็นไปได้ให้พูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับวิธีเอาชนะความกลัวต่อการแต่งงาน และลองคิดว่าจะนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้กับความสัมพันธ์ของตัวเองได้อย่างไร
  • ลองหากต้นกำเนิดแห่งการกลัว ด้วยการมองไปรอบๆ ตัว และพิจารณาความเป็นไปได้ว่าความกลัวการแต่งงานที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะมาจากความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวใช่หรือไม่ บางครั้งปัญหาการแต่งงานของผู้ปกครองของคุณก็อาจจะทำให้คุณฝังใจ จนทำให้รู้สึกว่ารแต่งงานเป็นเรื่องที่ไม่ดีก็เป็นได้
  • ลองพยายามตรวจสอบความคาดหวังของตัวเองเกี่ยวกับการแต่งงาน โดยปกติแล้วผู้ที่เป็นโรคกลัวการแต่งงานมักจะกลัวว่าการแต่งงานของพวกเขาจะไม่ประสบความสำเร็จ นั่นจึงทำให้พวกเขาปฏิเสธโอกาสในการแต่งงานที่จะประสบความสำเร็จไปก่อน ที่จะได้รับการขอแต่งงานนั่นเอง
  • หากมีความรู้สึกว่า ไม่สามารถพูดคำว่า “ฉันทำได้” เมื่อต้องเผชิญกับโรคกลัวการแต่งงาน ลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยหยุดความกลัวที่เกิดขึ้นจะเป็นการดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gamophobia: Fear of Marriage – Causes, Symptoms and Treatment. https://www.healthtopia.net/disease/mental-health/phobia/gamophobia-fear-of-marriage. Accessed December 19, 2019

5 ways to get over your gamophobia (assuming you even want to). https://www.yahoo.com/lifestyle/5-ways-over-gamophobia-assuming-184128465.html. Accessed December 19, 2019

How to Overcome the Fear of Marriage. https://psychcentral.com/blog/how-to-overcome-the-fear-of-marriage/. Accessed December 19, 2019

Fear of Commitment Phobia – Gamophobia. https://www.fearof.net/fear-of-commitment-phobia-gamophobia/. Accessed December 19, 2019

How to Recognize and Get Over Commitment Issues. https://www.healthline.com/health/fear-of-commitment#in-yourself. Accessed December 19, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักและรับมือกับ Xenophobia หรือ โรคหวาดกลัวชาวต่างชาติ

โรคกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกแบบขำๆ หรืออันตรายที่ต้องระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา