backup og meta

เคล็ดลับการกินอาหารสำหรับผู้ที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

หากคุณมี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint) ซึ่งเป็นอาการที่อาจส่งผลกระทบต่อขากรรไกรและปาก จนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น การกัดฟัน ปวดกราม ปวดศีรษะ การเปิดหรือปิดปากได้ไม่ถนัด เกิดเสียงดังขณะเคี้ยวหรือเสียงก้องในหู

หากคุณมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร สิ่งที่ต้องระวังระวังเป็นอย่างมากก็คือ อาหารที่รับประทาน การรับประทานอาหารนิ่ม ๆ หรือการหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะช่วยลดแรงกดบนข้อต่อ ซึ่งทำหน้าที่ในการเปิด-ปิดขากรรไกร อีกทั้งยังช่วยให้ข้อต่อได้ฟื้นฟู วันนี้ Hello คุณหมอ มีอาหารที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมาฝากกันค่ะ ว่าแต่อาหารที่ควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยง เพื่อลดอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร จะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย

อาหารสำหรับผู้ที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

อาหารที่มีลักษณะนิ่มเหล่านี้ อาจช่วยให้คุณไม่ต้องเปิดปากกว้าง เพื่อลงแรงกดบนข้อต่อทุก ๆ ครั้งที่คุณรับประทาน

  • ชีสชนิดที่มีลักษณะนิ่มต่าง ๆ
  • โยเกิร์ตธรรมชาติ
  • ผักนึ่ง
  • น้ำผลไม้คั้นสด หรือน้ำผลไม้ปั่น
  • ผลไม้นิ่ม เช่น เบอร์รี กล้วย สตรอเบอร์รี เชอร์รี เรดเคอร์แรนท์
  • ถั่ว
  • ซุป
  • ไข่คน
  • มันบด

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มี อาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

อาหารที่ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรต้องหลีกเลื่ยงคือ อาหารที่ต้องมีการบดเคี้ยวนาน ๆ หรืออาหารที่จะเพิ่มแรงกดให้กับข้อต่อ เช่น

  • ขนมปังแข็งกรอบ
  • ซีเรียลกรอบ
  • เนื้อเหนียว เช่น สเต็ก
  • อาหารที่มีความเหนียวหรือหนืด เช่น แอปเปิ้ลเคลือบคาราเมล หมากฝรั่ง
  • อาหารกรอบและแข็ง เช่น แครอท แอปเปิ้ลสด

เคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nutrition Tips to Prevent or Reduce TMJ Symptoms. http://www.headachetmjnewjersey.com/nutrition-tips-prevent-reduce-tmj-symptoms/. Accessed July 19, 2017

TMJ disorders

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tmj/symptoms-causes/syc-20350941

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารพัด ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่มาจากการสูบบุหรี่

นิ่วทอนซิล ตัวการของกลิ่นปากกวนใจ ที่หลายคนอาจไม่รู้


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไข 28/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา