backup og meta

มองเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ ภาวะเสี่ยงเป็น วุ้นตาเสื่อม

มองเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ ภาวะเสี่ยงเป็น วุ้นตาเสื่อม

วุ้นตา เป็นส่วนประกอบของลูกตา ลักษณะเป็นของเหลวคล้ายไข่ขาวอยู่หน้าจอตาและยึดติดกับผิวของจอตา เมื่ออายุมาก วุ้นตาเสื่อม อาจเกิดขึ้นได้ตามช่วงอายุที่มากขึ้น หากเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของดวงตา การดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ดวงตาของเรามีสุขภาพที่ดียาวนานได้ สำหรับใครที่เคยมีอาการมองเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ ตาม Hello คุณหมอ ไปดูกันเลยว่าเกิดจากอะไร

วุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) คืออะไร

องค์ประกอบภายในตาของเราเต็มไปด้วย วุ้นตา ซึ่งมีลักษณะเหมือนไข่ขาว ซึ่งช่วยให้ตาเราเป็นทรงกลม และมีเส้นใยเป็นล้านๆ เส้นอยู่ในนั้น ทำหน้าที่คอยช่วยยึดจอตา เส้นเหล่านี้เป็นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อแสง เมื่อเรามีอายุมากขึ้น วุ้นตา จะค่อยๆ หดตัวลง เส้นใยเล็กๆ ที่อยู่ในวุ้นตาจะขาดและมีการหดตัวลงมาจากจอตา ซึ่งเรียกอาการเหล่านี้ว่า วุ้นในตาเสื่อม

ผู้ที่มีอาการ วุ้นตาเสื่อม จะมองเห็นเส้นหยึกหยักสีขาว หรือมีจุดสีดำเล็กๆ ลอยไปลอยมาอยู่กลางอากาศ และจะเห็นได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะขณะที่มองไปบนท้องฟ้าหรือว่าผนังสีขาว หากพยายามจ้องไปที่จุดเหล่านั้นมันจะเคลื่อนหายไปอย่างรวดเร็ว

สาเหตุที่เราเห็นเส้นใยใสๆ ลอยในอากาศ

  • เกิดจากอายุที่มากขึ้น อายุที่มากขึ้นมีผลทำให้ วุ้นตา เกิดการเสื่อมลง เมื่ออายุมากขึ้นของเหลวใสๆ คล้ายไข่ขาวที่อยู่ในดวงตาจะมีการหดตัวลง ทำให้เกิดการดึงรั้งที่ผิวจอตา และเกิดเป็นเส้น เมื่อแสงส่องผ่านเข้ามาทำให้เกิดเงาของเส้นเหล่านั้น เมื่อเงาเหล่านี้กระทบกับจอตาทำให้เห็นเป็นเส้นขึ้นมา
  • เกิดการอักเสบที่ด้านหลังดวงตา ภาวะม่านตาอักเสบ คือ การอักเสบที่เกิดขึ้นในชั้นยูเวีย(Uvea) ซึ่งอยู่บริเวณหลังดวงตา เมื่อชั้นยูเวียมีการอักเสบ ทำให้เศษของยูเวียหลุดเข้าไปในวุ้นตา ทำให้ตาเป็นจุดๆ เมื่อมอง นอกจากนี้การอักเสบอาจทำให้ติดเชื้อและโรคอื่นๆ ตามมาได้
  • อาการเลือดออกในตา อาการเลือดออกที่เข้าไปในวุ้นตา เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การอุดตันของหลอดเลือด และอาการบาดเจ็บของดวงตา เม็ดเลือดที่เข้าไปในวุ้นตา จะทำให้เรามองเห็นเป็นเส้น
  • จอตาฉีกขาด การที่วุ้นในตาหดตัวลง บางครั้งมีแรงดึงมากจนจอตาขาดและหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดปัญหากับสายตาจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร
  • การศัลยกรรมและฉีดยา การที่เราฉีดยาหรือฉีดซิลิโคนเข้าที่วุ้นตาอาจทำให้เกิดฟองอาการและเห็นเป็นจุดๆ ลอยกลางอากาศได้เช่นกัน

ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง

  • ภาวะวุ้นในตาเสื่อมมักเกิดขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 50 ปี
  • คนที่สายตาสั้น
  • หากมีภาวะ วุ้นในตาเสื่อมข้างเดียว มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับดวงตาอีกข้าง
  • ผู้ที่มีเนื้องอกในตา
  • ผู้ที่เคยผ่าต้อกระจก

วุ้นตาเสื่อมอันตรายหรือไม่ 

โดยทั่วไป วุ้นตาเสื่อมไม่มีอาการอันตราย เพียงแค่ทำให้เรารู้สึกรำคาญเมื่อเห็นเส้นใยที่ลอยอยู่กลางอากาศเท่านั้น บางครั้งเมื่อเส้นใยขาดอย่างรุนแรง อาจทำให้จอตาฉีกขาด เป็นสัญญาณอันตรายต่อดวงตา ควรที่จะทำการรักษาอย่างโดยด่วน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการรักษาจะทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

ดังนั้นเมื่อคุณรู้สึกว่า มีอาการเห็นเส้นใยลอยในอากาศเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน หรือเห็นแสงแฟลชเพิ่มขึ้น ควรไปปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์โดยตรง ในการช่วยวินิจฉัยโรคทางสายตาและแก้ไขปัญหาที่เกิดอย่างทันที

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

  1. eye-floaters
    https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eye-floaters/symptoms-causes/syc-20372346
    Accesed November 18 , 2018
  2. What are eye floaters, and are they dangerous?
    https://www.everydayhealth.com/columns/paging-dr-gupta/what-are-eye-floaters-and-are-they-dangerous/?fbclid=IwAR27i2DWT8UaI3tBYDBiWRELKxCjwUsD
    _Zji8MG2h9pc1NEZ_S5VQd4SPuI
    Accesed November 18 , 2018
  3. Fact about vitreous Detachment
    https://nei.nih.gov/health/vitreous/vitreous?fbclid=IwAR22EK0Mn1dA76gxflvgiqo7F5fL4L3t0HiJKoRMkPgIuUYR5OtMRcWg7iE
    Accesed November 18 , 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ภาวะความดันลูกตาสูง

แครอทบำรุงสายตา ได้จริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา