backup og meta

ไขข้อสงสัยทำไม สีรอยช้ำ ถึงมีสีที่แตกต่างกัน

ไขข้อสงสัยทำไม สีรอยช้ำ ถึงมีสีที่แตกต่างกัน

หากเราเดินใจลอยไม่ระวัง แขน ขาอาจจะเกิดอุบัติเหตุ ฟาดหรือกระทบกระแทก ทำให้ร่างกายเกิดรอยช้ำ ซึ่งหลายคนอาจจะเคยสังเกตว่า สีรอยช้ำ ของเรานั้นมีสีที่หลากหลายทั้งสีเขียว ม่วง แดง วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ทำไมรอยช้ำถึงที่มีที่แตกต่างกัน ไปอ่านกันเลยค่ะ

[embed-health-tool-bmi]

รอยช้ำ เกิดขึ้นได้อย่างไร

รอยช้ำ เป็นรอยที่เกิดขึ้นจากการที่ผิวหนังกระทบกับของแข็งอย่างรุนแรง จนทำให้เส้นเลือดฝอยหรือเส้นเลือดเล็ก ๆ นั้นแตก เมื่อเส้นเลือดฝอยแตกทำให้เลือดออก ซึมไปยังเนื้อเยื่อบริเวณผิวหนังรอบ ๆ ซึ่งทำให้เกิดรอยช้ำและเกิดการเปลี่ยนสีใต้ผิวหนัง อย่างที่เราเห็น ๆ กัน ในขณะเดียวกัน รอยช้ำ ก็จะดูดซับเลือดที่รั่วออกมา ทำให้รอยช้ำมีลักษณะและสีที่เปลี่ยนไป

มาเรียนรู้เกี่ยวกับ สีรอยช้ำ กันเถอะ

ตั้งแต่เกิดการกระแทก รอยช้ำ นั้นจะอยู่นาน 2-3 สัปดาห์ รอยช้ำของแต่ละคนนั้นอาจจะใช้เวลากว่าจะหายไม่เท่ากัน ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ และจุดที่ได้รับรอยช้ำบนร่างกาย หากเกิดรอบช้ำที่แขนหรือขาอาจจะหายช้ากว่าปกติ และสีของรอยช้ำก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามลำดับ และมีเฉดสีที่ค่อย ๆ เปลี่ยนไปดังนี้

สีชมพูและแดง

หลังจากที่ร่างกายได้รับการกระแทก เช่น โดนกระแทกที่หน้าแข้ง โดนกระแทกที่แขน อาจทำให้บริเวณนั้นเกิดรอยช้ำสีชมพูหรือแดงขึ้นมา นอกจากสีที่ปรากฏขึ้นแล้ว บริเวณนั้นอาจจะมีการบวมและรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสโดนอีกด้วย

สีน้ำเงินและม่วงเข้ม

ภายในหนึ่งวันหลังจากที่เกิดการกระแทก รอยช้ำ ของคุณอาจมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงินหรือสีม่วงเข้ม และอาการบวมที่รอยช้ำ เหตุผลที่มันเปลี่ยนเป็นสีนี้เกิดขึ้นจากปริมาณออกซิเจนในเลือดที่คั่งอยู่ต่ำลง ทำให้ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นสีแดงนั้นเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินที่ละน้อย ซึ่งรอยช้ำสีม่วงเข้มและน้ำเงินนี้อาจจะอยู่นานถึง 5 วันหลังจากได้รับการบาดเจ็บ

สีเขียวอ่อน

เมื่อเข้าสู่วันที่ 6 รอยช้ำ ของคุณจะเริ่มมีสีเขียว ซึ่งเป็นสัญญาณว่า ฮีโมโกลบินเริ่มสลายตัวแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูรอยช้ำนั้นให้ดีขึ้น

สีเหลืองและน้ำตาลอ่อน

หลังจากวันที่ 7 นับจากวันที่เกิดการบาดเจ็บ รอยช้ำ ของคุณก็เริ่มที่จะดีขึ้น สีจางลงจนกลายเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน นั่นบ่งบอกว่านี่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการดูดซึมฮีโมโกลบินของร่างกาย รอยช้ำจะไม่มีการเปลี่ยนสีอีกแล้ว แต่มันจะค่อยๆ จางจนสีหายไปเป็นปกติ

เมื่อไหร่ที่คุณควรกังวลเกี่ยวกับ สีรอยช้ำ

โดยทั่วไปแล้วรอยช้ำไม่ใช่สิ่งที่ควรจะต้องกังวลเมื่อเกิด รอยช้ำ เราสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เลย โดยไม่ต้องไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา แต่บางครั้งเมื่อเกิดอาการต่างๆ เหล่านี้คุณอาจจะต้องไปพบคุณหมอเพื่อรักษาอาการฟกช้ำ ปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยเมื่อเกิดการบาดเจ็บคือ “การห้อเลือด” การห้อเลือด คือ การสะสมของเลือดจำนวนมากที่ติดอยู่ในเนื้อเยื่อ มักจะเกิดเมื่อได้รับการบาดเจ็บที่หนัก หากร่างกายเกิดอาการห้อเลือดจะไม่สามารถรักษารอยช้ำให้หายได้ง่ายและรวดเร็วเหมือนการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ หากคุณมีอาการเหล่านี้ก็ควรต้องไปพบคุณหมอ เช่นกัน

  • มีอาการชาที่แขนหรือขา
  • ข้อต่อและกล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มที่
  • รอยช้ำมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
  • รอยช้ำเกิดที่คอหรือศีรษะ
  • ส่งผลต่อการมองเห็น

ลักษณะของ รอยช้ำ และเฉดสีที่เปลี่ยนไป ช่วยให้เราสามารถเข้าใจถึงความหมาย และกระบวนการรักษาของร่างกายได้มากขึ้น คุณจะได้ไม่ต้องกังวลว่า ทำไมรอยช้ำถึงมีสีที่เปลี่ยนไป เพราะการเปลี่ยนไปของสีของรอยช้ำนั้นถือเป็นเรื่องที่ปกติ

หากรอยฟกช้ำ หรือสีของรอยฟกช้ำไม่เป็นปกติ คุณควรไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Colorful Stages of Bruises: What’s Going on in There? https://www.healthline.com/health/bruise-colors. Accessed September 15, 2020.

What do the colors of a bruise mean? https://www.medicalnewstoday.com/articles/322742. Accessed September 15, 2020.

Anatomy of a Bruise. https://www.webmd.com/first-aid/ss/slideshow-bruise-guide. Accessed September 15, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ที่พบบ่อย พร้อมวิธีการรับมือ

7 วิธีลบ รอยจูบ รอยจ้ำ ให้หายไปอย่างรวดเร็ว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา