backup og meta

โรคคอพอกตาโปน โรคตาที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 30/03/2021

    โรคคอพอกตาโปน โรคตาที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

    ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงาน และผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป โดยส่วนใหญ่ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษมักทำให้เกิด โรคคอพอกตาโปน (Graves’ disease) ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองชนิดหนึ่ง และดวงตาเป็นอวัยวะที่อ่อนไหวต่อภาวะนี้เป็นพิเศษ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

    โรคคอพอกตาโปน ที่เกี่ยวเนื่องกับอาการทางไทรอยด์

    โรคคอพอกตาโปน หรือที่รู้จักกันว่า โรคตาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Graves’ ophthalmopathy) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่ง ที่ต่อมไทรอยด์ได้รับผลกระทบจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยแสดงออกผ่านทาง การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป เมื่อระบบภูมิคุ้มกัน สร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบ ๆ ดวงตา และกล้ามเนื้อตา ทำให้ดวงตาเกิดอาการอักเสบและบวม นำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับตามากมาย

    สาเหตุที่ระบบภูมิคุ้มกันตัวเองเจาะจงไปที่ดวงตานั้นเป็นเพราะ ดวงตามีโปรตีนที่เหมือนกับโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกันและในต่อมไทรอยด์ ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชาย 5 ถึง 6 เท่า และผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบในการเกิดโรค

    อาการของโรคคอพอกตาโปน

    หากเกิดภาวะโรคตาที่เกี่ยวเนื่องกับอาการทางไทรอยด์ กล้ามเนื้อดวงตาและเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ในเบ้าตาจะบวมขึ้น ลูกตาดันมาด้านหน้า และได้รับผลกระทบในการกลอกตา ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ซึ่งในกรณีที่รุนแรงผู้ป่วยอาจเกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

    • ไม่สามารถปิดเปลือกตาได้สนิท เนื่องจากตาโปน ทำให้มีอาการตาแห้ง ระคายเคือง หรือคันตา
    • คุณอาจรู้สึกปวด หรือรู้สึกพองบริเวณรอบดวงตา เนื้อเยื่อรอบดวงตา และเปลือกตาบวมมากเป็นพิเศษตอนเช้า
    • ตาโปน หรือมีลักษณะจ้องเขม็ง
    • เมื่อกล้ามเนื้อรอบดวงตาได้รับผลกระทบ ทำให้การเคลื่อนที่ของดวงตาถูกจำกัด ส่งผลให้เกิดอาการเห็นภาพซ้อน และปวดเวลากลอกตาไปมา

    การวินิจฉัยและการรักษา

    อาการไม่รุนแรงที่เกิดจากโรคตา เนื่องจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ สามารถหายไปเองได้ภายใน 1 ถึง 4 เดือน อย่างไรก็ตาม อาการตาโปน และการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอื่น ๆ ที่เกิดจากการบวม อาจยังคงอยู่ เนื่องจากเนื้อเยื่อได้ถูกขยาย และไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้

    จุดประสงค์ของการรักษาก็คือ การป้องกันเบื้องต้น ไม่ให้เกิดการบวมในช่วงเวลาที่เกิดการอักเสบ และบรรเทาอาการระคายเคืองต่าง ๆ ในระยะแรกของโรค การใช้น้ำตาเทียมและสวมแว่นตา เพื่อปกป้องดวงตาเป็นการรักษาที่เพียงพอ ผู้ป่วยอาจใช้ยาแอสไพริน นาพร็อกเซน หรือไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ

    หากอาการแย่ลงหรือมีอาการอักเสบขั้นรุนแรง อาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาเพรดนิโซโลน เพื่อกดระบบคุ้มกันที่สร้างแอนตี้บอดี้ที่ผิดปกติ หากคุณมีปัญหาทางการมองเห็น หรือโรคเกี่ยวกับการมองเห็นและแรงกดประสาทตา อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ดังนัั้นหากสังเกตอาการตัวเองเบื้องต้นและพบว่าเกิดความผิดปกติ ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 30/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา