backup og meta

เจลหล่อลื่น ชนิด และข้อควรระวังในการใช้งาน

เจลหล่อลื่น ชนิด และข้อควรระวังในการใช้งาน

เจลหล่อลื่น (Lubricants) อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ส่งผลดีต่อการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางอวัยวะเพศ หรือทางทวารหนัก รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่สอดใส่ และการใช้อุปกรณ์ทางเลือกสำหรับการร่วมรักอย่างเซ็กซ์ทอย เพราะเจลหล่อลื่นช่วยลดแรงเสียดทานเวลาผิวสัมผัสกัน โดยเฉพาะเมื่อร่วมรักทางทวารหนัก หรือผู้หญิงมีภาวะช่องคลอดแห้ง อย่างไรก็ตาม ควรเลือกชนิดของเจลหล่อลื่นให้เหมาะสม และใช้งานอย่างถูกวิธี เพื่อให้เจลหล่อลื่นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ชนิดของเจลหล่อลื่น

เจลหล่อลื่น อาจช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ผู้หญิงมีน้ำหล่อลื่นน้อย หรือมีภาวะช่องคลอดแห้ง นอกจากนี้ เจลหล่อลื่นยังอาจจำเป็นต่อการร่วมรักทางทวารหนัก เนื่องจากร่างกายไม่ได้ผลิตน้ำหล่อลื่นอย่างเพียงพอ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจึงอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนี้ฉีกขาดจนเกิดการติดเชื้อ เจลหล่อลื่นมีหลายประเภท ดังนี้

  • น้ำ
  • ซิลิโคน
  • ออยล์
  • ไฮบริด หรือแบบผสม เช่น เจลหล่อลื่นสูตรน้ำและซิลิโคน

สูตรน้ำ (Water-based)

เจลหล่อลื่นสูตรน้ำ หรือ เจลอเนกประสงค์ (Versatile) อาจเมื่อทำกิจกรรมทางเพศ หรือใช้กับเซ็กซ์ทอยที่ทำมาจากซิลิโคน

ที่สำคัญ คือ เจลหล่อลื่นแบบน้ำ ถือว่าปลอดภัยหากใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย ทั้งแบบที่ทำจากยางพารา และถุงยางอนามัยที่ไม่ได้ผลิตจากยางพารา จึงอาจช่วยลดโอกาสที่ถุงยางอนามัยจะฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์

สูตรซิลิโคน (Silicone-based)

เจลหล่อลื่นสูตรซิลิโคน ปลอดภัยเมื่อใช้กับถุงยางอนามัย และเป็นชนิดที่ติดทนนาน ทำให้ไม่ต้องทาซ้ำบ่อยเมื่อเทียบกับเจลหล่อลื่นประเภทอื่น แต่ข้อควรระวัง คือ เจลหล่อลื่นชนิดนี้อาจทำให้พื้นผิวของเซ็กซ์ทอยที่ทำมาจากซิลิโคนเสื่อมสภาพ และถ้าเซ็กซ์ทอยมีรอยขีดข่วน หรือสึกหรอ อาจกลายเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย ดังนั้น ถ้าใช้เซ็กส์ทอยควรใช้เจลหล่อลื่นแบบน้ำ

สูตรออยล์ (Oil-based)

ข้อดีของการใช้เจลหล่อลื่นแบบออยล์ คือ สามารถใช้เพื่อการมีเพศสัมพันธ์ และใช้เพื่อนวดตัวได้ด้วย ส่วนข้อควรระวัง คือ ถ้าใช้ถุงยางอนามัยที่ทำมาจากยางพารา เจลหล่อลื่นชนิดนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ถุงยางจะรั่วหรือฉีกขาด นอกจากนี้ เจลหล่อลื่นสูตรน้ำมัน หรือสูตรออยล์ ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น ภาวะช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย

เจลหล่อลื่นจากธรรมชาติ

สำหรับผู้ที่ต้องการนำน้ำมันธรรมชาติ เช่น น้ำมันมะพร้าว มาใช้เป็นเจลหล่อลื่นอาจต้องระวัง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ถุงยางจะฉีกขาด หรือถุงยางแตกได้ เนื่องจากน้ำมันส่งผลต่อถุงยางอนามัยที่ทำมาจากยางพารา

ข้อควรระวังในการใช้เจลหล่อลื่น

ก่อนใช้เจลหล่อลื่น ควรตรวจสอบวันผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบในเจลหล่อลื่นบนฉลากผลิตภัณฑ์ ควรหลีกเลี่ยงเจลหล่อลื่นที่มีส่วนผสมดังต่อไปนี้ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบได้

  • กลีเซอรีน หรือกลีเซอโรล (Glycerin หรือ Glycerol)
  • Nonoxynol-9 ที่เป็นสารที่พบในยาฆ่าเซลล์อสุจิ
  • ปิโตรเลียม (Petroleum)
  • โพรพิลีนไกลคอล (Propylene Glycol)
  • คลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนต (Chlorhexidine Gluconate)
  • สารโพลีควอเทอเนียม (Polyquaternium) โดยเฉพาะ โพลีควอเทอเนียม-15 (Polyquarternium-15)

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Choose the Best Lube for Your Sex Life. https://www.healthline.com/health/healthy-sex/lube-shopping-guide-types#types-of-lube. Accessed on June 14 2019.

Lube Up for Better Lovin. https://www.webmd.com/sex-relationships/features/lube-up-for-better-lovin#1. Accessed on June 14 2019.

Better Sex With Lubricants. https://www.aarp.org/home-family/sex-intimacy/info-08-2013/better-sex-lubricant-lube-castleman.html#:~:text=Lubricants%20should%20not%20be%20applied,yourself%20with%20your%20lubricated%20fingers. Accessed August 11, 2022

Slippery Slope: Potential Hazards of Lubricants for Vaginal Tissue. https://www.womensvoices.org/lubricants-womens-health/#:~:text=Lubricants%20are%20generally%20effective%20for,considerable%20risk%20to%20reproductive%20health. Accessed August 11, 2022

Lubricants for the promotion of sexual health and well-being: a systematic review. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8942543/. Accessed August 11, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

จุดสุดยอด มีกี่ประเภทและเทคนิคช่วยให้ผู้หญิงสำเร็จความใคร่ได้เร็วขึ้น

ถุงยาง กับความเข้าใจผิด ๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 11/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา