backup og meta

7 เคล็ดลับ ให้คุณบอกลา ฟันเหลือง พร้อมเผยรอยยิ้มอย่างมั่นใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    7 เคล็ดลับ ให้คุณบอกลา ฟันเหลือง พร้อมเผยรอยยิ้มอย่างมั่นใจ

    รู้ไหมว่ารอยยิ้มเป็นส่วนหนึ่งทำให้ดึงดูดเพศตรงข้ามได้ แต่แค่รอยยิ้มกระชากใจอย่างเดียวคงไม่พอ หากมีฟันที่หลือง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ก็คงทำให้หมดความมั่นใจในการเริ่มความสัมพันธ์ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ นำเคล็ดลับเปลี่ยน ฟันเหลือง เป็นฟันขาวสวยมาให้ทุกคนได้ลองทำตามกัน

    ฟันเหลือง (yellow teeth) คือ

    ฟันเหลือง (yellow teeth) เกิดจากสารที่เคลือบชั้นฟัน (Enamel) ด้านนอกของเรานั้นเสื่อมสภาพลง สารที่เคลือบฟันด้านนอกนั้นค่อนข้างมีโมเลกุลที่แข็งแรง สามารถป้องกันจากการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ เช่น การเคี้ยวกัด แต่หากได้รับสารบางอย่างที่ทำลายชั้นฟัน เช่น คาเฟอีน ทำให้ฟันของเราอาจเกิดการกร่อนสึกหรอ และยังเปลี่ยนสีฟันจากสีขาวเป็นสีเหลือง จนกลายเป็นสีดำได้

    สาเหตุที่ทำให้ฟันเหลืองจนทำให้คุณเสียความมั่นใจ

    มาเช็คพฤติกรรมของคุณกันว่าได้ปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ เพราะอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้ฟันของคุณเริ่มมีสีที่เปลี่ยนไป

    • รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ
    • ดื่มเครื่องดื่มจำพวกแอลกอฮอล์ และไวน์
    • รับประทานอาหารที่มีน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตสูง
    • สูบบุหรี่
    • ดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อวัน
    • เลือกน้ำยาดูแลช่องปาก หรือยาสีฟันที่ไม่มีประสิทธิภาพ

    สาเหตุอื่นๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ แต่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากให้คงความแข็งแรงและไม่เกิดปัญหาตามมาที่หลังได้

    อย่างไรก็ตามควรเข้ารับการตรวจจากทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีอาการอื่นแทรกซ้อน เช่น ฟันผุ กลิ่นปากไม่พึงประสงค์ หินปูนเกาะสะสม เป็นต้น

    7 วิธีการดูแลสุขภาพฟันไม่ให้กลับมาเหลือง

    1. การแปรงฟัน

    ควรแปรงฟันอย่างถูกวิธี หลังรับประทานอาการมื้อหลักทุกมื้อ และแปรงอย่างน้อย 2 นาที เป็นวงกลมเบาๆ ทั่วทั้งมุมปากและฟัน

  • เบกกิ้งโซดาและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Baking soda and hydrogen peroxide)
  • จากการวิจัยที่เชื่อถือได้ในปี 2012 พบว่าการใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของเบกกิ้งโซดาและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ช่วยลดการเกิดคราบฟันและช่วยเพิ่มความขาว ในกรณีที่หาซื้อยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ไม่ได้ให้นำ เบคกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 2 ช้อนโต๊ะ และนำมาแปรงบริเวณฟันที่เหลืองอย่างเบาๆ

  • บ้วนปากด้วยน้ำมันมะพร้าว
  • เนื่องจากในปากของเรามีการสะสมแบคทีเรียและจุลินทรีย์เป็นจำนวนมากก่อให้เกิดฟันมีสีเปลี่ยนไป ซึ่งน้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยขจัดสิ่งเหล่านี้ออกจากช่องปากของเราได้ โดยใช้น้ำมันมะพร้าวเหลว 1 ถึง 2 ช้อนชา ทิ้งไว้ในปากเป็นเวลา 10 นาที อย่าเผลอกลืนน้ำมันมะพร้าวลงไปเด็ดขาดเนื่องจากมีเชื้อโรคที่หลุดออกจากช่องปากของคุณสะสมอยู่ จากนั้นบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด จากการศึกษาในปี 2015 พบว่านอกจากน้ำมันมะพร้าว สามารถใช้น้ำมันงาและน้ำมันดอกทานตะวันเพื่อลดการอักเสบของเหงือกและกำจัดแบคทีเรียได้ด้วยอีกเช่นกัน

    1. ขัดฟันด้วยเปลือกมะนาว ส้ม หรือกล้วย

    เชื่อว่าสารประกอบของ ดี-ลิโมนีน (d-limonene) และ กรดซิตริก (Citric acid) ที่พบได้ในเปลือกผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิดจะช่วยให้ฟันขาวขึ้นขจัดคราบเหลืองออกไปได้ นำเปลือกมาขัดถูบนฟันของคุณประมาณ 2 นาที และล้างหรือบ้วนปากให้สะอาด หากรู้สึกว่าฟันของคุณขาวขึ้นหยุดใช้วิธีนี้ทันที เพราะกรดในเปลือกผลไม้นั้นอาจทำให้เกิดการกัดกร่อนของฟันได้

    1. เลือกยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของไวท์เทนนิ่ง

    ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งมีประสิทธิภาพกว่ายาสีฟันทั่วไปสามารถช่วยลดฟันเหลืองและปรับสีฟันให้ขาวขึ้น และยังขจัดคราบอาหารที่ติดเหนียวให้หลุดออก

    1. การฟอกสีฟัน

    การฟอกสีฟันเป็นอีกวิธีหนึ่งในการกำจัดคราบฟันเหลือง ประกอบด้วยแหล่งออกซิเจน ซึ่งสามารถทำได้เองโดยหาซื้อน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) ฟอกทิ้งไว้เป็นเวลา 1 นาที หรือเข้ารับการฟอกสีฟันกับทันตแพทย์ที่เชียวชาญในเรื่องสุขภาพช่องปากได้เช่นกัน

    1. น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล

    จากแหล่งการศึกษาที่เชื่อถือได้ในปี 2014 พบว่าน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลมีผลต่อการฟอกสีฟันและเพิ่มความขาว โดยนำน้ำส้มสายชู 2 ช้อนชา และน้ำเปล่า 6 ออนซ์ คนเข้าด้วยกันกลั้วปากเป็นเวลา 30 วินาที จากนั้นทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำสะอาดหรือแปรงฟันอีกรอบ ควรใช้ในปริมาณที่จำกัดเพื่อความปลอดภัยของพื้นผิวฟัน

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา