backup og meta

เยื่อบุช่องปากอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

เยื่อบุช่องปากอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา
เยื่อบุช่องปากอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

คำจำกัดความ

เยื่อบุช่องปากอักเสบคืออะไร

เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis) คือ อาการเจ็บหรืออักเสบที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก ด้านในริมฝีปาก หรือบนลิ้น ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบหลักๆ สองประเภทคือ เริมในช่องปาก (Herpes Stomatitis หรือ ​Cold Sore) และ แผลร้อนใน (Aphthous stomatitis)

เยื่อบุช่องปากอักเสบพบได้บ่อยได้แค่ไหน

ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

อาการ

อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นอย่างไร

อาการทั่วไปมีดังนี้

  • มีแผลในช่องปากเป็นชั้นสีขาวหรือเหลือง ฐานเป็นสีแดง ปกติแล้วจะพบได้ที่ด้านในริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม หรือบนลิ้น
  • มีรอยปื้นสีแดง
  • มีตุ่มพอง
  • บวม
  • ความรู้สึกไม่สบายในช่องปาก เช่น อาการปวดแสบปวดร้อน
  • โดยปกติแผลจะหายภายใน 4-14 วัน และมักจะกลับมาเป็นอีกครั้ง

อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ควรไปพบหมอเมื่อไร

ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของเยื่อบุช่องปากอักเสบ

การติดเชื้อไวรัส herpes simplex 1 (HSV-1) คือสาเหตุของโรคเริม พบมากในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี คนที่ได้รับเชื้อ HSV-1 อาจกลายเป็นโรคเริมได้ในภายหลัง เชื้อไวรัส HSV-1 นั้นเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส HSV-2 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมที่บริเวณอวัยวะเพศ แต่ไม่ใช่ไวรัสชนิดเดียวกัน

ร้อนใน คือแผลขนาดเล็กเกิดขึ้นที่บริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก ด้านในริมฝีปาก หรือบนลิ้น พบมากในกลุ่มคนอายุน้อยๆ ส่วนใหญ่ในช่วงวัย 10 ถึง 19 ปี

ร้อนในไม่ได้เกิดจากไวรัสและไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เกิดจากปัญหาเรื่องความสะอาดภายในช่องปาก หรือบาดแผลที่เกิดขึ้นที่เยื่อเมือกบุผิว สาเหตุอาจจะเกิดได้จาก

  • เนื้อเยื่อเกิดความแห้ง เนื่องจากช่องจมูกอุดตันทำให้ต้องหายใจทางปาก
  • บาดแผลขนาดเล็กจากทันตกรรม เผลอกัดแก้มจนเป็นแผล หรือการบาดเจ็บอื่นๆ
  • ผิวฟันที่คม เหล็กดัดฟัน ฟันปลอม และรีเทนเนอร์
  • โรคแพ้กลูเตน (Celiac Disease)
  • การแพ้อาหารจำพวกสตอวเบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลส้ม กาแฟ ช็อกโกแลต ไข่ ชีส หรือถั่ว
  • อาการแพ้แบคทีเรียบางชนิดในช่องปาก
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองที่โจมตีเซลล์ในช่องปาก
  • เอชไอวี/เอดส์
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ขาดวิตามิน b-12 กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี
  • ยาบางชนิด
  • ความเครียด
  • การติดเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบ

โปรดปรึกษากับคุณหมอเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ ทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องปากอักเสบ

การวินิจฉัยโรคจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค การตรวจหาโรคจะมีทั้งการตรวจร่างกายภายนอก ซึ่งหมอจะตรวจดูลักษณะและการแพร่กระจายของบาดแผล และนอกจากนี้ยังอาจมีการทดสอบแบบอื่น เช่น

  • ใช้ชุดอุปกรณ์สัมผัสทดสอบหาเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • ขูดหรือป้ายเนื้อเยื่อเพื่อตรวจสอบการติดเชื้อรา
  • ตัดชิ้นเนื้อเยื่อหรือเซลล์เพื่อนำไปศึกษาเพิ่มเติม
  • ตรวจเลือด
  • ทดสอบผิวหนังเพื่อหาอาการแพ้

คุณหมออาจจะตรวจสอบประวัติการรักษาเพื่อดูว่ามีการรักษาใดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาเยื่อบุในช่องปากอักเสบ นอกจากนี้ยังจะสอบถามเรื่องประวัติการมีเพศสัมพันธ์ หรือประวัติการสูบบุหรี่อีกด้วย

ปัจจัยอื่นๆ อาจก่อให้เกิดอาการอักเสบของเยื่อบุในช่องปากได้ ดังนั้น การตรวจสอบและวินิจฉัยโรคจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อที่หมอจะได้ให้การรักษาที่ถูกต้อง

วิธีรักษาเยื่อบุช่องปากอักเสบ

โดยปกติแล้วอาการอักเสบในช่องปากมักจะเป็นไม่นานเกินสองสัปดาห์ แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็ตาม ถ้าสามารถหาสาเหตุของโรคได้ หมอก็จะรักษาให้ตรงจุด แต่ถ้าไม่สามารถหาสาเหตุได้ การรักษาก็จะไปเน้นที่การบรรเทาอาการเจ็บแทน

วิธีการต่อไปนี้อาจช่วยลดอาการปวดและอักเสบของปากได้

  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มร้อน เค็ม เผ็ด และอาหารที่มีส่วนผสมของมะนาว
  • ใช้ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ไทลินอล (Tylenol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • บ้วนปากด้วยน้ำเย็น หรืออมน้ำแข็งถ้าหากมีอาการแสบร้อนในปาก

สำหรับอาการร้อนใน ให้เน้นไปที่การบรรเทาอาการหรือป้องกันการติดเชื้อ ดังเช่น

  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
  • ดูแลช่องปากให้ถูกต้อง
  • ใช้ยาชาเฉพาะที่ เช่น ไลโดเคน (Lidocaine) หรือ ไซโลเคน (Xylocaine) ที่บริเวณแผล (ไม่แนะนำสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี)
  • ใช้ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ (Corticosteroid) เฉพาะที่ เช่น ยาป้ายปากไตรแอมซิโนโลน (ยาเคนาล็อกป้ายปาก 0.1%) ซึ่งช่วยป้องกันการอักเสบบริเวณริมฝีปากและเหงือก นอกจากนี้ลิปบาล์ม Blistex และยา Campho-Phenique ก็อาจจะลดอาการอักเสบของร้อนในได้ โดยเฉพาะถ้าทาตั้งแต่เริ่มมีอาการ

สำหรับการอักเสบที่รุนแรงอาจรักษาได้โดย

  • เจล Lidex
  • ยารักษาแผลเปื่อย Aphthasol
  • น้ำยาบ้วนปาก Peridex

ถ้าคุณมีอาการร้อนในบ่อยครั้ง คุณอาจจะขาดโฟเลต หรือวิตามิน B-12 ลองปรึกษาหมอเรื่องการตรวจหาอาการขาดสารอาหารนี้

ยาแก้อักเสบ เช่น ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ (รวมไปถึงยาเพรดนิโซน) ใช้รักษาอาการร้อนในได้ผลดีที่สุด เพราะยาจะช่วยลดอาการปวดบวม นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับอาการของโรคเริมที่เป็นมานานกว่าสามถึงสี่วันได้อีกด้วย เนื่องจากเมื่อถึง ณ จุดนั้น ตัวเชื้อโรคได้หายไปแล้ว เหลือไว้แต่อาการอักเสบ

ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถใช้ยาแก้อักเสบชนิดเดียวกันได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากใช้ยาเพรดนิโซนนั้นกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการกินยาชนิดใหม่

โรคเริมไม่สามาถรักษาให้หายขาดได้ การดูแลจะมีดังนี้

  • ใช้ยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valtrex) เมื่อเริ่มมีอาการ
  • ทาครีมหรือขี้ผึ้งบริเวณแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรค เช่น ครีมอะไซโคลเวียร์ (acyclovir) 5%
  • ประคบเย็นบริเวณบาดแผล
  • การกินยาแอล-ไลซีน (L-lysine) หรือยาต้านไวรัสที่แพทย์สั่งให้ อาจจะช่วยได้ประมาณหนึ่ง เนื่องจากตัวยาจะช่วยลดเวลาการรักษาแผลให้เร็วขึ้น.

ไม่ใช่แผลในปากทุกชนิดที่เป็นอันตราย ควรไปหาหมอถ้าหากอาการอักเสบในช่องปากนั้นไม่หายภายในสองสัปดาห์

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองแบบไหนที่จะช่วยรักษาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ

ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจจะช่วยคุณรักษาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบได้

  • ใช้น้ำยาบ้วนปากแบบฆ่าเชื้อโรคและไม่มีแอลกอฮอล์
  • รักษาอาการปากแห้งเรื้อรัง
  • ใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม
  • รับประทานอาหารมีประโยชน์และดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ดูแลสุขภาพของช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stomatitis. https://www.webmd.com/oral-health/guide/stomatitis-causes-treatment#1. Accessed December 29, 2017.

Stomatitis. https://www.healthline.com/health/stomatitis. Accessed December 29, 2017.

Stomatitis: Types, causes, and treatment. https://www.medicalnewstoday.com/articles/317839.php. Accessed December 29, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/02/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ต่อมรับรสเปลี่ยน สาเหตุเหล่านี้อาจกำลังทำให้การรับรสอาหารเปลี่ยนไป

เหงือกบวม เกิดจากอะไร รับมือได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 27/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา