ตาแพ้แสง เป็นอาการที่ดวงตาเกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัสกับแสงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดดจากดวงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา แสบตา ตาแดง โดยผู้ที่มีอาการแพ้แสงอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่อาจมักมาจากโรคไมเกรน นอกจากนั้น ตาแพ้แสงอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาหยอดตา ตาอักเสบ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด
คำจำกัดความ
ตาแพ้แสง คืออะไร
ตาแพ้แสง ไม่ใช่โรคชนิดใดชนิดหนึ่งแต่อาจเป็นเพียงอาการหรือภาวะเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ เช่น ไมเกรน ตาแห้ง ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับเซลล์ในดวงตาและเส้นประสาทที่ส่งไปยังสมอง ทำให้ดวงตาอาจเกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัสกับแสงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แสงแดดจากดวงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา แสบตา ตาแดง รวมถึงอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย นอกจากนั้น ตาแพ้แสงยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาหยอดตา ตาอักเสบ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด
อาการ
อาการของตาแพ้แสง
อาการที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ตาแพ้แสง มีดังต่อไปนี้
- ปวดตา
- แสบตา หรือน้ำตาไหลออกจากดวงตา
- เมื่อดวงตาสัมผัสกับแสง อาจต้องหรี่ตาหรือกระพริบตาถี่ ๆ
- ตาแดง
- เวียนศีรษะ
- คลื่นไส้และอาเจียน
ผู้ที่มีอาการตาแพ้แสงอาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล รวมถึงความแตกต่างจากอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตาแพ้แสงร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
สาเหตุ
สาเหตุของตาแพ้แสง
สาเหตุที่อาจพบได้บ่อยของตาแพ้แสง อาจเกิดจากปวดศีรษะไมเกรนมากถึง 80% ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมกับอาการตาแพ้แสง นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน หรือที่เรียกว่า “ปวดศีรษะคลัสเตอร์” รวมถึงอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้
- อาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับสมอง อาจทำให้เกิดอาการตาแพ้แสง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง โรคก้านสมองเสื่อม เนื้องอกในต่อมใต้สมอง
- อาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับดวงตา อาจทำให้เกิดอาการตาแพ้แสง เช่น ตาแห้ง ม่านตาอักเสบ ต้อกระจก กระจกตาถลอก เยื่อบุตาอักเสบ
- ปัญหาสุขภาพจิต อาการตาแพ้แสงอาจเกิดกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคกลัวที่ชุมชน โรควิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว อาการแพนิก
นอกจากนี้ อาการตาแพ้แสงอาจเกิดจากการรักษาปัญหาทางสายตา เช่น การทำเลสิก หรือการผ่าตัดอื่น ๆ รวมถึงอาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาด็อกซีไซคลิน ยาเตตราไซคลีน ยาฟูโรซีไมด์ ยาแฮโลเพริดอล
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยตาแพ้แสง
ในเบื้องต้นคุณหมออาจสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย เช่น มีอาการตาแห้งหรือไม่ รู้สึกแสบตาขณะสัมผัสแสงแดดหรือไม่ ในผู้ป่วยบางรายคุณหมออาจทำการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ร่วมด้วย เพื่อดูความผิดปกติของดวงตา และอาจใช้ในการยืนยันผลการวินิจฉัย
การรักษาตาแพ้แสง
วิธีการรักษาอาการตาแพ้แสง อาจขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการเจ็บป่วยของโรค โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ยาในกลุ่มทริปแทน เช่น ยาซูมาทริปแทน อาจใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะที่อาจมีสาเหตุมาจากอาการปวดไมเกรนและไวต่อแสง
- การฉีดโบทูไลลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) อาจช่วยรักษาอาการเยื่อบุตาแห้ง หรือที่เรียกว่า “เกล็ดกระดี่ขึ้นดวงตา’
- กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน เช่น ยาไดอะซีแพม เพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวล
- น้ำตาเทียมรูปแบบขี้ผึ้ง อาจช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง
- ยาหยอดตาสเตียรอยด์ อาจช่วยบรรเทาภาวะม่านตาอักเสบ
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการตาแพ้แสง
วิธีลดความเสี่ยงของอาการตาแพ้แสง อาจมีดังต่อไปนี้
- เมื่อออกจากบ้าน อาจสวมหมวก หรือแว่นกันแดด เพื่อลดแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์
- อาจลดปริมาณการเปิดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ขณะอยู่ในอาคาร พยายามให้แสงจากธรรมชาติเข้ามาภายในอาคารมากที่สุด
- อาจหลีกเลี่ยงการสวมแว่นกันแดดในที่ร่ม เพราะเมื่อสายสัมผัสกับความมืดเป็นเวลานานอาจทำให้ดวงตาไวต่อแสง และอาจเกิดอาการตาแพ้แสงได้