backup og meta

ผ่าตัดต้อหิน ความเสี่ยงหลังการผ่าตัด และการดูแลตัวเอง

ผ่าตัดต้อหิน ความเสี่ยงหลังการผ่าตัด และการดูแลตัวเอง

ต้อหิน เป็นกลุ่มอาการตาที่ทำลายเส้นประสาทตา ที่อาจเกิดจากความดันภายในลูกตาสูงผิดปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่อาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป การ ผ่าตัดต้อหิน จึงอาจเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น หากการรักษาด้วยยาหยอดตาให้ผลไม่ชัดเจน

ผ่าตัดต้อหิน ด้วยวิธีใดได้บ้าง

การรักษาต้อหินขึ้นอยู่กับประเภท และสาเหตุของต้อหิน คุณหมออาจเลือกวิธี การผ่าตัดต้อหิน ที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้

  1. เจาะรูระบายน้ำภายในลูกตา (Trabeculectomy)

คุณหมอจะทำการเจาะรูขนาดเล็กในลูกตาเพื่อเพิ่มช่องทางการระบายของเหลวออก ทำให้ความดันในดวงตาลดลง

  1. การผ่าตัดใส่อุปกรณ์ระบายของเหลว

โดยการใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กในดวงตา เพื่อระบายน้ำส่งต่อไปยังบริเวณใต้เยื่อบุลูกตา นำไปสู่การดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดตามธรรมชาติของระบบการทำงานของร่างกาย

  1. การผ่าตัดต้อกระจก

เป็นการผ่าตัดเปิดเลนส์ตา เพื่อช่วยลดความดันในตา เนื่องจากโรคต้อหินมีม่านตาและกระจกตาที่อยู่ใกล้กันเกินไป ส่งผลให้ไม่สามารถระบายของเหลวได้ ดังนั้นการผ่าตัดด้วยวิธีนี้อาจสร้างระยะห่างของม่านตา และกระจกตาที่ช่วยให้ระบายของเหลวออกจากตาได้มากขึ้น

นอกจาก การผ่าตัดต้อหิน ยังมีการรักษาด้วยเลเซอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจช่วยลดความดันในตา และระบายของเหลวของจากดวงตาได้ ถึงอย่างไรการเลือกวิธีการรักษาต้องผ่านการตรวจและประเมินอาการเบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจเผชิญได้หลังการผ่าตัด

ความเสี่ยงหลังการผ่าตัด

การผ่าตัดต้อหิน อาจทำให้เกิดความเสี่ยงบางอย่างหลังจากการผ่าตัด หรือระหว่างการพักฟื้นดวงตาได้ ดังนี้

  • ปวดตา ตาแดง ตาบวม
  • ระคายเคืองดวงตา
  • เลือดออกในตา
  • การติดเชื้อ และการอักเสบ
  • ความดันในตาอยู่ในระดับต่ำ หรือระดับสูงจนเกินไป
  • ตาพร่ามัวเป็นเวลานาน
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง หรืออาจสูญเสียการมองเห็น

การดูแลตัวเองหลัง การผ่าตัดต้อหิน

หลังการผ่าตัดต้อหินควรงดทำกิจกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ได้แก่

  • งดอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์ หรือใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • งดออกกำลังกาย และยกของหนัก
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่คอนแทคเลนส์
  • งดใช้เครื่องสำอางและสกินแคร์บริเวณใบหน้า เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะจนกว่าตาจะหายดี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Glaucoma. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/glaucoma/symptoms-causes/syc-20372839. Accessed September 07, 2021

Trabeculotomy for Congenital Glaucoma. https://www.uofmhealth.org/health-library/hw241689. Accessed September 07, 2021

Glaucoma. https://www.nhs.uk/conditions/glaucoma/treatments/. Accessed September 07, 2021

Do I Need Surgery for My Glaucoma?. https://www.webmd.com/eye-health/need-glaucoma-surgery. Accessed September 07, 2021

Glaucoma Surgery Recovery: What You Need to Know. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/glaucoma-surgery-recovery-what-you-need-to-know. Accessed September 07, 2021

Glaucoma Treatment. https://www.aao.org/eye-health/diseases/glaucoma-treatment. Accessed September 07, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/09/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงต้อหิน ได้อย่างไร

เนื้องอกในตา ลุกลามเป็นมะเร็งได้หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา